การสร้างเครือข่ายชุมชนและการสื่อสารการตลาดเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชน วัดปากบ่อในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นพลัสปีท่ี 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงค์ แย้มเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

บทคัดย่อ

        บทความวิชาการเรื่อง “การสร้างเครือข่ายชุมชนและการสื่อสารการตลาดเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชน วัดปากบ่อในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นพลัสปีที่ 2” เป็นการถอดประสบการณ์ความสำเร็จจากการ ลงภาคสนามเพื่อพัฒนาชุมชนวัดปากบ่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพชุมชนและพัฒนาการสื่อสาร การตลาดเพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่คือ “บริการงานบุญ” เพื่อจำหน่าย ข้าวต้มมัดแม่ละม่อม เหรียญโปรยทาน ดอกไม้จันทน์ และของชำร่วย ให้สามารถเติบโตและมีความยั่งยืน

        หัวใจสำคัญสำหรับของการสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพชุมชนวัดปากบ่อคือ พระครูวรกิจจาทร เจ้าอาวาส ที่เป็นแกนนำและเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ผ่านการสื่อสารในรูปแบบเครือข่ายแบบทุกทิศทุกทาง การสื่อสารแบบสองทาง และการทั้งแนวตั้ง แนวระนาบกับทุกระดับในเครือข่าย และจากผลการศึกษาค้น พบหลักการสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนท่ีมีประสิทธิภาพคือเรื่อง การกำหนดวาระข่าวสาร แกนนำ และ การมีส่วนร่วมของชุมชน ภายใต้แนวคิด บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)

        ด้านการสื่อสารการตลาด ผู้ศึกษาได้ใช้สื่อดั้งเดิมของวัดเป็นฐานและมีการพัฒนาต่อยอดทั้งสื่อออฟไลน์ และสื่อออนไลน์โดยมีการกำหนดประเด็นการสื่อสารการตลาดที่ชัดเจนเพื่อกระตุ้นยอดขายและเน้นเรื่องการ รู้เท่าทันสื่อให้กับกลุ่มอาชีพชุมชนวัดปากบ่อเพื่อสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืนเมื่อผู้ศึกษาได้ถอน ตัวออกจากพื้นที่หลังจากสิ้นสุดโครงการ

References

กาญจนา แก้วเทพ . สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไฮเออร์ปริ้นซ์, 2541 [Kanchana Kaewthep.(1998).Mass Communication : Theory and Approach. (4th ed.) Bangkok : Higher Print.]

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น.ปทุมธานี : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.[Ketsinee jutavijit.(2000). Communication for Local Development. Pathumthani : Thammasat University.]

ทิบดี ทัฬหกรณ์ และธีรวัฒน์ จันทึก.(2560).”การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0.” RMUTT Global Business and Economics Review. 12 (2) ธันวาคม หน้า 107-122 [Tipbodee juthavijit and Thirawat chanthuk. “How to be new generation entrepreneurs in Thailand 4.0.” .RMUTT Global Business and Economics Review. 12 (2) December, PP107 – 122]

ปาริชาต สถาปิตานนท์.(2547). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องประเด็นหลักในการศึกษาสื่อสาร และเครือข่าย.คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Parichart Sathapitanon.(1999). Principle of Study in Communication and Network. Faculty of Communication Art. Chulalongkorn University]

ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. (2561).รายงานโครงการเกษมบัณฑิตร่วมบูรณาการบ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร) สู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. [Center of Academic Service, Kasem Bundit University.(2018).Report of Integrated Project Home,Temple,School to Sustainable community development. Bangkok : Kasem Bundit University]

Keawkaow, R. and Champalurng, M. (2014). “Relationship between the Implementation of Activities According to the Roles of Home, Temples, Schools in Characteristics of the Learners in Accordance with Threefold Training in Schools under the Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 1.” Veridian E-Journal Silpakorn University, 7 (2), PP.826-839.

Maier, R. (2007). Knowledge Management System Information and Communication Technologies for knowledge Management (3rd ed.). Berlin Heidelberg: Springer.

Rogers, Everett M. and F.Floyd Shoemaker.(1971) Communication of Innovations: A Cross Cultural Approach. New York : The Free Press.

สัมภาษณ์

พระครูวรกิจจาทร. เจ้าอาวาสวัดปากบ่อและเจ้าคณะเขตสวนหลวง. 25 มกราคม 2562. [Pra Kru Worakitjatorn.Abbot, Wat Pak Bo and Dean, Suanluang District. January 25, 2019]

พัชรี จันทร์ไกรทอง. ประธานชุมชนวัดปากบ่อ. 25 มกราคม 2562. [Patcharee chankraitong. Wat Pak Bo Community President. January 25, 2019.]

วรินทร ปิ่นทอง,หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.20 มกราคม 2562. [Warinthron Pinthong, Head of Center of Academic Service Kasem Bundi University, January 20, 2019.]

ละม่อน ฟักภ.ู่ผู้ประกอบข้าวต้มมัดแม่ละม่อม. 25 มกราคม 2562. [Lamon Fakphu, Entrepreneur, January 25, 2019.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01