ปรัชญามนุษยนิยมในภาพยนตร์ของอาคิระ คูโรซาวา

ผู้แต่ง

  • วิสิทธิ์ อนันต์ศิริประภา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

มนุษยนิยม, ภาพยนตร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิดของปรัชญามนุษยนิยมที่ปรากฏในภาพยนตร์ของอาคิระ คูโรซาวา ตลอดจนเพื่อให้เข้าใจถึงการถ่ายทอดแนวคิดของปรัชญามนุษยนิยมโดยใช้กลวิธีทางภาพยนตร์ ในภาพยนตร์ของอาคิระ คูโรซาวา แนวคิดทฤษฎีท่ีนำามาใช้เป็นแนวทางศึกษาประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยว กับมนุษยนิยม แนวคิดเกี่ยวกับสัญญะวิทยาและรหัสในภาพยนตร์ และทฤษฎีประพันธกร การวิจัยน้ี เป็นการวิเคราะห์ตัวบทงานภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์ของอาคิระ คูโรซาวาท่ีนำมาศึกษามีจำนวน 27 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า

        ภาพยนตร์ของอาคิระ คูโรซาวาได้แสดงแนวคิดของปรัชญามนุษยนิยมซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้ 1) การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ 2) มนุษย์ควรทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 3) จงเช่ือมั่นในตัวมนุษย์ 4) ความเป็น มนุษย์มีคุณค่าเหนือส่ิงอื่นใด 5) มนุษย์เป็นมิตรกันหรือเป็นพี่เป็นน้องกัน 6) มนุษย์ควรไว้เนื้อเช่ือใจกัน 7) มนุษย์กำหนดชะตาชีวิตตนได้โดยตนเอง 8) คุณค่าของความเป็นมนุษย์มิได้อยู่ที่การแสวงหาความสุขทาง

        วัตถุภาพยนตร์ของอาคิระ คูโรซาวาถ่ายทอดแนวคิดของปรัชญามนุษยนิยมโดยใช้กลวิธีทางภาพยนตร์ 6 วิธีดังนี้ 1) กลวิธีการตัดต่อภาพยนตร์แบบ Montage2) การใช้เทคนิคด้านแสงเงา 3) การใช้ธรรมชาติเป็น ระบบสัญลักษณ์ภาพ 4) การใช้เทคนิคมุมกล้อง 5) การใช้การอุปมาเปรียบเทียบ 6) การสร้างความเป็นคู่ ตรงข้าม อน่ึงข้อค้นพบกลวิธีทางภาพยนตร์น้ีสามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อการประกอบสร้างความหมายใน งานภาพยนตร์ตามหลักปรัชญามนุษยนิยมได้

References

บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. (2533).อาคิระ คูโรซาวา : จักรพรรดิแห่งภาพยนตร์ญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดวงกมล จำกัด. [ Boonrak Boonjaketmala. (1990). Akira Kurosawa : The Emperor of Japanese Film. Bangkok : Duangkamol Press. ]

พัชรินทร์ บูรณะกร. (2538). แนวคิดมนุษยนิยมในวรรณกรรมของพิบูลศักดิ์ ละครพล. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, [ Patcharin Buranakorn. (1995). Humanism in Literature of Piboolsak Lakonpol. Master’s thesis , Srinakarintaravirot University .]

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ –ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน [Rachabunthit. (2011). Dictionary of Philosophy English – Thai. Bangkok : Rachabunthit ]

วนิดา เปรมวุฒิ. (2522). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ปรัชญาในศิลปะของไมเคิลแอนเจโล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, [ Wanida Premvutti (1979) . The analytical Study of Philosophy in the Art of Michaelanjelo. Chulalongkorn University.]

สนานจิตต์ บางสะพาน. (2533). อาคิระ คุโรซาวา : ชีวิตกับความตาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สามัญชน. [ Sananjit Bangsapan (1990). Akira Kurosawa : Life and Death. Bangkok : Samunchon Press. ]

สิทธิ์ บุตรอินทร์.(2532). มนุษยนิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. [ Sithi Butr-Indr (1989). Humanism. Bangkok : Odionstore Press. ]

Abbagnano. Nicola. (1967) . Humanism The Encyclopedia of Philosophy. New York : Macmillan Publishing

Blackham, H.J. (1968). Humanism.Harmandsworth : Penguin Book.

Buehrer .B. B. (1990) .Japamese Film. New York :Focal Press.

Etherington-Wright, C. & Doughty, R. (/2011).Understanding Film Theory. New York :Palgrave Macmillan.

Lamomt, Corliss (1957). The Philosophy of Humanism.New York : Philosophical Library

Nelmes, Jill (2007). Introduction to Film Studies.London : Routledge.

Seger , Linda. (1999).Making A Good Writer Great : A Creativity Workbook for Screenwriter. Los Angeles :Silman -James Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01