การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอำเภอบางคนที จ.สมุทรสงคราม ในการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้า“บางคนที”เพื่อพัฒนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในอำเภอ บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ที่มีต่อการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้า“บางคนที” เพื่อพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในชุมชน ท้องถิ่นอำเภอบางคนที จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยแบบ T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สห สัมพันธ์ของเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 40-49 ปี อาชีพเกษตรกร รายได้ ต่อ เดือน 10,001-30,000 บาท และการศึกษาระดับตำ่กว่าปริญญาตรี

        ความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้า“บางคนที” พบว่า ประชาชนมีความรู้ความ เข้าใจโดยรวมทุกด้านในระดับมาก(ร้อยละ 80.09) โดยมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุดในด้านภาพลักษณ์ บางคนที ในระดับมากที่สุด(ร้อยละ 92.50) รองลงมาคือด้านตราสินค้าบางคนที ในระดับมากที่สุด (ร้อยละ 88.00) และน้อยที่สุดในด้านการสื่อสารตราสินค้าบางคนที ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.87)

        ประชาชนมีส่วนร่วมในการสื่อสาร“ภาพลักษณ์บางคนที” โดยรวมทุกด้าน ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.32) โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านความคุ้มค่าที่ได้รับ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.46) รองลงมา คือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.35) และมีส่วนร่วมน้อยท่ีสุดในด้านความ คุ้นเคยที่ยั่งยืน ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.18)

        ประชาชนมีส่วนร่วมในการสื่อสาร“ตราสินค้าบางคนที”โดยรวมทุกด้านในระดับปานกลาง(ค่าเฉลี่ย=3.40) โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านแบรนด์ท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศน์ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.48) รองลงมา คือด้านบุคลิกภาพของแบรนด์ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.38) และน้อยที่สุดในด้าน อัตลักษณ์ของ แบรนด์ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=3.37)

        ประชาชนมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะคนในท้องถิ่นเองต้องร่วมกันเน้นจุดเด่น ของบางคนทีคือวิถีชีวิตชุมชนเกษตรที่สงบร่มรื่นเป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นภาพในใจและจุดประทับใจที่นักท่อง เที่ยวจะกลับมาเยือนซำ้แล้วซำ้เล่า และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งนัก วิชาการและนักวิชาชีพที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาภาพลักษณ์และตราสินค้าควรเข้ามามีส่วนร่วมหรือให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงกลยุทธ์และเทคนิคต่างๆ เพื่อให้อำเภอบางทีเป็นหมุดหมายในการท่องเที่ยวของคนจำนวนมาก

        การทดสอบสมมติฐานพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือผู้สูงวัย มีส่วนร่วมใน การสื่อสารภาพลักษณ์บางคนที มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ และการมีส่วนร่วมในการสื่อสารภาพลักษณ์ฯ ส่งผลน้อยต่อการมีส่วนร่วมในการสื่อสารตราสินค้าบางคนที

        การอภิปรายผลการวิจัย พบประเด็นที่น่าสนใจได้แก่ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก หาก แต่มีส่วนร่วมสื่อสาร“ภาพลักษณ์และตราสินค้าบางคนที”เพียงปานกลาง และ“แบรนด์บางคนที” ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องสร้างความเข้าใจและสื่อสารโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์และการเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

References

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2548).การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เพรส แอนด์ดีไซด์.[Boonlert Jittangwatthana. (2005). Sustainable tourism development. Bangkok : Press Design Publisher.]

พรทิพย์ พิมลสินธุ์.(2539). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล. [Pornthip Pimolsin. (1996). The image is important : the public relations and the image. Bangkok : Charuenphol Printing.]

ภูวนาท คุนผลิน. (2556). แนวทางการจัดการเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตลาดนำ้ของไทยอย่างยั่งยืน.ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [Phuwanart Kunphalin.(2013). Management guidelines for sustainable tourism development of Thai floating markets. Dissertation of Public Administration,Ramkhamheang University.]

มาลินี หาญยุทธ. (2551). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว:กรณีศึกษา ตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. [Malinee Hanyuth.(2008). Model of community participation in tourism management : Case study of Na Rai Luang Subdistrict, Song Khwae District, Nan Province. Master of Public Administration Thesis, Urban and Rural Community Management and Development, Uttaradit Rajabhat University.]

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ (2545).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ นโยบายแผนงานและแผนปฏิบัติการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.[Ramphipan Kaewsuriya. (2002). Documentation of the lecture“Promotion and development guidelines Eco-tourism National Ecotourism Plan and Action Plan Policy. Bangkok : Publisher of Srinakharinwirot University.]

วิษณุ หยกจินดา.(2557).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทรอำเภอโป่งนำ้ร้อน จังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. [Witsanu Yokjinda.(2014). Public participation in community development Thung Krang Village, Thap Sai Subdistrict, Pong Nam Ron District Chantaburi province.Master of Political Science,Ramkhamheang University.]

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์.(2558). การพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอ บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน.รายงานการวิจัยสนับสนุนการวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.).[Somdech Rungsrisawat.(2015). Development of image and brand communication of tourist Attraction in Bang Khonthi District, Samut Songkhram Province. On the basis of creative economy and sustainable community participation. Research report, Supporting research by the National Research Council of Thailand.]

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และคณะ.(2550).ปัญหาการจัดการโฮมสเตย์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง:ศึกษากรณีอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเกริก.[Somsak Samakkhitham.(2007). Homestay management problems according to the sufficiency economy approach: a case study of Bang Khonthi District, Samut Songkhram Province. Research report, Krirk University.]

สุเทพ เพชรธรรมรัฐ.(2556) .วิสาหกิจชุมชนกับการพึ่งตนเอง : กรณีศึกษาศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านเขาถ้ำพระ ตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.[Suthep Pechthamrat.(2013). Community enterprises and self-reliance : a case study of rice breeding and promotion center,Ban Khao Tham Phra Community, Don Sai Subdistrict, Pak Tho District, Ratchaburi Province.Master of Political Science,Ramkhamheang University.]

เสาวภา ไพทยวัฒน์ และคณะ. (2555). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.[Saowapha Phitayawat.(2012). Development of cultural tourism sites in Bang Khonthi, Samut Songkram. Research report, Suan Sunandha Rajabhat University.]

Garther, W.C. (1996). Tourism development : Principle, processes and Policies. Van Nostrand Reinhole, USA.

Gale,R.(2005).Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. Waterloo : University of Waterloo

Kerstic, B., Jovanovics, S., & Milic, V.J. (2008). “Sustainability performance management system of tourism enterprises.” Economics and organization, 5 (2), PP.123-131.

Kotler, P & Keller, K. L. (2006). Marketing Management. New Jersey: Peason Education.

เว็บไซต์

ชนาทปิ อ่อนหวาน.(2553).ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่มีผลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีฉลากคาร์บอนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2562 เข้าถึงได้จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Chanathip_O.pdf [Chanathip On-Wan.(2010). Cognition and Attitudes Affecting Consumer’ Buying Behavior Trend on Carbon Label Product in Bangkok Metropolitan Area. Retrieved : February 8, 2010 from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Chanathip_O.pdf]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01