การดำรงอยู่และสุนทรียภาพของสัญรูปนาคในสื่อบันเทิงไทย

ผู้แต่ง

  • ณชรต อิ่มณะรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

นาค, สุนทรียภาพ

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงการดำรงอยู่ของสัญรูปนาคผ่านการประกอบสร้างโลกทัศน์ ความจริงเกี่ยวกับสัญรูปนาคในงานภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และองค์ประกอบเชิงสุนทรียภาพทางการสื่อสาร แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ปรัชญาภววิทยาและโลกทัศน์เกี่ยวกับการมีอยู่ของนาค วรรณกรรม เกี่ยวกับนาค แนวคิดการผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดทางวัฒนธรรม แนวคิดแบบจำลองการสื่อสารของ Jakobson และปรัชญาชีวสมาสัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์ เรื่อง “15 ค่ำ เดือน 11” ละครโทรทัศน์เรื่อง “นาคี” และการสัมภาษณ์นักสร้างสรรค์งานสัญรูปที่เกี่ยวข้องกับนาค ผลการวิจัยดังน้ี

        1. การดำรงอยู่ของสัญรูปนาคที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์และละครโทรทัศน์พบว่ามีโลกทัศน์ความจริง แบบอุดมคตินิยม เหตุผลนิยม และการบูรณาการโลกทัศน์แบบอุดมคตินิยมและเหตุผลนิยม

        2. องค์ประกอบเชิงสุนทรียภาพทางการสื่อสารของสัญรูปนาค ประกอบด้วย ก) รูปลักษณ์ของนาคมี ความงามตามองค์ประกอบศิลป์ ข) ลายเส้นโค้งของนาคเป็นเอกลักษณ์ของความงามที่มีความหมาย ค) พื้นผิวของเกล็ดนาคเป็นองค์ประกอบสำคัญของความงาม ง) ความเคลื่อนไหวของพญานาคเป็นกระบวนท่าที่ สง่างาม จ) ความงามของพญานาคเกิดจากความสัมพันธ์กับบริบท ฉ) พญานาคเป็นความงามของธรรมชาติ ที่สมจริงผสานกับจินตนาการ ในส่วนของสัญรูปนาคในสื่อสมัยใหม่มีประเด็นเพิ่มเติมคือสัญรูปนาคจำแลง เป็นความงามในร่างมนุษย์แบบเกินจริง และความงามเป็นอุบัติการณ์ใหม่ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร

References

กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. (2559). “มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท”. Veridian E Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9, (1) มกราคม-เมษายน, หน้า 1099-1116. [Kanyarat Vechasat.(2016). “The Reflection of Naga in the Tai Concepts” Veridian E Journal Silpakorn University Thai volume Humanities, Social Sciences and Arts. 9, (1) January – April, pp.1099-1116.]

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2554). “การสื่อสารสัญลักษณ์ภาพ “มาร” ในภาพจิตรกรรมฝาผนังไทย”. วารสาร นิเทศศาสตรปริทัศน์, 15,(1) กรกฎาคม–ธันวาคม, หน้า 74-87. [Grit Thonglert. (2011). “Figurative symbol of “Mara” in Thai mural paintings”. Journal of communication arts review, 15,(1) July-December, pp.74-87.]

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2538). มัชฌิมทฤษฎี. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). [Chai-Anan Samudavanija. (1995). Middle-Range Theory. Bangkok : The Thailand Research Fund.]

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2547). “องค์รวม:ความรู้แบบบูรณาการ และความสับสนทางญาณวิทยาและ ภววิทยา”. วารสารสังคมศาสตร์, 35,(1) มกราคม-มิถุนายน, หน้า144-198. [Pipat Pasutarnchat. (2004). “Holistic : Integrated knowledge and confusion in epistemology and ontology” Journal of Social Sciences, 35, (1) January-June, pp.144-198.]

สุวิชา สว่าง. (2551). การสื่อความหมาย “สุวรรณภูมิ” ของงานภาพจิตรกรรมไทยร่วมสมัยภายใน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต. [Suwicha Sawang. (2008). The signification of “Suvarnabhumi” on contemporary Thai mural painting at Suvarnabhumi Airport. Master of Communication Arts thesis, Rangsit University.]

Cohen, Erik (2007). “The “Postmodernization” of a Mythical Event: Naga Fireballs on the Mekong River”. Tourism Culture & Communication, 7(3).pp.169-181.

Jakobson, Roman. (1987). Language in Literature. London : The Belknap Press of Harvard University Press.

Kurokawa, Kisho. (1994). The Philosophy of Symbiosis. Great Britain : Academy Group.

Benjamin., Walter (1986). The Work of Art in the Age of Mechanical Reproduction. New York :Schocken Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01