บทบาทการรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ผู้แต่ง

  • ณิชาภา แก้วประดับ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บทบาทสื่อมวลชน, การรายงานข่าว, นักข่าวพลเมือง, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่องบทบาทการรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทการรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และศึกษาประเภท ของข่าว และชนิดของข่าว ในการรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เน้ือหาจากข่าวพลเมือง ในช่วง “นักข่าวพลเมือง” ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ระหว่าง พ.ศ.2553 – 2556 และ พ.ศ.2558 รวม 5 ปี รวม 953 ข่าว และสัมภาษณ์เชิงลึก บุคคล 2 กลุ่ม รวม 20 คน ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” จำนวน 6 คน และกลุ่มนัก ข่าวพลเมือง จำนวน 14 คน

        ผลการวิจัยพบว่า

        1.บทบาทการรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
การรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เน้นบทบาทด้านการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร เป็นหลัก รองลงมาคือบทบาทด้านการสร้างความต่อเนื่องทางสังคม บทบาทการประสานสัมพันธ์ และบทบาทการรณรงค์ทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ตามลำดับ โดยไม่พบบทบาทการให้ความ เพลิดเพลินแก่สมาชิกสังคม ในการรายงานข่าวดังกล่าว

        2. ประเภทของข่าว และชนิดของข่าว ในการรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ของสถานีโทรทัศน์ไทย พีบีเอส

        การรายงานข่าวช่วง “นักข่าวพลเมือง” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เน้นการนำเสนอข่าวประเภท ข่าวเบา มากกว่าข่าวหนัก โดยรายงานข่าวการศึกษามากเป็นลำดับแรก ข่าวศิลปะและวัฒนธรรม ข่าวส่ิง แวดล้อม ข่าวสังคมและสตรี ข่าวการเกษตร ข่าวการเมือง ข่าววิทยาศาสตร์และวิจัย ตามลำดับ และไม่ พบว่ามีการนำเสนอข่าวในพระราชสำนัก ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ข่าวเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์

References

กรวุฒิ กาญจนาบุญมาเลิศ. (2552). ทีวีไทย ทีวีสาธารณะในสมรภูมิข่าวโทรทัศน์. สารนิพนธ์,วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Kanjanaboonmalert, Korawut.(2009). Thai Television Public Television in Television News battleground. Thesis, Master of Art Program, Thammasat University]

พันธนันท์ วิเศษสมวงศ์. (2550). พัฒนาการและการจัดตั้งทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์, นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. [Wisetsomwong, Phatthanan. (2007). The Development and the Establishment of the First Public Television in Thailand. Thesis, Master of Art (Communication), Dhurakij Pundit University. ]

ภัทราวดี บุนทยะพัธน์. (2552). ความคาดหวังและความต้องการข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์สาธารณะของ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยทีวีสาธารณะ. การศึกษา เฉพาะบุคคล, นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. [Boontayapat, Pattarawadee.(2009). The Expectation and Need News from Public Television of People in Bangkok : Case study of Television station Thai Television Public Television. Independent Studies, Master of Art (Communication Arts), Bangkok University]

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรืองและคณะ. (2553). คู่มือสื่อพลเมือง. กรุงเทพมหานคร. [Wongkijrungrueng, Worapoj et al. (2010). Citizen Media Guide. Bangkok.]

Dennis McQuail. (1994). Mass Communication Theory. London: Sage Publication. Friedland, Lewis A. & Willey, Sasan G. (2003). Public Journalism Past and Future. Kettering: Fouddation Press.

เว็บไซต์

Chung, Deborah & Nah, Seungahn. (2010). Perceive Role Conceptions of Citizen and Professional Journalists: Citizens’ Views. Retrieved August 5,2011. From http://www.aejmc.org/home/2010/07/civic-and-citizen-journalism-interest-group-2010-abstracts/.

Miller, Ron. (2005). Journalism returns to its (Grass) roots. Retrieved April 10, 2011. From www.econtentmag.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01