การประกอบสร้างความเป็นวีรบุรุษที่สะท้อนผ่านการรายงานข่าววิกฤต : กรณีศึกษาทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดม

ผู้แต่ง

  • ณฤดี จินตวิโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเป็นวีรบุรุษ, การรายงานข่าวภาวะวิกฤต, หมูป่าอะคาเดมี

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความเป็นวีรบุรุษจากการรายงานข่าวเหตุการณ์ ทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีติดถ้ำหลวงฯของสื่อมวลชนและแนวทางการกำหนดประเด็นการรายงานข่าวใน ภาวะวิกฤตของสื่อมวลชน โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการศึกษาเชิงการวิเคราะห์ตัวบทจากข่าว ออนไลน์ในเว็บไซต์ยอดนิยม 10 อันดับแรก ในช่วงวันที่ 2 กรกฎาคม – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และการ สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ลงพื้นไปทำข่าวอีก 7 คน

        ผลจากการศึกษาพบว่าในส่วนของการให้สถานะความเป็นวีรบุรุษแก่แหล่งข่าว สื่อมวลชนมีการประกอบ สร้างวีรบุรุษโดยนำคุณลักษณะของความเป็นวีรบุรุษตามคำนิยามมากที่สุดมาใช้ในการตัดสิน ตัวอย่างเช่น ความเสียสละของจ่าแซม ความเป็นผู้นำของผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ และ ความแข็งแกร่งของหมอภาคย์ ผ่าน ภาพประกอบข่าว ได้แก่ มุมกล้องแบบ Low - Angle shot (ภาพมุมต่ำ) เพื่อแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ของ บุคคลหรือวัตถุ มุมกล้องแบบ Wide - Angle shot (ภาพมุมกว้าง) เป็นการถ่ายภาพเชิงเทคนิคเพื่อให้มอง เห็นองค์ประกอบภายในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครบถ้วน และ การจัดองค์ประกอบภาพแบบเทียบเคียง (Jux- taposition) กับผู้ท่ีได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรสตรีโดยการใช้เทคนิคการถ่ายภาพในลักษณะการเปรียบเทียบ ให้มองเห็นความเหมือนกันได้ ชัดเจนที่สุด รวมถึงรูปแบบการรายงานข่าวในลักษณะของสกู๊ปข่าวท่ีเน้นการ เรียบเรียงเหตุการณ์สำคัญและสัมภาษณ์บุคคลที่ได้รับสถานะวีรบุรุษรวมถึงบุคคลใกล้ชิด ได้แก่ ครอบครัว ผู้ประสบภัยซึ่งหมายถึงผู้ท่ีตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อนร่วมงาน นอกจากน้ีในด้านภาษาสื่อมวลชน อาศัยโวหารภาพพจน์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ โวหารสัญลักษณ์ โวหารปฏิรูปพจน์ โวหารอุปมาอุปไมย อติพจน์และ ภาพพจน์นามนัย มาใช้เป็นการเปรียบเทียบให้มองเห็นความเป็นวีรบุรุษของบุคคลในข่าวได้ชัดเจน มากขึ้น สำหรับในส่วนของการกำหนดประเด็นรายงานข่าวของสื่อมวลชน พบว่าส่วนใหญ่สื่อมวลชนอาศัย คุณลักษณะของคุณค่าข่าวเป็นเกณฑ์พื้นฐานในการกำหนดประเด็นข่าว ตัวอย่างเช่น ความเด่น ความใหม่ ความเร็ว ปุถุชนวิสัย ผลกระทบ และ ความก้าวหน้า

References

ฐปนีย์ เอียดศรีชัย. (2561). งานเสวนาการถอดความรู้แนวทางการรายงานข่าวในสถานการณ์กู้ภัย.คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Thapanee Eadsrichai, (2018).Seminar, Transcription, Knowledge of The Reporting Method in The Rescue Situation. Faculty of Journalism, Thammasart University.]

ณัฐ สุขสมัย. 2551. การสร้างความหมายใหม่ของ “วีรบุรุษและยอดวีรบุรุษ” ในภาพยนตร์ไทย.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Nut Suksamai, (2008). Reframing the “Hero and Superhero” in Thai films. Master of Arts Program In Mass Communication, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

ณัฐกานต์ คูสมิทธิ์. (2547). ภาพวีรบุรุษที่ถูกประกอบสร้างผ่านกระบวนการข่าวสารของหนังสือพิมพ์ ประชานิยม. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวารสารสนเทศ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Natthagarn Koosmith, (2004). Making of Hero Representation Through News Process of Popular Newspaper. Master of Arts in Journalism, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

ดรัลพร ดำยศ. (2557). การประชาสัมพันธ์เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นหลังเกิดภาวะวิกฤตของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Daranporn Damyos, (2014). Public Relations to Restoring Corporate Trust of Petrochemical Industry. Master of Arts (Communication) Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

พิษณุรักษ์ ปิตาทะสังข์. (2548). การเล่าเรื่องและการสร้างความจริงทางสังคมในข่าวคลื่นยักษ์ สึนามิ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวารสารสนเทศ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Ohitsanurak Pitathasang, (2005). Narration and construction of reality in Tsunami news coverage. Master of Arts in Journalism, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University]

พีรวัส วรมนธนาเกียรติ. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบ “ตำราพิชัยสงครามซุนวู” ฉบับแปลภาษา ไทยสามสำนวน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาจีน, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. [Peerawas Woramonthanakiat, (2014). A Comparative Study of Three Thai Translated Versions of “SUNZI’S ART OF WAR”. Master of Arts Program in Chinese, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.]

สุเนตร ม้าทอง. (2554). การประกอบสร้างความจริงทางสังคมกรณีการขอขึ้นทะเบียนสารทพระ วิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชาของหนังสือพิมพ์มติชนกับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการใน ช่วงเวลาพ.ศ. 2548-2553. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง, มหาวิทยาลัยเกริก.[Suneth Mathong, (2011). Construction of Reality Concerning the Nomination Proposal Submission by Matichon and Manager Newspapers foe the Temple of PraViharn to be Considered for Inclusion in UNESCO’s World Heritage List During 2005-2010. Degree of Doctor of Philosophy Program in Political Communication, Political Communication College, Krirk University.]

อรวี ศรีชำนาญ. (2558). การกำกับดูแลเนื้อหารายการข่าวในโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่ออกอากาศใน ระบบดิจิทัล ในช่วงหลังรัฐประหารพ.ศ. 2557.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา นิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[Oravee Srichamnan,( 2015).The Regulation of Content of News Programin Digital Terrestalal Television After the 2014 COUP. Master of Arts (Communication Arts), Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University.]

อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ . (2561). เมื่อสื่ออาชีพต้องปรับตัว : บทเรียนการสื่อสารจากกรณี วิกฤติการณ์ทีมหมูป่า13 ชีวิตติดถ้ำหลวง. เวทีทัศน์เว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา 19 กรกฎาคม 2561 [Anchanara Pantranuwong. (2018). When Mass Media Have to Change : Lessons from the Case Crisis Moo Pa team 13 Life in The Cave. Article from Isara News Agency 19 July 2018.]

อดิสา วงศ์ลักษณพันธ์. (2542). การเล่าเรื่องในข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการหนังสือพิมพ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Adisa Wonglixsanapun, (1999) The narration of political news in Thai newspapers. Master of Arts in Jounalisum, Graduate School, Chulalongkorn University.]

เว็บไซต์

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). เผยแนวทางช่วย 13 หมูป่าใหม่ ยิงพิกัด GPS หาตำแหน่งเจาะรูจากบนถ้ำหลวง.สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561, จากhttps://www.thairath.co.th/news/local/north/1327431 [Thairat Online. (2018). Revealing Ways to Help 13 Moo Pa, Shoot GPS Coordinates,

Find a Hole from Top of Tham Luang Cave. Retrieved : December 25,2018, from https://www.thairath.co.th/news/local/north/1327431]

พีพีทีวีออนไลน์. (2561). กองทัพเรือ ขอพระราชทานเลื่อนยศ “จ่าแซม” เป็น “เรือโท”. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561, จาก https://bit.ly/2Yku4Jh [PPTV Online. (2018). The Royal Navy Wishes to Requesting Permission to Postpone of “Sergeant” as “Lieutenant Junior Grade” Retrieved : December 25, 2018, from https://bit.ly/2Yku4Jh]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01