การประกอบสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในภาพยนตร์ฮอลลีวูด

ผู้แต่ง

  • พลอยชมพู เชาวนปรีชา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, ภาพลักษณ์, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “การประกอบสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในภาพยนตร์ฮอลลีวูด” เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้ทราบถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่สะท้อนผ่านภาพยนตร์ ฮอลลีวูดในบริบทที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ 2) เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการประกอบสร้างความหมายของ ประเทศไทยในภาพยนตร์ฮอลลีวูด 3) เพื่อหาแนวทางสนับสนุนการประกอบสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่พึงประสงค์ผ่านภาพยนตร์

        แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นแนวทางการศึกษาประกอบด้วย แนวคิดเรื่องภาพลักษณ์ แนวทางการศึกษาเชิง สัญญาณศาสตร์ และทฤษฏีการเล่าเรื่อง โดยใช้ระเบียบในการศึกษาวิธีวิจัยได้แก่การวิเคราะห์ตัวบทและ การสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาชีพและนักวิชาการด้านภาพยนตร์

        ผลการวิจัยพบว่าภาพลักษณ์ของประเทศไทยในบริบทที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ สามารถแบ่งออก เป็น 2 ประเด็น คือ 1)ภาพยนตร์ที่มีภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่พึงประสงค์ จำแนกได้เป็น 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ ก)ประเทศไทยมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ข)ชาวไทยเป็นผู้ที่มีน้ำใจ ค)ประเทศไทยมีประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงาม ง)ประเทศไทยมีความผูกพันลึกซึ้งกับพระพุทธศาสนา 2)ภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ไม่พึงประสงค์ สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเด็นย่อย คือ ก)ประเทศไทยเป็นเมืองยาเสพติด ข)ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งการค้าประเวณี ค)ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งการคอร์รัปชั่น ง) ประเทศไทยเป็นประเทศแห่งอาชญากรรม จ)ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งการขายสินค้าท่ีเป็นการลอกเลียนแบบ

        วิธีการประกอบสร้างความหมายของประเทศไทยในภาพยนตรฮ์อลลีวูดสามารถจำแนกได้ทั้งหมด 8 ประเด็นได้แก่ 1)การใช้ภาพเป็นสัญลักษณ์แทนภาพลักษณ์ของประเทศไทย 2) การใช้เสียงเป็นสัญลักษณ์ แทนภาพลักษณ์ของประเทศไทย 3) การสร้างความหมายแบบอนุนามนัย 4) การสร้างความหมายด้วยการอุปมาอุปมัย 5)การสร้างความหมายคู่ตรงข้าม 6) การสร้างความหมายรหัสเฉพาะกลุ่ม 7) การสร้างความ หมายด้วยการใช้สี 8) การสร้างความหมายด้วยการใช้ภาพเชิงเทคนิคแสง

        สำหรับแนวทางสนับสนุนการประกอบสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่พึงประสงค์ผ่านภาพยนตร์ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การสร้างแรงจูงใจด้วยมาตรการการลดต้นทุนการผลิตแก่ผู้ผลิตชาวต่าง ชาติ 2) การให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและสังคมแบบรอบด้านแก่ทีมงานชาวต่างชาติ 3) การคัด เลือกนักแสดงที่มีชื่อเสียงมีผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย 4) การสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยจาก การคัดเลือกสถานที่ถ่ายทำที่สวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว 5) การสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยด้วย การสร้างเรื่องราวที่ดีจากความสัมพันธ์ของตัวละคร

References

กฤษณ์ ทองเลิศ (2558).”การประกอบสร้างเชิงสังคมของภาพตลกขบขันในภาพจิตรกรรมฝาฝนังไทย”. นิเทศศาสตรปริทัศน์มหาวิทยาลัยรังสิต 19, (1) กรกฏาคม 2558 หน้า 149 -161. [Grit Thonglert. (2015).”Social construction of humorous images in Thai mural paintings”. Journal of Communication Review. 19,(1) July : p. 149 -161. ]

กาญจนา แก้วเทพ.(2541).การวิเคราะห์สื่อ แนวคิด และเทคนิค.กรุงเทพฯ.อินฟินิตี้เพรส. [Karnjana Keawthep.(1998).Media analysis Concept And Techiques.Bangkok. infinitypress.

จิรายุทธ์ สนดา. (2557). ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว และการรับรู้การประชาสมพันธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.[Jirayut Sonda.(2014). Tourism Image and Perception of Marketing Public Relation Affecting Thai Tourisms’ Revisiting Chanthaburi Province. Dissertation : Bangkok University.]

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต.(2550).วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์.กรุงเทพฯ.แอคทีฟ พรินท์. [Juthapat Phadoongcheevit.Culture Communication and identity.Bangkok.Active print.]

จุฑามาศ วิศาลสิงห์.(2555).ศึกษาภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. กรุงเทพฯ:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. [Jutamas

Wisansing.(2012). Thailand Destination Image. Bangkok :Tourism Authority of Thailand. ]

ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค.(2558).”สัมพันธบทระหว่างภาพยนตร์กับจิตรกรรม :เปรียบเทียบภาพยนตร์ตะวันตกกับภาพยนตร์ผีไทย”. นิเทศศาสตรปริทัศน์มหาวิทยาลัยรังสิต 20, (2) กรกฏาคม หน้า 7 -26. [Chalongrat Chermanchonlamark.(2015).”Intertexuality between films and painting : A comparison between Western films and Thai films”. Journal of Communication Review. 20,(2) July, p.7-26. ]

โรล็องด์ บาร์ตส์.(2551). มายาคติ. วรรณพิมล อังคศิริสรรพ แปล. กรุงเทพฯ. :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ [Barthes Roland. (2008). Mythologies. translated by Wanphimol Angkhasirisap.(2008). Bangkok. ]

วิวัตน์ จันทร์กิ่งทอง.(2557). “ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทย”.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 34 ฉบบั ที่ 1 มกราคม หน้า :31-50. [ Wiwat Jankingthong.(2014). “Destination Image in Thailand”. Silpakorn University Journal. 34(1),January : p. 31-50.]

สมสุข หินวิมาน (2535). “แนวทางการวิเคราะห์ความหมายและอุดมการณ์ในงานสื่อสารมวลชน”. นิเทศศาสตรปริทัศน์.1,(1)ธันวาคม หน้า 45–55.[Somsuk Hinviman.(1992).“Analysis approach for signification and ideology in mass communication content”. Journal of Communication Review. 1(1) December , p.44-45 ]

สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์.(2556).การสร้างความหมายทางสังคมผ่านรายงานข่าวอุทกภัย พ.ศ.2544 ในหนังสือพิมพ์ไทย. ดุษฎีนิพนธ์.มหาวิทยาลัยรังสิต.[Sorapong Wongtheerathorn.(2013). The social construction of meaning through news report of 2011 flood crisis in Thai’s newspaper. Dissertation of Doctor. Rangsit University. ]

อารยา วรรณประเสริฐ.(2542).ภาพลักษณ์ประเทศไทยในสายตานักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[Araya Wannaprasirt.(1999). Thailand’s Image Among Foreign Tourist. Dissertation.Chulalongkorn University. ]

Boulding, Kenneth E.(1975). The image : knowledge in life and society . Ann Arbor (Ed.) . Cichago :University of Michigan.

Echtner, C. M., & Ritchie, J. R. B. (2003). “The meaning and measurement of destination image”. The Journal of Tourism Studies, 14 (1), pp37-48.

Leisen, B.(2001). Image Segmentation: “The case of tourism Destination”. Journal of service Marketing, 5(4).

Schramm, Wilbur. (1972). Mass communication, Chicago : University of Illinos press.

เว็บไซต์

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา(2561). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 2560.สืบค้นจาก www.mots.go.th. 19 กรกฏาคม 2562). [Ministry of Tourism and Sport(2018). .Tourist statistics 2017. Retrieved from www.mots.go.th.July,19 2019]

Baloglu, S., & McCleary, K. W. (1999). “ A model of destination image formation”.Annuals of tourism Research, 26 (4), Retrieved from http://isiarticles.com/bundles/Article/pre/pdf/119. pdf.July 17,2019.

สัมภาษณ์

ชยนพ บุญประกอบ.(27 เมษายน 2562,).ผู้กำกับภาพยนตร์. [ Chayanop Boonprakorb. (April 27,2019). Film Director]

ธีรพัสตร์ ถนัดสอนสาร.(22 มิถุนายน 2562,).นักเขียนบท [Teerapat Thanadsornsarn. (June 22,2019. ) Scriptwriter.]

รพีพิมล ไชยเสนะ.(20 มิถุนายน 2562).ผู้กำกับภาพยนตร์. [RapeepimolChaiyasena.(June20,2019.) Film Director.]

วาจวิมล เดชเกตุ.(4 มิถุนายน 2562).ผู้อำนวยการสถาบันภาพยนตร์และการละคร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.[Vajvimol Dajket. (June 4, 2019) Directer of Films and Drama Instutue, Rangsit University.]

สิรินาถ ถีนานนท์ (4 มิถุนายน 2562).ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการ ท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา.[Sirinart Teethanon. (June 4, 2019). Director of Thailand Films Office. Department of Tourism. Ministry of Tourism and Sport of Thailand.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01