การพัฒนาแบบเรียนด้วยตนเอง โมดูลเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาแบบเรียนด้วยตนเองโมดูลเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา และอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อแบบเรียน ดำเนินงานวิจัยตามขั้นตอนการพัฒนาแบบเรียน เริ่มต้นจากการวิเคราะห์บทเรียน (Analysis) จัดทำแผนการเรียนรู้ ออกแบบบทเรียนออนไลน์ (Design) ผลิตบทเรียน (Development) นำเข้าระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เปิดให้นักเรียนเข้าเรียนบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีจำนวนนักเรียนเข้าร่วมทดสอบบทเรียนรวม 155 คน จากโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา อุบลราชธานี ตรัง และกรุงเทพมหานคร ประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียน ประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทเรียนด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกนักเรียนที่เรียนบทเรียนเสร็จสมบูรณ์จำนวน 29 คน และครูผู้ประสานงาน 2 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมทดสอบบทเรียน

        การวิจัยมีผลผลิตเป็นแบบเรียนด้วยตนเองโมดูลเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลเรื่อง “การรู้เท่าทันชีวิตดิจิทัล และใช้อย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์” ประกอบด้วยเนื้อหา 8 เรื่อง ได้แก่ 1) ตัวตน ส่วนตัวหรือสาธารณะ เสรีภาพและการแสดงออกบนออนไลน์ 2) ใช้ชีวิตอย่างไรในโลกความจริง และ โลกเสมือนออนไลน์ 3) ชุมชนออนไลน์ วัฒนธรรม : เรา เขา และโลก 4) ความเสี่ยงและอันตรายบนออนไลน์ 5) ใช้สื่อออนไลน์ให้เป็น เพื่อประโยชน์ตนและของสังคม 6) ความรุนแรง การถูกกลั่นแกล้ง และการถูกหลอกลวงบนออนไลน์ 7) สร้างสรรค์สู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลบนออนไลน์ 8) ซื้อ ขาย อย่างสบายใจบนออนไลน์

        การประเมินผลสัมฤทธิ์บทเรียนพบว่าในภาพรวมบทเรียน 8 เรื่อง คะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับผลสัมฤทธิ์ด้านทัศนคติพบว่า ผู้เรียนให้ความสำคัญกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล โดยเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการเรียนด้านการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล รับรู้ถึงผลเสียและต้องระมัดระวังในการใช้งานสื่อดิจิทัล และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเนื้อหาจากบทเรียนไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทเรียนและการเรียนของนักเรียนพบว่ามี 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) วิธีการเรียน เช่น อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเรียน ระยะเวลา ช่วงเวลา สถานที่ และลำดับการเรียนบทเรียน 2) สิ่งแวดล้อมการเรียน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์และความเร็วของอินเทอร์เน็ต สิ่งรบกวนขณะเรียน ความกดดันในการเรียน ความผิดพลาดในการเรียน 3) เนื้อหาบทเรียน และกิจกรรมในบทเรียน เช่น เนื้อหาที่ใกล้ตัวผู้เรียน ความยากง่ายของเนื้อหา ความสนุกสนานจากการเรียน ความซับซ้อนของกิจกรรม 4) บทบาทครู พ่อแม่ เพื่อน ในการสนับสนุน กระตุ้นการเรียนรู้

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. [Kidanan malithong. (2005). Technology and Communication for education. Bangkok: Arun Printing.]

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2554). โครงการตำราอีเลิร์นนิ่ง โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย หลักการออกแบบเว็บไซต์ทางการศึกษา:ทฤษฎีส่กูารปฏิบัติ. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. [Jintavee Khlaisang. (2011). E-learning book project, Thai Cyber University project, Principles of educational website design: Theory to practice. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.]

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2553). การออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บ ในระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Jaitip Na Songkhla. (2010). Web-based instructional design in electronic learning Systems. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.]

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ 14 : มหาสารคาม. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [Chaiyot Ruangsuwan. (2010). Design and development of courseware & web-based Instruction. 14th edition: Mahasarakharm. Department of educational Technology and communication, Faculty of Education. Mahasarakharm University.]

ณัฐฐินันท์ กังแฮ, กุสุมา ใจสบาย, และกรวรรณ สืบสม. (2560). “การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องระบบสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(24), 1-10. [Nuttinan Kanghae, Kusuma Jaisabay, & korawan Seubsom. (2017). “The Development of online Learning Lesson on Entitled Information Systems and Communication in the Career and Technology Learning Substance Group for Mathayom suksa 3 Students.” Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakorn Rajabhat University, 9(24), 1-10.]

ทัศนีย์ ฤกษ์สโมสร, วสันต์ อติศัพท์, และธีพงศ์ แก่นอินทร์. (2554). “การพัฒนาครูประจำการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องห้องเรียนเสมือน : การศึกษาเชิงคุณภาพ”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 22(2), 259-272. [Tadsanee Roegsamosorn, Wasant Atisabda, & Teerapong Kan-In.

(2011). “A Qualitative Case Study : Teacher Development on Information Technology with Online Instruction : Virtual Classroom” Journal of Education. Prince of Songkla University. Padtanee campus, 22(2), 259-272]

เทวัญ ภูพานทอง. (ม.ป.ป.) การจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ(DLIT)รายวิชา สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน, โรงเรียนนามนพิทยาคม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. [Thewan Phoophanthong. (nd.). Learning management with applying information technology (DLIT). Social media class for Mathayom suksa 5 Students. Research project in class, Namonphittayakhom school, Namon district, Kalasin province, Office of Educational Service Area no.24.]

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). “สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 7-20. [Thanawat Wannaphapha. (2017). “Social Media with Education”. Journal of Education. Mahasarakharm University, 11(1), 7-20.]

ธัลย์พิฌชา ขำชุ่ม, และจิระพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ด้วย Google Application The Development of Web-Based Instruction in Computer Assisted Instruction by Google Application. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. [Thalphitcha Khamchum, & Jiraphan Srisomphan. (2017). Development of online lesson : Creating digital lesson with Google Application The Development of Web-Based Instruction in Computer Assisted Instruction by Google Application. Petchaburi Rajabhat National Symposium, Sustainable Research for Thailand No.7 Petchaburi Rajabhat University.”]

บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก. [Boonchom Srisa-ard. (2003). The development of teaching. Bangkok: Children club]

พนม คลี่ฉายา. (2559ก). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. โครงการวิจัย ระยะที่ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). [Phnom Kleechaya. (2016). Access, Risk, Digital Literacy and Conceptual Frame of Digital Media Education for Thai Secondary School Students. Phase 1, Research Report. The Thailand Research Fund.]

พนม คลี่ฉายา. (2559ข). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. โครงการวิจัย ระยะที่ 2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). [Phnom Kleechaya. (2016). Access, Risk, Digital Literacy and Conceptual Frame Of Digital Media Education for Thai Secondary School Students. Phase 2, Research Report. The Thailand Research Fund.]

ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์. (ม.ป.ป). การจัดทำบทเรียนมอดูล (Module). ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหลักสตูรการอาชีวะศึกษา. เอกสารสำเนาโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำสื่อบทเรียนด้วยตนเอง (Module) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. และคู่มือการเขียนมอดูลหน่วยศึกษานิเทศก์. [Phaitoon Nantasukol. (nd.) Creation of Module lesson. Development Center for Vocational courses. Document from the meeting of self-taught media modules Srinakharinwirot University. And a writing manual module for inspector unit.]

ภาสกร เรืองรอง, และคณะ. (2557). “เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21”. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5, 195-207. [Passakorn Reaungrong, et al. (2014). “Educational Teachnology VS Thai Teacher in 21st Century”. Panyapiwat Journal, 5, 195-207.]

วิชัย ดิสระ. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์. [Vichai Dissara. (2001). The Development of course and teaching. Bangkok: Suviriyasat Printing.]

วีระ ไทยพานิช. (2551). “การเรียนการสอนบนเว็บ. วารสารวิจัยรามคำแหง, 11(2), 53-64. [Veera Thaiphanich. (2008). “Web-based Instruction”. Ramkhamhaeng Research Journal, 11(2), 53-64.]

สรพรรค ภักดีศร. (2556). “การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ผ่านเว็บของผู้เรียน” วารสารนักบริหาร, 33(4), 26-33. [Sorapuck Puckdeesorn. (2013). “The Study of Learner’s Satisfaction on Web-based Learning”. Executive Journal, 33(4), 26-33.]

Barbera, E., Clara, M., & Linder-Vanberschot, J. A. (2013). “Factors Influencing Student Satisfaction and Perceived Learning in Online Courses”. E-Learning and Digital Media, 10(3), 226-235.

Chen, H.-L., & Williams, J. P. (2009). Pedagogical Design for an Online InformationLiteracy Course: College Students' Learning Experience with Multi-Modal Objects. Canadian Journal of Information & Library Sciences, 33(1/2), 1-37

Chu, S., & Ramírez, G. M. M. (2012). Interactive Learning for Graphic Design Foundations. E–Learning and Digital Media, 9(4), 345-355

Davey, N. (2017). “MEDIAtion: Flexible Literacy Terms, Communication and “Viral” Learning in 9–12 Classrooms” In S. Choo, D. Sawch, A. Villanueva, & R. Vinz (Eds), Educating for the 21st Century Perspectives, Policies and Practices from Around the World. (pp. 316-374). Springer Science+Business Media Singapore.

Fraillon , J., Ainley, J., Schulz , W., Friedman, T., & Gebhardt, E. (2014). Preparing for Life in a Digital Age The IEA International Computer and Information Literacy Study International Report. Springer Cham Heidelberg New York Dordrecht London.

Guzzetti, B. J., & Stokrocki, M (2013). “Teaching and Learning in a Virtual World” E-Learning and Digital Media, 10(3), 242-259

Hashemi, S., & Soltanifar, M. (2011). Analysis of Internet Literacy among Students Compared to Their Trainers and Parents in Tehran. International Conference on Social Science and Humanity, 5, 367-371.

Henderson, R. (2011). “Classroom pedagogies, digital literacies and the home-school digital divide” International Journal of Pedagogies and Learning, 6(2), 152-161.

Hobbs, R., & Coiro, J. (2016). Everyone Learns From Everyone: Collaborative and Interdisciplinary Professional Development in Digital Literacy. Journal of Adolescent and Adult Literacy, 59, 623 - 629.

Hoechsmann, M., & Poyntz, S. R. (2012). Media literacies : a critical introduction. Malden MA : Wiley-Blackwell.

Howlett, D. et al (2009).” Integration of a Case-Based Online Module into an Undergraduate Curriculum: what is involved and is it effective?” E–Learning, 6(4), 372-384

Johnston, N. (2010). “Isan online learning module an effective way to develop information literacy skills?”. Australian Academic & Research Libraries, 41(3), 207-218.

Kirwan, T., Learmonth, J., Sayer, M, & Williams, R. (2003). Mapping Media Literacy; Media Education 11-16 Years in the United Kingdom. British Film Institute, broadcasting standards commission.

Manuel, K. (2001). Teaching an online information literacy course. Reference Services Review. 29,(3), 219-229

Marty, P. F et al. (2013). Scientific inquiry, digital literacy, and mobile computing In informal learning environments, Learning, Media and Technology 38(4), 407-428.

McKinney, P., Jones, M., & Turkington, S. (2011). “Information literacy through inquiry” Aslib Proceedings, 63(2/3), 221 – 240.

Meyers, E. M., Erickson, I., & Small, R. V. (2013). “Digital literacy and informal learning environments: an introduction, Learning” Media and Technology, 38(4), 355-367.

Mutula, S., Kalusopa, T., Moahi, K., & Wamukoya, J. (2006). “Design and implementation of an online information literacy module” Online Information Review, 30(2), 168 – 187.

Nowell, S. D. (2014). “Using disruptive technologies to make digital connections: stories of media use and digital literacy in secondary classrooms” Educational Media International, 51(2), 109-203.

Poore, M. (2012). Using social media in the classroom. Thousand Oaks, CA : SAGE.

Thoman, E., & Jolls, T. (2005). Literacy for the 21st Century: An Overview & Orientation Guide To Media Literacy Education. Thousand Oaks, CA : Center for Media Literacy.

Tiernan, P., & Farren, M. (2016). “Digital literacy and online video: Undergraduate students’ use of online video for coursework” Education and Information Technologies. 1-19. doi:10.1007/s10639-017-9575-4

Tuzel, S. & Hobbs, R. (2017). “The Use of Social Media and Popular Culture to Advance Cross-Cultural Understanding”. Communication Media Education Research Journal, 25(51),63 - 72.

เว็บไซต์

วรากร พรหมมณี, และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2012). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ: การวิเคราะห์อภิมาน”. An On Journal Of Education, 7, (1), 2134-2147. สืบค้นจาก http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V71/v71d0156.pdf [Warakon Phommanee, & Jintavee Khlaisang. (2012). Factors effecting students learning results in web-based instruction : a meta-analysis. An On Journal Of Education, 7,(1), 2134- 2147. Retrieved from http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V71/v71d0156.pdf]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01