การวิเคราะห์การนำเสนอข่าวอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน กรณีศีกษา วาทกรรมของผู้พ้นโทษ
คำสำคัญ:
ข่าวอาชญากรรม, หนังสือพิมพ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ 1. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้พ้นโทษของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 2. เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้พ้นโทษของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน การดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประเภทการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับเนื้อหาที่นำมาศึกษาประกอบด้วยตัวบทเกี่ยวกับผู้พ้นโทษที่มีเนื้อหาปรากฎในสื่อหนังสือพิมพ์ 2 ประเภท ได้แก่ หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ และหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ และใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) นักวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยได้ข้อสรุปดังนี้
ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้พ้นโทษของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่ ลักษณะ หรือประเภทขององค์กร 2) ปัจจัยด้านข่าว ได้แก่ การเลือกที่จะนำเสนอความสำคัญ และความน่าสนใจของข่าว 3) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ การเลือกนำเสนอข่าวโดยอาศัยอุดมการณ์ ทักษะ และความเชื่อ นอกจากนี้ แรงกดดันทางสภาพเศรษฐกิจ และความคาดหวังของผู้อ่านยังมีผลต่อการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้พ้นโทษของสื่อหนังสือพิมพ์
สำหรับการวิเคราะห์การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับผู้พ้นโทษของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน พบว่า สื่อหนังสือพิมพ์ได้ประกอบสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับผู้พ้นโทษ โดยใช้กระบวนทัศน์ของศาสตร์ แห่งการเล่าเรื่องเป็นพื้นฐานของการรายงานผ่านทางภาษาของสื่อมวลชน อันแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของวาทกรรมที่สะท้อนความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคม
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส. [Kanjana Kaewthep. (2001).The Science of Media and Cultural Studies. Bangkok: Adison Press]
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศาลาแดง.[Kanjana kaewthep. (2002). Mass Media :Theory and Study. Bangkok : Saladang Printing Ltd]
มาลี บุญศิริพันธ์. (2531). หลักการทำหนังสือพิมพ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Maree Boonsiriphan. (1988). Principle of Newspaper Production. Bangkok : Faculty of Journalism and Mass Communication. Thammasat University]
ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค. (2553). “ภาพยนตร์ผีไทยใน 3 มิติ” วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. 14, (3) [Chalongrat Chermanchonlamark. (2010). “Thai ghost films in 3 dimensions” Journal of Communication Arts Review 14, (3)]
สุดสงวน สุธีสร และคณะ. (2552). ความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนที่อาชญากรรมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการยุติธรรม. [Sudsngwn Suthison (1979). Crime Mapping in Thailand. Bangkok: Office of Justice Affairs]
สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าวหลักเทคนิค. กรุงเทพมหานคร:ศูนย์หนังสือสวนสุนันทา. [Surasit wittayarat. (2002). News reporting: principals and technics. Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University Book Center]
Patrick Charaudeau. (2011). Les médias et l’information : l’impossible transparente du discours. Paris : De Boeck.
Fairclough Norman. (1995). Critical discourse analysis :The Critical Study of Language. London: Longman.
Dominick. Joseph R. (2011). The Dynamics of Mass Communication. New York : McGraw-Hill.
Littlejohn. Stephen W. (1992). Theories of human communication. Belmont CA: Wadsworth.
Teun A. Van Dijk. (2006). Discourse and Manipulation: Discourse and Society. New York. Cambridge University Press.
Leeuwen Theo van. (2008). Discourse and Practice: New Tools for Critical Discourse Analysis. New York. Oxford University Press Inc.