การศึกษาความหมายเชิงคุณค่าและพัฒนาเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน โครงการรางวัลทีวีสีขาว
คำสำคัญ:
รางวัลทีวีสีขาว, โทรทัศน์ระบบดิจิทัล, ความหมายเชิงคุณค่า, เกณฑ์การพิจารณาตัดสินบทคัดย่อ
การศึกษาความหมายเชิงคุณค่าและพัฒนาเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน โครงการรางวัลทีวีสีขาว ซึ่ง เป็นโครงการพิจารณาตัดสินรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมูลนิธิจำนง รังสิกุล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหมายเชิงคุณค่าของคำว่า “รางวัลทีวีสีขาว” 2) พัฒนาเกณฑ์กลางในการพิจารณาตัดสินรางวัลทีวีสีขาว โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของวงการโทรทัศน์ วงการสื่อสารมวลชน หรือผู้ที่เคยเป็นคณะกรรมการตัดสินรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ต่างๆ นักวิชาชีพนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนผู้รับสารเป็นต้น
ผลการศึกษาพบว่า นิยามของ “รางวัลทีวีสีขาว” คือ รางวัลแห่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจของสื่อมวลชนวงการโทรทัศน์ไทย อันเป็นสัญญะของความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เที่ยงตรง เป็นการส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการวิชาชีพด้านกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลให้พัฒนารายการที่มีเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์ จรรโลงสังคม ส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรม ชี้นำสังคมในทิศทางที่ดีงามและพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความก้าวหน้า ส่วนปรัชญาของ “รางวัลทีวีสีขาว” คือ รางวัลคุณภาพที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนโทรทัศน์พัฒนาเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์จรรโลงสังคมภายใต้กรอบมาตรฐานจรรยาวิชาชีพ ส่วนมูลค่าของรางวัลทีวีสีขาว เป็นเพียง “สิ่งสมมติ” เพื่อเป็นการตอบแทนผลผลิตรายการที่ดีหรือเป็นขวัญกำลังใจที่มอบให้แก่ผู้ผลิตรายการที่มีคุณภาพดี มูลค่าของรางวัลจึงไม่ได้สะท้อนคุณค่าที่ดีของรายการมูลค่าจึงไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับคุณภาพที่ดีและความสร้างสรรค์ของรายการ
ส่วนผลการพัฒนาเกณฑ์กลางในการตัดสิน ประกอบด้วย 1) คุณภาพของเนื้อหา 2) รูปแบบการนำเสนอ 3) ศักยภาพความเป็นมืออาชีพที่ต้องมีควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรม 4) การใช้หลักวิจารณญาณที่เป็นกลาง เปรียบเทียบเพื่อตัดสินรายการที่อยู่ในมาตรฐานใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นยังสรุปได้ว่า คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการตัดสินมีความสำคัญ โดยคณะกรรมการคัดเลือกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาผลงานในรอบแรกเพื่อให้คณะกรรมการตัดสินพิจารณาตัดสินผลงานในรอบสุดท้าย ส่วนการสรรหาและกำหนดสัดส่วนของคณะกรรมการทั้งสองชุดจึงมีความสำคัญมากโดยจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิครบถ้วน มีภาพลักษณ์ของความเป็นธรรมและเที่ยงตรง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาพรวมของโครงการ
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์. [Kanchana Kaewthep. (2009). Media Analysis : Concept and Technique.
Bangkok : Pappim.]
ประคุณ รุ่งธนวิชญ์. (2560). “ความท้าทายของทีวีดิจิทัลไทยในยุคการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ประโยชน์จากสื่อโสตทัศน์ของประชาชน”. วารสาร กสทช.ประจำปี 2560. :199-200. [Prakoon Rungthanawich. (2017). “Challenges of Thai Digital TV in the Era of Changing in People’s Behavior on Audiovisual Media Use”. NBTC Journal 2017. : 199-200.]
มูลนิธิจำนง รังสิกุล. (2561). รายงานการประชุมโครงการรางวัลทีวีสีขาว. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิจำนง รังสิกุล. [Chamnong Rungsikul Foundation. (2018). White TV Award Project Meeting Minutes. Bangkok : Chamnong Rungsikul Foundation.]
De Saussure F. (1974). Courses in General Linguistics. London : Fontana.
Peirce. C.S. (1931). Collected Papers of C. Peirce. Harshow & P. Wriss (eds). Harvard University Press.
Theordore, Perterson. (1973). Four Theory of the Press. Urbanana : University of Illinois Press.
เว็บไซต์
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง (2560). การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย. วันที่สืบค้น 18 กันยายน 2561, เข้าถึงได้จาก "http://library.senate.go.th/document/Ext5728/5728410_0002.PDF" http://library.senate.go.th/document/Ext5728/5728410_0002.PDF
[Siriwan Monuttrapadung (2017) Thailand Changing into the Digital Era.Retreieved : "http://library.senate.go.th/document/Ext5728/5728410_0002.PDF" http://library.senate.go.th/document/Ext5728/5728410_0002.PDF, September 18,2018 ]
สัมภาษณ์
เขมสรณ์ หนูขาว. (2561). ผู้ประกาศข่าว, ไทยรัฐทีวี. สัมภาษณ์. [Kammasorn Nookalw. (2018). Announcer, Thairath TV. Interview.]
จุมพล รอดคำดี. (2561). ประธานกรรมการนโยบาย,องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์. [Joompol Rodkamdee. (2018). Chairman of the board Policy of Thai Public Broadcasting Service (TPBS). Interview.]
นิพนธ์ จงวิชิต. (2561). รักษาการผู้จัดการ, กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ. สัมภาษณ์. [Nipol Jongvichit. Acting Manager, Broadcasting and Telecommunications Research and Development Fund for the Public Interest. Interview.]
ตรี บุญเจือ. (2561). สำนักคุ้มครองผู้บริโภค, คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. สัมภาษณ์. [Tri Bunchua. (2018). Office of the Consumer Protection, National Broadcasting and Telecommunication Commission. Interview.].
บวรทัช อุ่นวัฒนะ. (2561). ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ. สัมภาษณ์. [Borvorntouch Onnwattana. (2018). Chief Operating Officer. Interview.].
ปิยะกุล เลาวัณย์ศิริ. (2561). นักวิชาการอาวุโส. สัมภาษณ์. [Piyakul Lawwansiri. (2018). Senior Academic. Interview.].
พลอยศจี ฤทธิศิลป์. (2561). ผู้สื่อข่าว ไทยรัฐทีวี. สัมภาษณ์.. [Ploysajee Riththisin. (2018). Correspondent, Thairath TV. Interview.]
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2561.) คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สัมภาษณ์. [Yubol Benjarongkij. (2018). Dean of Graduate School of Communication Arts and Management Innovation, National Institute of Development Administration. Interview.]
สุชาติ ศรีตะมา. (2561). ผู้สื่อข่าว TTG Asia ประจำประเทศไทย. สัมภาษณ์. [Suchart Sritama. (2018). Thailand Correspondent to TTG Asia. Interview.]
สุภาพ คลี่ขจาย. (2561). นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล. สัมภาษณ์. [Suparp Kleelkajai. (2018). Association President, Digital TV Association. Interview.]
อธิคม ฟูเต็มวงศ์. (2561). นักโฆษณา. สัมภาษณ์. [Atikom Fulltemwang. (2018). Creative. Interview.]