แนวทางการพัฒนารายการข่าวสารสาระที่เป็นโยชน์ต่อสาธารณะ เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการเห็น

ผู้แต่ง

  • มนัสชนก สุรชัยกุลวัฒนา นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

รายการข่าวสารสาระ, การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์, ผู้พิการทางการเห็น

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับ การเข้าถึง ความต้องการ และการใช้ประโยชน์จากรายการโทรทัศน์ของผู้พิการทางการเห็น 2) สถานการณ์เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์เพื่อผู้พิการทางการเห็น 3) วิธีการที่ใช้ในการพัฒนารายการโทรทัศน์ 4) เสนอแนวทางการพัฒนารายการโทรทัศน์

        การวิจัยเรื่องนี้ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (mixed methods) คือ การวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลจำนวน 22 คน สนทนากลุ่ม จำนวน 8 คนเลือกแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงพรรณนา

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้พิการทางการเห็น ส่วนใหญ่รับชมรายการโทรทัศน์ทุกวัน โดยเปิดรับช่วงเช้า 06.00-09.00 น. ช่วงเย็น 16.00-19.00 น. ช่วงค่ำ 19.00-22.00 น.และรับชมตามเวลาออกอากาศของสถานี แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง  รายการที่รับชมคือรายการข่าวสาร รายการความรู้ โดยรับชมเหมือนคนอื่นทั่วไปเนื่องจากไม่มีรายการที่ผู้พิการทางการเห็นสามารถเข้าถึงได้ และต้องการเนื้อหาด้านการศึกษาและความรู้ สิทธิและสวัสดิการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ติดตามข้อมูลข่าวสาร และทำกิจกรรมกับกลุ่มต่างๆ 2) สถานีโทรทัศน์ทุกสถานีรับรู้ว่ามีประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทุกสถานีมีแผนรองรับแต่มีเพียงบางสถานีที่เริ่มมีการผลิตรายการที่มีเสียงบรรยายภาพแล้ว เช่น สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และสถานีโทรทัศน์ Thai PBS แต่ยังไม่เพียงพอ ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นยังไม่พร้อม 3) วิธีการพัฒนารายการข่าวสารสาระที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะมี 2 วิธี คือ (1) การฝั่งเสียงบรรยายภาพแทรกลงไปในรายการและบรรยายแบบลื่นไหล (2) การเชื่อมโยงระหว่างเสียงบรรยายภาพและการฝั่งเสียงบรรยายภาพแทรกลงไปในรายการและบรรยายแบบลื่นไหล 4) แนวทาง การพัฒนารายการข่าวสารสาระเพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการเห็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้แก่ (1) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (2) ผู้ประกอบกิจการ สถานีโทรทัศน์ (3) สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย (4) สถาบันการศึกษาเพื่อช่วยกันผลักดันให้เกิดรายการโทรทัศน์เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการเห็น

References

จุฑารัตน์ กลิ่นค้างพลู. (2559). การวิเคราะห์-ประสิทธิผลการจัดทำบริการเสียงบรรยายภาพในรายการโทรทัศน์สำหรับคนพิการทางการเห็น. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Chutharat Klinkhangplu. (2016). Cost effectiveness- analysis for producing audio description services for news, documentary, and entertainment programs for visually impaired television viewers in Thailand. Thesis, Thammasat University.]

แต้มพงศ์ ศรีทอง. (2554). การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิ่งอำนวยความสะดวกของคนพิการทางสายตาตามมาตรา 20 พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ พ.ศ. 2550 (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Tampong Srithong. (2011). Access to and use of facilities for visually impaired persons under section 20 according to the act of promotion of disable’s quality of life B.E.2550. (Independent research). Bangkok : Thammasat University.]

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์. (2554). การสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูนเพื่อเด็กพิการทางการมองเห็น. (นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Theethavat Janevatchararuk. (2011). The creation of audio description in animated feature for visually-impaired children. Bangkok : Chulalongkorn University.]

ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ของคนพิการทางสายตา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. [Phattira Klinlekha. (2014). Television Exposure and Needs for Appropriate Programs for the Blind. (Research Report). Songkla : Hat Yai University.]

ภัทธีรา สารากรบริรักษ์. (2557). เสียงบรรยายภาพที่ผู้พิการทางการเห็นต้องการ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [Phatthira Sarakornborirak. (2014). Audio Description: hat do Thais with visual impairment need?. (Research Report). Bangkok : Thammasat University]

มูลนิธิคอลฟีลด์เพื่อคนตาบอด (2553). ครบรอบ 30 ปี มูลนิธีคอลฟีลด์เพื่อคนตาบอด ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 12 ธันวาคม 2553. กรุงเทพฯ: กิจไพศาลการพิมพ์. [Thailand Caulfield For the Blind Foundation. (2010). 30th Anniversary of the Blind Field for Blind People Under the patronage of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn on 12 December 2010. Bangkok: Kitpaisan Printing.]

ศศโสฬส จิตรวานิชกุล. (2542). การศึกษาพฤติกรรม ความสนใจ และความต้องการในการเปิดรับสื่อของคนตาบอดในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Sasasolod Jitwanichkul. (2008). Media Exposure Interests and Needs of the Blind in Bangkok Metropolis. Thesis, Chulalongkorn University.]

อารดา ครุจิต. (2556). หลักการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพในโทรทัศน์สำหรับผู้พิการทางการเห็น. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . กรุงเทพมหานคร.[Arada Khruit. (2013). The study of audio description guidlines in television for visually impaired people. (Research Report). Bangkok : Thammasat University]

McQuail, Dennis. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction . London: Sage.

McQuail, Dennis. (2000). Mass Communication Theory: An Introduction . London: Sage.

เว็บไซต์

รมส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2561). รายงานสถานการณ์คนพิการปี 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กันยายน 2561. จาก http://dep.go.th. [ Department of Promotion and Development of the Quality of Life of the Disabled (2018). Report on the situation of the disabled 2016. Retrieved : September 31, 2018. From http://dep.go.th.]

ตรี บุญเจือ. (2557). คนพิการกับการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 จาก http://58.181.147.25/ojsjournal/index.php/5-02/article/download/248/185.[Tri boonjue (2014). Persons with Disability and the Access to Communication Technology In Broadcasting for the Development of Quality of Life: an Analytic, Appreciative and Applicative. Retrieved : September 8, 2017. From http://58.181.147.25/ojsjournal/index.php /5-02/article/ download/248/185.]

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2559). การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ 2559. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2559. จาก http://broadcast.nbtc.go.th/law/doc. [National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2016). Promotion and Protection of the Rights of People with Disabilities to Access information and Use of Television Programs 2016. Retrieved : December 28, 2016. From http://broadcast.nbtc.go.th/law/doc.]

Collins, R. (2012). Audio description on television: past, present and Future. Retrieved : August 30, 2017. From https://www.yumpu.com/en/document/view/25807052/audio- description-on- television-past- McClelland D.C., (1985). Human Motivation. Retrieved : August 30, 2017. From http://motivation-srisupan.blogspot.com/2012/07/theories-of-motivation.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01