บทบาทของครอบครัวและสังคมกับการสื่อสารพัฒนาอัตมโนทัศน์ด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเยาวชนกรุงเทพมหานครเพื่อป้องกันการเป็นนักดื่มแอลกอฮอล์หน้าใหม่

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

พัฒนา, อัตมโนทัศน์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของครอบครัวและสังคมในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเยาวชนเพื่อป้องกันการเป็นนักดื่มแอลกอฮอล์หน้าใหม่ และ 2) เสนอรูปแบบบทบาทของครอบครัวและสังคมในการสื่อสารพัฒนาอัตมโนทัศน์ด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเยาวชนเพื่อป้องกันการเป็นนักดื่มแอลกอฮอล์หน้าใหม่ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนอาชีวศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในเขตจตุจักร ได้แก่ โรงเรียนหอวัง และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ และเขตลาดพร้าว ได้แก่ โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม และศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ จำนวนรวม 354 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจาก 4 โรงเรียน นักเรียน จำนวน 33 คน  และเป็นครูประจำชั้น จำนวน 11 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย

        ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของครอบครัวและสังคมมีการควบคุมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความรู้สึกเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนอยู่ในระดับมาก และ 2) รูปแบบบทบาทของครอบครัวและสังคมในการสื่อสารพัฒนาอัตมโนทัศน์ด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของนักเรียนเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจาก   การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ครอบครัวและสังคม (โรงเรียนและชุมชน) ร่วมป้องกันนักเรียนจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการเอาใจใส่ ให้คำแนะนำ รณรงค์ต่อต้านหรือประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจถึงโทษของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเป็นแบบอย่างที่ดี มีกิจกรรมสร้างสรรค์ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้มีความสามารถหรือแสดงออกในทางที่เหมาะสม และนำหลักธรรมทางศาสนามาเป็นแนวทางสร้างคุณค่าตนเองไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

References

กัลป์ลิกา ฉินวิรุฬห์ศิริทรัพย์. (2557). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติ คดีเมาแล้วขับ”. วารสารวิทยบริการ, 25(2), 91 - 100. [Kanlika Chinvirunsirisup. “Factors Related to Behavior of Drunk Driving Offenders”. (2014). Probation Office Academic Services Journal, 25(2), 91 – 100.]

บุญเสริม หุตะแพทย์ และคณะ. (2547). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย : การสำรวจองค์ความรู้สถานการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. [Boonserm Hutabhaedya, et al. (2004). Alcohol Consumption Behavior of Thai Adolescents : A Survey of Knowledge, Situation, and Factors Influenced to Alcohol Consumption Behavior. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation]

พรรณี ชูทัย เจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : บริษัทคอมแพคท์ พริ้นท์ . [Pannee Chuthai Janejit. (1995). Educational Psychology. Bangkok: Compact Print.]

สุภาพรณ์ อุดมลักษณ์, ปัณณธร ชัชวรัตน์ และจันทร์จิรา อีนจีน. (2557). “กระบวนการเรียนรู้ อย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนบ้านสันป่าบง ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา”. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 24(3), 90 - 103. [Suphaphon Udomluck, Pannathorn Chachvarat and Junjira Eanjen. “Participatory Learning Process to Build Capacity of Families in Solving Alcohol Problems in Ban Sanpabong, Sanpamuang Sub-district, Muang district, Phayao Province”. Nursing Journal of the Ministry Public Health. 24(3), 90 - 103.]

อรทัย วลีวงศ์ และคณะ. (2553) บทบาทและพฤติกรรมของพ่อแม่ที่มีต่อผลการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [Orratai Waleewong, Surasak Chaiyasong and Thaksaphon Thamarangsi. (2001). Influence of parental norms and behaviours on youth drinking in Thailand. Faculty of Pharmacy, Mahasarakham University, Thailand.

อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2547). พัฒนาการวัยรุ่นในความรู้สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นสําหรับผู้ปฏิบัติงาน เครือข่ายสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. [Amporn Benjapholphithak. (2004). Adolescent Development in Children and Adolescents Mental Health Knowledge for Mental Health Network Practitioners. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing Demonstrations of Thailand.]

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, พลเทพ วิจิตรคุณากร และสาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2559). ข้อเท็จจริงและตัวเลข: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. สงขลา : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. [Udomsak Saengowh, Pholthep Vichitkhunakorn and Sawitree Asnankornchai. Facts and Figures Alcohol in Thailand. Songkla : Center for Alcohol Studies.]

Atkin, C., Hocking, J., & Block, M. (1994). Advertising to Children: New Directions, New Media. New York : Matin,s Press.

Coopersmith, S. (1981). The Antecedents of Self-Esteem. Palo Alto, California: Consulting Psychologists Press.

Coopersmith, S. (1984). SEI : Self-Esteem Inventories. California : Consulting Psychologist Press,Inc.

Trojanowicz, R. C. and Merry M. (1987). Juvenile Delinquency : Concept and Control. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.

เว็บไซต์

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2558). หนังสือคู่มือการให้การปรึกษาสำหรับผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์. เข้าถึงได้จาก http://dmh.go.th/news/view.asp?id=966 6 พฤศจิกายน 2558 [Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2013). Handbook of Counseling for Face a Alcohol Problem. retrieved November, 6, 2013. from http://dmh.go.th/news/view.asp?id=966]

มติชนออนไลน์. (2559). อันดับการดื่มแอลกอฮอล์ประเทศไทย. http://www.matichon.co.th news_detail.php?newsid=1328532921&grpid=03&cati d=03 6 กุมภาพันธ์ 2559 [Matichon Online. (2014). Alcohol Drinking Rank in Thailand. retrieved February, 6, 2014. from http://www.matichon.co.th news_detail.php?newsid=1328532921&grpid=03&cati d=03]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01