แนวคิด นโยบาย และแนวโน้มการบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พรณรค์ พงษ์กลาง สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ของโทรทัศน์ชุมชนในปัจจุบัน 2) ความรู้ความเข้าใจและความต้องการของชุมชน 3) แนวคิดของโทรทัศน์ชุมชน 4) นโยบายและมาตรการสนับสนุนของโทรทัศน์ชุมชน 5) แนวโน้มการบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ชุมชน และ 6) ปัจจัยความสำเร็จของสถานีโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย จากโครงการพัฒนาต้นแบบสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการชุมชน จำนวนทั้งหมด  3  โครงการ คือ โครงการโทรทัศน์ชุมชนพะเยาทีวีชุมชน จังหวัดพะเยา โครงการโทรทัศน์ชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และโครงการโทรทัศน์ชุมชนอันดามันมั่นคง จังหวัดกระบี่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคเดลฟายและการสำรวจ โดยการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 27 ราย โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับชมของสถานีโทรทัศน์ชุมชนนำร่อง 3  โครงการ คือ โครงการโทรทัศน์ชุมชนพะเยาทีวีชุมชน จังหวัดพะเยา โครงการโทรทัศน์ชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และโครงการโทรทัศน์ชุมชนอันดามันมั่นคง จังหวัดกระบี่ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้าเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ยเท่ากัน จำนวน 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

        ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ของโทรทัศน์ชุมชนในปัจจุบันอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามโครงการต้นแบบโทรทัศน์บริการชุมชนและมีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการนำมาใช้เป็นข้อมูลหรือเป็นชุดประสบการณ์สำหรับโทรทัศน์ชุมชนแห่งอื่น ๆ ต่อไป 2) กลุ่มตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดของโทรทัศน์ชุมชน แต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายของโทรทัศน์ชุมชน ทั้งนี้มีความต้องการในประเด็นสิทธิการสื่อสาร การใช้ประโยชน์จากโทรทัศน์ชุมชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การวางแผนนโยบายสถานีโทรทัศน์ชุมชนของตนเอง และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ อย่างไรก็ตามแนวคิดของโทรทัศน์ชุมชนในอนาคตมีแนวโน้มเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) นโยบายและมาตรการสนับสนุนโทรทัศน์ชุมชนมีแนวโน้มเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 4) แนวโน้มการบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ชุมชนมีแนวโน้มไปได้อยู่ในระดับมาก 5) ปัจจัยความสำเร็จของโทรทัศน์ชุมชนมีแนวโน้มเป็นไปได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยความสำเร็จของสถานีโทรทัศน์ชุมชนขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในโดยรวมมากกว่าปัจจัยภายนอกชุมชนและเป็นภาพอนาคตที่พึงประสงค์

References

จุมพล รอดคําดี. (2537). สื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Joompol Rodkamdee. (1994). Media for development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.]

นครินทร์ ชานะมัย. (2561). “การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย” วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. 22,(1) กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 [Nakarin Chanamai. (2018). “Strategy Management of the Digital Television Station in Thailand” Journal of Communication Arts Review. 22,(1) July - December 2018.]

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2548). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).[Parichat Satapitanon. (2005). Participatory Communication and Community Development: From Concept to Research Practice in Thai Society. Bangkok: The Thailand Research Fund(TRF).]

ภัทรา บุรารักษ์. (2551). โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค การกำเนิด การดำรงอยู่และการพัฒนา. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[Pattra Burarak. (2008) Provincial Television, Birth, and Development. Dissertation Doctor of Philosophy Chulalongkorn University.]

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2550). การบริหารสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์. หน่วยที่ 5. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.[Patsawaree Nitikasetsoontorn. (2007). Local television station management Instructional Materials, Introduction to Radio and Television. Unit 5 (1st ed). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.]

ลัดดาวัลย์ อินทจักร. (2548). กระบวนการดำเนินงานโทรทัศน์ชุมชน “บ้านนอกทีวี”.งานวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.[Laddawan Intajak. (2005). Operational process of Bannok TV community television. Chiang Mai: Chiang Mai University.]

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.[Supachai Yaoprapat. (2005). Public policy. (6th ed). Bangkok: Chulalongkorn University.]

ศิริวรรณ อนันต์โท. (2561).ประมวลสาระชุดวิชานโยบายการสื่อสารและการกำกับดูแล. หน่วยที่ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.[Siriwan Anantho. (2018). Compulsory Policy and Communication Policy. Unit 3. (1st ed). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.]

สุภนันท์ ฤทธิ์มนตรี และ นิธิดา แสงสิงแก้ว. (2559). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนในระบบดิจิตอล (ศึกษากรณีพะเยาทีวีชุมชน)” วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่ม ธุรกิจและสังคมศาสตร์. 1 (1) กรกฎาคม-ธันวาคม 2558. [Supanan Ritmontri and Nithida Sangsingkeaw. (2016). “Factors that affect the emergence of digital TV community (Phayao community TV case)”. Journal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Sciences. 1,(1) July - December 2015.]

สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2561). รายงานการศึกษาบริการโทรทัศน์ชุมชนและแนวทางการทดลองให้บริการโทรทัศน์ชุมชนสำหรับประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพมหานคร .[ National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2018). Study Report on Community TV Service and Experimental Guidelines for Community Television Service in Thailand. (1st ed). Bangkok.]

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2555). “การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ”. วารสารสุทธิปาริทัศน์. 26, (80) กันยายน – ธันวาคม 2555. [Ousa Biggins. (2012). “Media and Information Literacy”. Suthiparithat Journal. 26,( 80) September - December 2012.

เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ (2544). เอกสารประกอบการบรรยาย แนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชนเพื่อประชาสังคม. (อัดสำเนา). สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.[ Uajit Virojtrirath. (2001). Handout Guidelines for conducting community radio for civil society. (Duplicate). Thai Civicnet Foundation.]

Barker, Philip and Manji, Karim. (1991). Designing Electronic Books, Educational and Training Technology International. 28. November.

Berrigan, F. (1979). Community communications. The Role of Community Media in Development. Paris: UNESCO.

Dye, Thomas R. (1984). Understanding Public Policy. (5th ed). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice -Hall, Inc. Vanclay et al.

Fuller K, Linda. (2007). Top-Down Community Media: A Participation Observation from Singapore. In Fuller K, Linda (ed.), Community Media International Perspectives, pp. 129-138.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01