การสืบค้นสัญญาณการสืบสานภาษาและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทด
คำสำคัญ:
ไทดำ, วัฒนธรรม, สัญญาณ, การสืบสานวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา มีเป้าหมายที่จะบรรยายปฎิบัติการทางวัฒนธรรมของกลุ่มไทดำ ในด้านการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ ผู้วิจัยศึกษาวัฒนธรรมในฐานะทีเป็นกระบวนการสร้างและสื่อความหมาย เพื่อชี้ชัดว่าตนเป็นใคร โดยใช้แนวทางสัญญาณศาสตร์ ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลตัวบทจากปฏิบัติการทางวัฒนธรรมในพื้นที่ศึกษาที่เป็นย่านวัฒนธรรมหนึ่งในอำเภอเขาย้อย จ. เพชรบุรี งานวิจัยเสนอข้อสรุปว่า การสร้างและสื่อความหมายเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นนามนัยที่สำคัญของความเป็นไทดำ ที่ต้องสื่อสารผ่านรูปสัญญาณดั้งเดิม เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย พิธีกรรม และ งานประเพณี อย่างไรก็ตามพบว่า เด็กและเยาวชนให้ความสำคัญแก่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เช่น ทีมฟุตบอล เสื้อผ้าแฟชั่น อาหารฟิวชั่น การนำเสนอ (representation) เช่นนี้ จะช่วยสืบธำรง (reproduction) ความหมายให้มีพลวัตไปตามความร่วมสมัยของสังคม การจัดการศึกษาเพื่อการสืบสานวัฒนธรรมจึงมีนัยสำคัญที่การธำรงความหมายเดิม และเสริมด้วยสัญญาณใหม่ ให้ตรงใจผู้รับ
References
ชิตชยางค์ ยมาภัย (2559) “วัฒนธรรมการเรียนรู้ ในการเรียนรู้วัฒนธรรม” วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 35 (1) หน้า 29-46 [Jitjayang Yamabhai (2017) “Learning Culture in Culture Learning” Journal of Languages and Cultures. 35, (1) page 29-46 ]
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (2537) สืบสานวัฒนธรรมไทย บนฐานแห่งการศึกษาที่แท้. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก [Phrathammapidok (Prayuth Payuthto) (1994) Thai Cultural Transmission Based on True Education. Bangkok: Sahathamic]
สมทรง บุรุษพัฒน์ และคณะ (2554) การใช้ภาษาและทัศนคติต่อภาษาและการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล [Somsonge Burusphat and others (2011) Language Use and Attitude towards Languages and Ethnic Tourism of Ethnic Groups in the Western Region of Thailand. Nakhon Phathom: Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University.]
อมรา พงศาพิชญ์ (2537) วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Amara Phongsapich (1994) Culture, Religious, and Ethnicity: Ethnographic Approach to Thai Society Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University]
Barlett, Lesley., Vavrus, Frances. (2017) Rethinking case study research : a comparative approach. New York: Routledge
Danesi, Marcel (2007) The Quest for Meaning : a guide to semiotic theory and practice. Toronto : University of Toronto Press Incorporated.
Littlejohn, Stephen W. and Foss, Karen A. (2008) Theory of Communication. New York: Wadsworth
Mchitarjan, Irina., reisenzein, Rainer. (2013) “Toward a theory of cultural transmission in minorities” Ethnicities 14, (2)
Schech, Susanne., Haggis, Jane. (2008) Culture and Development : a critical introduction. New York : Blackwell publishing
Thwaites, Tony and others (2002) Introducing Cultural and Media Studies A Semiotic Approach. Wales : Creative Print and Design