การประเมินประสิทธิผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สร้างนักคิดจิตอาสา” วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2561

ผู้แต่ง

  • ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

บริบท, ปัจจัยนำเข้า, กระบวนการ, ผลผลิต

บทคัดย่อ

        การประเมินประสิทธิผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สร้างนักคิดจิตอาสา” วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2561 เป็นการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธผลโครงการตามแนวคิดของ Stufflebeam คือ การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ บริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) ทำการประเมินกับนักศึกษาและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 65 คนผลการวิจัยพบว่า

        1. ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา โดยสังกัดสาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์มมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อสารการตลาดดิจิทัล และมัลติมีเดีย

        2. ประสิทธิผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ โดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.64 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นด้วยว่าด้านปัจจัยนำเข้าเหมาะสมมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.74 รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ ด้วยค่าเฉลี่ย 4.68 ด้านผลผลิต ด้วยค่าเฉลี่ย 4.63 และด้านบริบท ด้วยค่าเฉลี่ย 4.53 ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ 2.1) ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.74 โดยพบว่า มีความพร้อมและความเพียงพอของวิทยากรในการทำกิจกรรมมากที่สุด 2.2) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.68 โดยพบว่า ทีมวิทยากรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2.3) ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.63 โดยพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสาขาวิชา/คณะวิชา สร้างระบบการทำงานเป็นทีม และความร่วมมือระหว่างกันได้ และ 2.4) ด้านบริบทอยู่ในระดับมากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.53 โดยพบว่า โครงการนี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง จิตอาสา และความสามัคคี ตามลำดับ

References

ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อโครงการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยรังสิต. [Thiraporn Glinsukon. (2015). Satisfaction of Rangsit University’s Student toward Reproductive Health Project. Patumthani : Paper Research, Rangsit University.]

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เฮ้าส์อ๊อฟเคอร์มีสท์. [Pichit Ritjaroen. (2014). Project Evaluation Techniques. 2nd ed. Bangkok : House of Kermyst.]

พัชนี สมพงษ์. (2555). การประเมินโครงการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการประเมิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. [Phatchanee Somphong. (2012). The Evaluation of Training Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care). Faculty of Nursing Srinakharinwirot University. Master of Science (Evaluation Methodology) Graduate School, Srinakharinwirot University.]

ประชุม รอดประเสริฐ. (2545). การบริหารโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์. [Prachoom Rodprasert. (2002). Project Management. (6th ed.). Bangkok : Natikul Press Co., Ltd.]

วรทัย ราวินิจ. (2558). ความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรม และทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายภายในที่มีต่อโครงการด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยรังสิต. [Worrathai Rawinit. (2015). Knowledge, Understanding, Behavior and Attitude of Internal Targets towards Reproductive Health Project of Rangsit University. Patumthani : Paper Research, Rangsit University.]

สมชาติ กิจยรรยง. (2554). เทคนิคการเป็นวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด. [Somchat Kijyanyong. (2011). Techniques to be Successful Speaker. Bangkok : Pimdee Printing Service.]

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Somwang Pithiyanuwat. (2010). Methodology of l Evaluation : The Science of Value. (5th ed). Bangkok : Chulalongkorn University Press.]

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. In D. L. Stufflebeam & T. Kellaghan (Eds.), The International Handbook of Evaluation. Boston, MA. : Kluwer Academic Publishers.

เว็บไซต์

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2558). แนวทางการสร้างจิตสาธารณะในสังคมไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://timebanksociety.org/category/news/. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561. [Kreingsak Chareonwongsak. (2015). Guidelines for Creating Public Mind in Thai Society. (Online). Source : http://timebanksociety.org/category/news/. Retrieved 20 October 2018.

ผ่องพรรณ จรัสจินดารัตน์. (2555). เทคนิคการเป็นวิทยากรและการสร้างสื่อประกอบ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้ จาก http://www.nsdv.go.th/main/attachments/129_2012unit5.pdf. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2561. [Phongpan Jarasjindarat. Techniques of being a speaker and creating media. (Online). Source: http://www.nsdv.go.th/main/attachments/129_2012unit5.pdf. Retrieved 22 September 2018.

สัมภาษณ์

ปราณี บุญญา. (2561). รองผู้อำนวยการ สำนักงานสวัสดิการสุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต. การดำเนินกิจกรรมในมหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. [Pranee Boonya. (2018). Activities in University. Associate Director, Office of Health Welfare, Rangsit University. Interview.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01