ความสามารถทางการสื่อสารและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในประเด็นของ ความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมไทยและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ทุกหลักสูตรตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4

        ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-19 ปี เป็นสัญชาติภูฏานมากที่สุด และพำนักอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 1 ปี สำหรับประเด็นความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมเจ้าบ้านของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถทางการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมเจ้าบ้านของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.03 เมื่อพิจารณาจากประเภทความสามารถทางการสื่อสาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความสามารถในการสื่อสารทางอารมณ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 รองลงมา คือ ความสามารถในการสื่อสารทางการปฏิบัติ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67 และความสามารถในการสื่อสารทางความคิด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.23 ตามลำดับ ทั้งนี้ประเด็นของระดับขั้นการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 58.0 และประเด็นสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปรับตัวว่า ปัญหาการปรับตัวส่วนใหญ่เป็นการสื่อสาร ภาษาไทยค่อนข้างยาก แต่คนไทยก็คอยแนะนำ คอยสอน ทำให้เข้าใจคำง่ายๆ อย่างเช่น คำทักทาย คำขอบคุณ เป็นต้น โดยมีจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 9.3

References

พรพะเยาว์ ก๋งเม่ง. (2556). ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยรังสิต. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต. [Pornphayao Konmaeng. (2013). Intercultural communication competence and self-adaptation of Chinese students in Rangsit University. Faculty of Communication Arts. Rangsit University.]

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2556). การปรับตัวของนักศึกษาจีนที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต . มหาวิทยาลัยรังสิต. [Patcharapa Euamornvanich. (2013). Adjust of Chinese Students in Dhonburi Rajabhat University. (Degree of Doctor Thesis). Faculty of Communication Arts, Rangsit University.]

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2536). รายงานการวิจัยลักษณะและปัญหาการสื่อสารต่างวัฒนธรรมในบรรษัทนานาชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. [Metta Vivatananukul. (2005). Intercultural communication. Bangkok, Chulalongkorn University.]

Chen Gue Ming. 1989. Intercultural Communication Competence. Taiwan : National Taiwan University Press.

Gudykunst, W.B. and Kim, Y.Y. 1992. Communicating with Strangers: An Approach to Intercultural Communication. New York: MaGraw - Hill, Inc.

Kim, Y.Y., 1994. Adapting to new culture. In Samovar, L.A. & Porter, R.E.(ed.) Intercultural Communication Theory. California : Wadsworth.

Ruben, B.D. & Steward. 1998. Communication and Human Behavior. Boston: Allyn & Bacon.

เว็บไซต์

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2560) แสดงจำนวนและร้อยละนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำแนกตามประเทศเป็นรายสถาบัน ปี พ.ศ. 2559 . 2560. แหล่งที่มา: http://inter.mua.go.th/ (21 ธันวาคม 2560). [Office of the Higher Education Commission. (2018) Number and Percentage of International Students Classified by Level of Study and Institution. Access: http://inter.mua.go.th/wp-content/uploads/2016/11/08-table4_level-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-56.pdf, December 21, 2017.]

ระบบอินทราเน็ตมหาวิทยาลัยรังสิต. (2560). รายชื่อนักศึกษาใหม่ที่ลงทะเบียนสำนักงานทะเบียน 2560 แหล่งที่มา: https://intranet.rsu.ac.th/SUWeb/Main.aspx (21 ธันวาคม 2560). [Intranet Rangsit University (2018). List of new students registration 2017. Retrieved : https://intranet.rsu.ac.th/SUWeb/Main.aspx , December 21, 2017.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01