นกหวีดกับบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย

ผู้แต่ง

  • แพรวพรรณ ปานนุช คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

บทบาทของสัญลักษณ์, สัญลักษณ์ทางการเมือง, นกหวีด, การเคลื่อนไหวทางการเมือง

บทคัดย่อ

        การศึกษาเรื่อง นกหวีดกับบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสัญลักษณ์นกหวีดที่ถูกนำมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทย โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ สำนักข่าวออนไลน์ นิตยสารข่าว สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มและบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแหล่งข้อมูลประเภทบุคคล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่เคยร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองกับกลุ่มประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กลุ่ม กปปส.ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า นกหวีด เป็นสัญลักษณ์ที่สามารถนำไปต่อยอดและปรับเปลี่ยนได้หลายรูปแบบจึงทำให้นกหวีดถูกนำมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองควบคู่กับแนวทางการเคลื่อนไหวของกลุ่มในหลายบทบาท เช่น การใช้แทนการโห่ร้องหรือการปรบมือ,  การใช้ในการระดมทุน, การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก, การปลุกเร้าอารมณ์และโน้มน้าวใจ, การปฏิสัมพันธ์โต้ตอบในการชุมนุม เป็นต้น

References

กาญจนา แก้วเทพและสมสุข หินวิมาน.(2551).สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.[ Kanjana Kaewthep.(2008).The stream of thinkers. Political Economy And Communication Studies. Bangkok:Parbpim Limited Partnership.]

กาญจนา แก้วเทพ ,สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์และทิพย์พธู กฤษสุนทร(2554). สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์. [Kanchana Kaewthep, Suchada Pongkittiwiboon and Thippathu Kritsunthorn (2011). Local media study from the viewpoint of communication arts. Bangkok : Parbpim Limited Partnership.]

ชลธิรา สัตยาวัฒนา .(2557).มหากาพย์ นาฏลีลา พลังมวลมหาประชาชน.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต [Chonthira Satthayawatthana. (2014). Epic poetry, dances, people power. Bangkok : Rangsit University Printing house. ]

ชาตรี ประกิตนนทการ(2558) สถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์อ่าน.[Chatree Prakitnonthakarn .(2015). Thai architecture after coup d’état on September 19th2006. Bangkok : Arn Printing House.]

มานิตย์ นวลละออ.(2540).การเมืองยุคสัญลักษณ์รัฐไทย. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองรัตน์พริ้นติ้ง [Manit Nuanla-or (1997). Politics in the era of symbolic Thai state. Bangkok: Rungruangrat Printing .]

มณีมัย ทองอยู่ (2557). แนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการทางสังคม .กรุงเทพ: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. [Maneemai Thongyoo .(2014). Sociological concepts and theories on social movements. Bangkok: Klangnana Witthaya.]

รุ่งมณี เมฆโสภณ.(2557). อำนาจ 3 สู้ไม่ถอยปรากฏการณ์มวลมหาประชาชน บันทึกหน้าใหม่ของการเมืองไทย.กรุงเทพ : บ้านพระอาทิตย์. [Rungmanee Maksophone. (2014). Power of 3-finger symbol: phenomenon of people power and new page of Thai politics. Bangkok : Ban Pra Athit.]

ประภาส ปิ่นตบแต่ง.(2552).กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพฯ ; โครงการผลิตตำราและเอกสารการสอน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[Prapas Pintoptaeng (2009). Political framework analysis based on social movement theory. Bangkok: Books and teaching media creation project, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University]

สมชัย ภัทรธนานันท์ .(2559).ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง. กรุงเทพ:อินทนิล.[Somchai Pattaranan.(2016). Social movement theory and political demonstrations. Bangkok: Intanin.]

ศุจิกานต์ วทาทิยาภรณ์.(2553). สินค้าสัญลักษณ์ในพื้นที่เคลื่อนไหวทางการเมือง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Sujikan Vatatiyaporn .(2010). A symbolic commodity of a social movement : a study of people's alliance for democracy market. (Master’s Thesis) Faculty of Political Science, Chulalongkorn University]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01