รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ

ผู้แต่ง

  • สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ, สมรรถนะ, ผู้ประกาศ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้ประกาศ  2) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ  3) พัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศโดยการใช้เว็บฝึกอบรม  มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสมรรถนะของผู้ประกาศ  ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ  และขั้นตอนที่ 3 วัดสมรรถนะของผู้ประกาศหลังการฝึกอบรมผ่านเว็บ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านวิทยุกระจายเสียง  วิทยุโทรทัศน์  และนิเทศศาสตร์ จำนวน 10 ท่าน  และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนที่ 3 คือ ผู้ที่สนใจประกอบวิชาชีพผู้ประกาศ จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา  แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ แบบประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการฝึกอบรมผ่านเว็บ แบบประเมินความเหมาะสมของเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ  และเครื่องมือวัดสมรรถนะของผู้ประกาศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ t-test

        ผลการวิจัยพบว่า

        1. สมรรถนะของผู้ประกาศ ประกอบไปด้วย ความรู้ (Knowledge) และทักษะ (Skills)  ซึ่งความรู้ มี 3 ประเด็น คือ 1) ความรู้พื้นฐานด้านการสื่อสาร  2) ความรู้ด้านจรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกาศ  และ 3) ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสืบค้นข้อมูล  ทักษะประกอบด้วย  2 ทักษะ คือ 1) ทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยและ 2) ทักษะการปรากฏตัวในสื่อ

        2. รูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ซึ่งมีการจัดระบบอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  คือ 1) แนวคิดของรูปแบบ  2) จุดประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการของรูปแบบ  ซึ่งมี 7 ขั้นคือ (1) ขั้นการสร้างแรงจูงใจ (2) ขั้นการแจ้งจุดประสงค์ (3) ขั้นการทบทวนความรู้เดิม  (4) ขั้นการนำเสนอสาระใหม่  (5) ขั้นการฝึกปฏิบัติ และให้ข้อมูลย้อนกลับ  (6) ขั้นการทดสอบความรู้และแจ้งผลการทดสอบ  และ (7) ขั้นการไตร่ตรอง / สะท้อนความคิด และวางแนวทางในการปรับปรุง และ 4) ผลที่ได้รับจากรูปแบบ

        3. ผู้เข้าอบรมใช้เว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกาศ  มีสมรรถนะด้านความรู้และทักษะหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชัชญาภา วัฒนธรรม. (2556). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บตามแนวคอนสตรัคติวิซึมสำหรับครูตำรวจตระเวนชายแดน. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [Chatchayapha Wattanathum (2013) Development of a Web-Based Training Model Using the Constructivism for the Border Patrol Police Schools. Doctor of Education (Educational Technology). Department of Educational Technology, Graduate School of Kasetsart University]

ดวงใจ พุทธเษม. (2558). รูปแบบเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถภาพด้านเทคโนโลยีการศึกษาของอาจารย์สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [Duangjai Puttasem (2015) Web - based Training Model for Developing Educational Technology Competency of Rajabhat University Instructors. Doctor of Education (Educational Technology). Department of Educational Technology, Graduate School of Kasetsart University]

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Tisana Khammani (2017) Science teaching: knowledge in order to provide an effective learning process (21st edition). Bangkok : Chulalongkorn University]

เพทาย พุ่มสุวรรณ. (2551). ประสิทธิภาพของสื่อออนไลน์ในการทดสอบเป็นผู้ประกาศทางวิทยุกระจายเสียง. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [Patry Pumsuwan (2008) Efficiency of Online Media for Radio-Announcer Tests. Department of Educational Technology, Graduate School of Kasetsart University]

มนต์ชัย เทียนทอง. (2544). “WBI (Web-Based Instruction) WBT (Web-based Training)”. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 13(37) [Monchai Tientong (2001) “WBI (Web-Based Instruction) WBT (Web-based Training)”. Journal of Technical Education Development 13,(37)]

วนิดา ตรีสวัสดิ์. (2543). การสร้างแบบฝึกหัดการพูดการอ่านทางวิทยุกระจายเสียงสำหรับนักศึกษาโปรแกรมนิเทศศาสตร์ ตามหลักเกณฑ์การสอบผู้ประกาศของ กบว. กรมประชาสัมพันธ์. งานวิจัยของโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง [Wanida Treesawat (2000) The Construction of Training Communication Art Program Students in Speaking and Reading for Broadcasting Exercise According to the Rule of the Announcer Test of Public Relations Department. Research of Communication Arts Program, Faculty of Management Science, Muban Chombueng Rajabhat University]

Ray, White. (1990). TV News. London : Focal Press Limited.

เว็บไซต์

การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของธุรกิจสื่อหลังการประมูลช่อง“ทีวีดิจิทัล”(Digital TV). (2557). ค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557. จาก http://www.catdatacom.com/th/site/news/news detail/151) [The changing face of the media business after the auction of digital TV channels (Digital TV) (2014) Retrieved : from http://www. catdatacom.com/th/site/news/news detail/151, November 9, 2014.] ]

ศศินา วิมุตตานนท์. (2557). เตรียมพร้อมเป็นผู้ประกาศข่าว-นักจัดรายการวิทยุมืออาชีพ. ค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557. จาก http://www.weloveshopping.com/shop/show_article. php? shopid=5163 &qid=13400 [Sasina Wimuttanont (2014) Prepared as a news announcer- professional radio DJ. Retrieved : http://www.weloveshopping.com/shop/show_article. php? shopid=5163 &qid=13400, October 7, 2014. ]

สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). (2557). ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล. ค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557. จาก https://broadcast.nbtc.go.th/TVDigital) [National Broadcasting and Telecommunication Commission : NBTC (2014) Digital tv channels. Retrieved : https://broadcast.nbtc.go.th/TVDigital, November 9, 2014.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01