การศึกษาปัญหาและความต้องการรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ผู้แต่ง

  • สุกฤตา หิรัณยชวลิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเอื้อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้ด้วยตนเองได้

        เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ มีประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่ใช้วิธีการถามตอบ จนนำมาสู่ผลของงานวิจัย ได้ดังนี้

        1. ปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าหรือร้านขายยาทั่วไป คือ กล่องบรรจุภัณฑ์บางกล่องมีขนาดเล็กเกินไปและใหญ่เกินไปทำให้จับไม่ถนัดถนัด ชื่อผลิตภัณฑ์อ่านยากส่งผลให้ยากต่อการจดจำเวลาไปซื้อครั้งต่อไป ตัวอักษรที่เป็นข้อมูลของผลิตภัณฑ์เล็กเกินไป มีการบีบความกว้างของตัวอักษรเป็นข้อมูลของผลิตภัณฑ์ให้แคบลงทำให้ยิ่งอ่านยาก

        2. ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเอื้อให้สามารถใช้งานได้ด้วยตนเองได้ คือ บรรจุภัณฑ์ต้องเปิดปิดใช้ง่าย มีขนาดที่กระชับมือ และจับได้ถนัด ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ควรใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ที่สั้นและอ่านง่าย ควรใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย ขนาดใหญ่ สามารถอ่านได้ชัดเจน

        3. ลักษณะการเปิดปิดบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นควรเป็นแบบ Slide เพราะสามารถดันตัวกล่องเพื่อเปิดปิดได้ ทำให้ง่ายและสะดวกต่อเปิดปิด สำหรับผู้ที่มีอาการข้อเสื่อมที่นิ้วมือจะไม่ต้องออกแรงที่ข้อนิ้วเพื่อเปิดปิดกล่อง

        4. แบบของตัวอักษรที่เหมาะสมและง่ายต่อการอ่านของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบไม่มีฐาน และตัวอักษรภาษาไทยแบบหัวตัด

        5.ขนาดของตัวอักษรที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษบนพื้นสีขาวควรมีขนาดเล็กสุด 20 pt ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาวบนพื้นสีเข้ม ควรมีขนาดเล็กสุด 20 pt ตัวอักษรภาษาไทยบนพื้นสีขาว ควรมีขนาดเล็กสุด 20 pt และตัวอักษรภาษาไทยสีขาวบนพื้นสีเข้ม ควรมีขนาดเล็กสุด 20 pt ถึงจะยังสามารถอ่านได้ 

6. ความต่างของสีตัวอักษรกับสีพื้นหลังเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60  ปีขึ้นไป คือ สีตัวอักษรกับสีพื้นหลังควรต่างกันอย่างน้อย 70% ถึงจะยังสามารถอ่านได้  โดยตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังสีดำและตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังสีเข้มที่อ่านได้ง่ายและชัดเจนที่สุด รองลงมาคือ ตัวอักษรสีดำบนพื้นหลังสีขาวและตัวอักษรสีเข้มบนพื้นหลังสีขาว รองลงมาอีกคือ ตัวอักษรสีเข้มบนพื้นหลังสีอ่อน ส่วนสีตัวอักษรกับสีพื้นที่ยังอ่านได้ง่ายและชัดเจนน้อยที่สุดคือ ตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นหลังสีดำและตัวอักษรสีอ่อนบนพื้นหลังสีเข้ม

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยด้านประชากร. กรุงเทพ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.[Office of The National Economic and Social Development. (2015). The Situation of The Elderly in Thailand Population. Bangkok : Office of The National Economic and Social Development.]

จิราภา โฆษิตวินิช. (2554). พฤติกรรมเเละการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดนครปฐมวิทยาเขตกำเเพงเเสน. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. [(Jirapa Kositwanich. (2011).Buyer Decision and Behavior on Healthy Food Supplements of Students in Kasetsart University, Kamphaengsaen Campus, Nakhon Pathom Province. Dissertation for The Degree of Master of Arts Program in Public and Private Management, Silpakorn University.]

วันทนา เอี่ยมเจริญ. (2551). การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์ยา เพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ที่มี สายตาเลือนราง กรณีศึกษาโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Wantana Eiam Charoen. (2008). Medicine Package Label for Low Vision Persons : A Case Study in The Northen School for The Blind, Chiang Mai Province. Dissertation for The Degree of Master of Arts Program in Humanities and Social Sciences, Chiang Mai University.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01