การบริหารจัดการหลักสูตรด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • ศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการหลักสูตรด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้า” ในครั้งนี้มีการวิจัยวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่ต้องการของตลาดวิชาชีพด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์ และสังคมในทศวรรษหน้า และ 2) เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาการจัดการ
และการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต

        ผู้วิจัยใช้การวิจัยผสานวิธี (mixed method) โดยใช้ วิธีการที่ 1 การวิเคราะห์เนื้อหาหลักสูตรในประเทศไทยและต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับด้าน communication studies ติดอันดับ 1 ใน 10 ของ QS world ranking และการทบทวนวรรณกรรม และวิธีการที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม คือ 1) บัณฑิต/ มหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรด้านการสื่อสาร การสื่อสารมวลชน และนิเทศศาสตร์ ในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย 4 แห่ง 2) ผู้ประกอบการ และ 3) นักวิชาการในกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่ 1)

        ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในระดับปริญญาตรี คือ มีความรู้ความสามารถการทำงานที่หลากหลาย (multi-tasking) โดยเฉพาะด้านการวางแผนกลยุทธ์ และการผลิตงานด้านสื่อประเภทต่างๆ แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม คือ การจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการการบริการวิชาการ การวิจัย และ/หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการจัดการเรียนการสอน และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงาน/ องค์กรวิชาชีพเพื่อจัดประสบการณ์/ การฝึกประสบการณ์ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน 2) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในระดับปริญญาโท คือ มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยสามารถนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยและทางวิชาการไปใช้วิเคราะห์ วางแผน และพัฒนาการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย แนวทางการจัดการเรียนการสอน คือ ส่งเสริมให้มีการนำประเด็นปัญหาของหน่วยงานองค์กรที่ปฏิบัติงานมาวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น และ 3)คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในระดับปริญญาเอก คือ มีความรู้ความสามารถทางการวิจัยและวิชาการชั้นสูงสามารถแสวงหาองค์ความรู้ทางวิชาและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางวิชาชีพได้ในระดับนานาชาติ แนวทางการจัดการเรียนการสอน คือ การส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่/ ยอมรับในระดับนานาชาติ

References

อรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2559). แนวโน้มการบริหารจัดการสื่อในทศวรรษหน้า. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [Oranuch Lertjanyark.(2015). Media Management Trends in Next Decades : Paper Research, Thammasart University.]

รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2553). ความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยงานที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิตสาขา การหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. [Rungratana Chaisamret. (2010). Opinion of Head of Department toward Journalist Communication Arts Bachelor Degree : Paper Research, Office of the Higher Education Commission.]

ประกายดาว สาริกบุตร. (2550). “การศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่หน่วยงานต้องการ” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 15 (23-24): 95 – 103. [Prakaydow Sarikaputra. (2007). The Expectation of Desired Communication Arts Bachelor Degree of Suranaree University of Technology: Research Article. Bhurapha University.]

หนึ่งฤทัย ขอผลกลาง. (2545). แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย. นครราชสีมา: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. [Nuengruthai Khorpholklang. (2002). Communication Arts Development Trends in Thailand : Paper Research, Suranaree University of Technology.]

เว็บไซต์

Postioning Magazine. (2561). เม็ดเงินโฆษณา 9 เดือน 7.8 หมื่นล้าน ทีวีครองงบเกินครึ่ง นิตยสารหนักลดลง 35%. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://positioningmag.com/1192426 สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2561

สัมภาษณ์

พรวดี สถิตยางกูร. (2557). เจ้าหน้าที่อาวุโสบริษัทบางกอกพับบลิค รีเลชั่นส์ จำกัด. การปฏิบัติงานเอเยนซีประชาสัมพันธ์. [Pornwadee Satitayangkool. (2014). Senior Account Executive, Bangkok Public Relations, Ltd.. Interview.]

ศุภกฤษ ลำไย. (2557). ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดบริษัทฟิชโช่. การปฏิบัติงานสื่อสารการตลาด. [Supakrit Lamyai. (2014). Marketing Communication Director, Fissho. Interview.]

จิรโรจน์ จิตราพัฒนานันท์. (2557). ผู้จัดการฝ่ายรายการข่าวบริษัทบางกอกบรอดคาสติง. การผลิตรายการโทรทัศน์. สัมภาษณ์. [Jirarote Jitrapattanananta. (2014). Television News Program Director, Bangkok Braodcasting Television. Interview.]

จิราพร วิทยศักดิ์พันธุ์. (2557). คณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การบริหารจัดการหลักสูตร. [Jiraporn Wittayasakpan. (2014). Dean. Mass Communication Faculty, Chiang Mai University. Interview.]

ดวงกมล ชาติประเสริม. (2557). คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การบริหารจัดการหลักสูตร. [Duang-Kamol Chartprasert. (2014). Dean. Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. Interview.]

พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2557). คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การบริหารจัดการหลักสูตร. สัมภาษณ์. [Pornthip Sampattavanija. (2018). Dean. Journalism and Mass Communication Faculty, Thammasart University. Interview.]

พัชรินทร์ ผากา. (2557). เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายรายการบริษัทบางกอกบรอดคาสติง. การผลิตรายการโทรทัศน์. สัมภาษณ์. [Patcharin Phaka. (2014). Senior Program Production Officer. Bangkok Broadcasting Television. Interview.]

พิษณุ สานสุวรรณ. (2557). ผู้ผลิตรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี. การปฏิบัติงานข่าวโทรทัศน์. สัมภาษณ์. [Pisanu Sansuwan. (2014). Thairath TV News Producer. Interview.]

ณิชานันท์ โอทาน. (2557), ผู้ช่วยผู้จัดการวางแผนสื่อบริษัท OMD. การปฏิบัติงานของเอเยนซี่โฆษณา. สัมภาษณ์. [Nichanan Otan. (2014). OMD agency Media Planner. Interview.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01