กลยุทธ์การตั้งชื่อตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • แน่งน้อย บุญยเนตร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สินค้า, กลยุทธ์

บทคัดย่อ

        รายงานการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การตั้งชื่อตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ประการ  คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบชื่อตราสินค้า และ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ใช้ตั้งชื่อตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวในประเทศไทย ปี 2559 ที่ปรากฏบนเว็บไซต์ www.thaitambon.com เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ  แนวคิดเกี่ยวกับการตั้งชื่อตราสินค้า และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการศึกษา  โดยใช้ตารางลงรหัสในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านการคัดสรรจำนวน 1,552  รายการ 

        สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

        1. รูปแบบชื่อตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวแบ่งออกเป็น4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ชื่อแหล่งผลิต แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ชื่อกลุ่มการผลิต 2) ชื่อหมู่บ้าน 3) ชื่อตำบล 4) ชื่ออำเภอ 5) ชื่อจังหวัดที่ผลิต  2. ชื่อที่กำหนด แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ชื่อภาษาไทย 2) ชื่อภาษาจีน 3) ชื่อภาษาอังกฤษ 4) ชื่อมุสลิม  5)ชื่อภาษาถิ่น  3. ชื่อสามัญของสินค้า และ4. ชื่อผู้ผลิต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ชื่อเจ้าของ 2) นามสกุลเจ้าของ 3) ชื่อและนามสกุลเจ้าของ และอาจมีการทับศัพท์หรือแปลศัพท์ชื่อตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาวเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วย

        2. ปัจจัยที่ใช้ตั้งชื่อตราสินค้า แบ่งเป็น 3 ประการ ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านสังคม แบ่งเป็น 2 ประการ ได้แก่ 1) การรวมกลุ่มของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น  2) การเป็นสังคมเกษตรกรรม  2. ปัจจัยด้านวัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ 1) วัฒนธรรมด้านภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ 1.1 ภาษาถิ่น 1.2 ภาษาต่างประเทศ 2) วัฒนธรรมด้านค่านิยม แบ่งออกเป็น 7 ประการ ได้แก่ 2.1 ค่านิยมการให้ความสำคัญกับครอบครัว 2.2. ค่านิยมยศตำแหน่ง  2.3 ค่านิยมความดีงาม เจริญรุ่งเรือง 2.4 ค่านิยมความสวยงาม ความสุข 2.5 ค่านิยมความร่ำรวย 2.6 ค่านิยมความเชื่อ ศรัทธาในศาสนา 2.7 ค่านิยมแนวความคิดเน้นจิตใจ คุณธรรม 3) วัฒนธรรมด้านศิลปะ ประเพณีและวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่น และ 4) วัฒนธรรมด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน  3.ปัจจัยด้านการส่งเสริมตลาด แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ 1) การรับรองคุณภาพสินค้า 2) การขยายตลาดสู่ระดับสากล 3) สินค้าคุณภาพประจำแหล่งผลิต  4) คุณประโยชน์สินค้า

References

กิตติ ลิ่มสกุล (2544).แนวทางการดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์.กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทยกรมพัฒนาชุมชน [Kitti Limsakul (2001).One Tambon One Product Operational guidelines. Krungthep Maha Nakhon: Ministry of the Interior,Department of Community Development]

ณัฐดาพร เลิศชีวะ(2553). การรู้จำชื่อเฉพาะภาษาไทย:การศึกษาชื่อผลิตภัณฑ์ในข่าวเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [Nattadaporn Lerdshewa(2010).Recognition Thai Specific names : case stydy , Study the product name in economic news. Master of Arts Thesis, Graduate school of Linguistic , Department of Linguistic, Chulalongkorn University.]

เสรี วงษ์มณฑา (2547).ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิสิทธิ์พัฒนา,หน้า 53-56 [Seri Wongmontha (2004).Integrated Marketing Communication.Krungthep Maha Nakhon: Visit Patthana Printing, p53-56]

อุไรพร สุขเติม(2551).การตั้งชื่อตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอไหมอีรี่.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น[Uraiporn

Sookterm (2008) Brandname for Ery Silk Product.Master of Business Administration Thesis, Graduate School of Management ,Khonkaen University)

Kevin Lane Keller (1998).Strategic Brand Management :Building ,Measuring and Manageing Brand Equity.Prentice Hall,Brandname Products. p.14

Lehrer, A. (2006) Proper Names: Semantics Aspects. In Brown, E. K., and Anderson, A. (eds), Encyclopedia of Language & Linguistics (second edition), London:Elsevier. pp.141-143.

Piller, I. (2005). Encyclopedia of Linguistics. New York: Dearborn, p724-726.

เว็บไซต์

จุฑาภัทร รัตนะธำรงพรรณ.(2555) Brand สำคัญนะ. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2555, จาก www.sme.go.th [Juthaphat Rattanadamrongbhan. (2016) The importance of Brand. Retrieved : www.sme.go.th October24, 2016]

ตราสินค้าและชื่อตราสินค้า (2559) สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2559 www.wikipedia.org. [Brandname (2016) Retrieved : www.wikipedia.org.Brand October 24,2016]

นภดล เหล่ากอ. (2555) ชุมชนเข้มแข็ง. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2017 จาก www.gotoknow.org.th [Noppadol Laukor. (2016) Strong Community. Retrieved : www.gotoknow.org.th December 25, 2017]

ภารุดารัศมิ์ เบญญจินดาพิศุทธ์.(2560) รวยด้วยชื่อ. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2017 จาก Global Brand.www.sme.co.th [Parudaras Benyajindapisut (2018) . Rich by Global . Retrieved : www.gotoknow.org.th December 25, 2017]

ยุทธศักดิ์ สุภสร.(2560) โอกาสและผลกระทบของ OTOPกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2017 จาก www.sme. go.th,[Yuttasak Suphasorn.(2018)Opportunities and effects of Otop with the entry into The ASEANE conomicCommunity. Retrieved : December 25, 2017]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01