พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเชิงประชาสัมพันธ์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์     เฟซบุ๊กเชิงประชาสัมพันธ์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร  โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 412 คนและสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน

        ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 38-52 ปี อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว รายได้ต่อเดือน 10,001-30,000 บาท และการศึกษาระดับปริญญาตรี 

        พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเชิงประชาสัมพันธ์ของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ตนเอง ลักษณะการใช้งานคือสร้างและประกาศตัวตน  เหตุผลที่ใช้คือต้องการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยแต่ละครั้ง 30 นาที – 1 ชั่วโมง และประโยชน์ที่ได้รับคือได้ทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ

        ประชาชนมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเชิงประชาสัมพันธ์ โดยรวมทุกด้าน ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=3.79)  โดยพึงพอใจมากที่สุดในด้านความทันสมัย ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=4.06)  รองลงมาคือด้านประโยชน์ทางธุรกิจ ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=3.89) และพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านความน่าเชื่อถือ ในระดับพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย=3.78)

        การทดสอบสมมติฐานพบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนที่เป็นเพศหญิงใช้เฟซบุ๊กในการสร้างและประกาศตัวตน รวมกลุ่มผู้ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน และเป็นเครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพมากกว่าเพศชาย ส่วนเพศชายใช้สร้างและประกาศผลงานรวมทั้งใช้เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคมมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05     

        การอภิปรายผลการวิจัย พบประเด็นที่น่าสนใจได้แก่  พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กของคนกรุงนั้นส่งเสริมความเป็นปัจเจกบุคคลอย่างชัดเจน, ผู้ใช้ในกรุงเทพฯพึงพอใจความทันสมัยของเฟซบุ๊ก แต่ยังไม่ค่อยให้ความเชื่อถือสื่อนี้ เมื่อใช้ในเชิงประชาสัมพันธ์, เฟซบุ๊กเสมือนดาบสองคม ควรโพสต์และแชร์อย่างมีสติ และหากใช้ในเชิงประชาสัมพันธ์ควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน

References

กิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย. (2558). เทคโนโลยีสารสนเทศในงานนิเทศศาสตร์. ในวารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (Kittisak Tripipatpornchai. (2015). Information Technology in Communication Arts. in Journal of Communication Arts Review. Volume 18, Issue 3 (Special Issue). College of Communication Arts, Rangsit University.

จิรภัทร เริ่มศรี.(2558). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คที่มีผลกระทบต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. รายงานการวิจัย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. (Jirapat Reumsri.(2015). Attitudes and behaviors of Facebook affecting university students. Sakon Nakhon Rajabhat University. Research,Communication Arts, Faculty of Management Science, Sakon Nakhon Rajabhat University.)

ปัทมาพร ประทุมถิ่น.(2549). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการ. (Patthamaporn Pathumthin.(2006). Public Relations Strategy and Image Television Station Thai TV Channel 3 and Channel 7. Master thesis, Chulalongkorn University, Faculty of Communication Arts, Development Communication.)

ปรียาภรณ์ สืบสวัสดิ์.(2551) พฤติกรรมการเปิดรับและความคิดเห็นของนักศึกษาราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อวัฒนธรรมผ่านสื่อละครโทรทัศน์เกาหลี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (Peeyaporn Seebsawad.(2008). Exposure behavior and opinions of Rajabhat students in Bangkok to the culture through Korean TV drama. Master thesis, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University.)

พภัช เชิดชูศิลป์. (2557). พฤติกรรมการใช้ไลน์ที่มีผลต่อความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม. (Papat Cheetchoosil. (2014). The use of the “line” affects the satisfaction and the Utilization of Sripathum University Student. Thesis, Master of Communication Arts, Sripathum University.)

พรทิพย์ พิมลสินธุ์.(2539). ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล. (Pornthip Pimolsin. (1996). The image is important : the public relations and the image. Bangkok : Charuenphol Printing.)

พีระ จิรโสภณ.(2539).“การเลือกสรรและการแสวงหาข่าวสาร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 11. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (Peera Jirasopon.(1996).Principles and Theories of Communication. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirach University.)

ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (Phanuwat Gongrat.(2011). A Study of Social Networking Behavior of teenage in Thailand : A Case Study of Facebook. Thesis, Master of Science, Thammasat University.)

ฤดีพร ผ่องสุภาพ. (2551). การแสวงหาข่าวสารการประชาสัมพันธ์และความพึงพอใจในการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตนักศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (Reudeeporn Pongsuparp. (2008). Information seeking about public relations and communication satisfaction through social networks of students. Thesis, Master of Communication Arts, Chulalongkorn University.

ฤทัย เตชะบูรณเทพาภรณ์.(2554). ปัจจัยทางการตลาดบนเฟซบุ๊กที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (Reuthai Tachaburanatapapon. (2011). Marketing Factors on Facebook affecting consumer purchasing and consumer decision in Bangkok. Thesis, Master of Business Administration, Bangkok University.)

วิรัช ลภิรัตนกุล.(2538).การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (Wirat Laphirattanakul. (1995). Public Relations. 7th edition. Bangkok : Chulalongkorn University publisher.)

เว็บไซต์

พจน์ใจ ชาญสุขกิจ. (2553). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์. วันที่สืบค้น 1 ธันวาคม 2560, เข้าถึงได้จาก

http://www.drphot.com/images/ journal/2553/corporate_communication/external/Article%20PRbook4.pdf [Pojjai Charnsookgij.(2009) Innovation of Public Relations. retrieved : January 3, 2016 .from http://www.drphot.com/images/journal/2553/corporate_communication/external/Article%20PRbook4.pdf ]

พุทธวรรณ แก้วเกตุ. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์. วันที่สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2560, เข้าถึงได้จาก http://phutthawan.blogspot.com [Phuttawan Keawket.(2011) Social Network. retrieved : January 3, 2016. From http://phutthawan.blogspot.com ]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01