นวัตกรรมวารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นของสื่อมวลชนไทย
คำสำคัญ:
วารสารศาสตร์, นวัตกรรม, วารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์, ดิจิทัลดิสรัปชั่น, สื่อมวลชนไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานด้านวารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ ค้นหาและวิเคราะห์รูปแบบและลักษณะการสื่อสารใหม่ของนวัตกรรมการสื่อสารเชิงวารสารศาสตร์ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับให้งานวารสารศาสตร์ของสื่อมวลชนไทยสู่นวัตกรรมวารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกที่มีแนวทางแบบกึ่งมีโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างนักวิชาการ นักวิชาชีพและประชาชนผู้บริโภคสื่อด้านวารสารศาสตร์ จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเพื่อนำเสนอในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนาหรือพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า งานด้านวารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นของสื่อมวลชนไทยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่ามีลักษณะโดยทั่วไปคือ ควรเน้น“ข้อเท็จจริงที่รวดเร็วและถูกต้องน่าเชื่อถือ”โดย ทุกสิ่งต้องมาพร้อมกัน ส่วนลักษณะเฉพาะที่เด่นเป็นพิเศษคือวารสารศาสตร์เชิงข้อมูล การเน้นการแจ้งข้อมูลข่าวสารควรเป็น“ข่าววิถีปกติใหม่”ที่ต้องใช้ภาษากระชับและชัดเจนอย่างแท้จริง การหลอมรวมสื่อวารสารศาสตร์ควร“หลอมรวมเชิงเป้าหมาย”เป็นการหลอมรวมข่าวเพื่อสังคมไม่ใช่ข่าวเชิงปริมาณ ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ในงานวารสารศาสตร์ควรเป็นการคิดประเด็นข่าวและรายงานข่าวจาก“ประโยชน์ของสังคม”มากกว่าความสนใจของสังคม การพลิกผันทางดิจิทัลหรือการเคลื่อนย้ายสู่ดิจิทัลแพลทฟอร์มนั้นส่งผลให้เกิดข่าวสังคมออนไลน์ 4.0 อย่างชัดเจน และการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในงานวารสารศาสตร์ควรใช้เทคโนโลยีเครื่องกลลอยฟ้าไร้คนขับ (โดรน) รวมทั้งควรใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือในการรายงานข่าวที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
การค้นหาและวิเคราะห์นวัตกรรมวารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นของสื่อมวลชนไทยนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ควรสร้างแอพพลิเคชั่นที่ช่วยป้องกันข่าวปลอมนวัตกรรมเชิงกระบวนการควรเป็นลักษณะวารสารศาสตร์หลอมรวมโดยผู้บริโภคสื่อควรมีความกระตือรือร้นในการขับเคลื่อนข้อมูลข่าวสารไปร่วมกับนักวารสารศาสตร์ด้วย นวัตกรรมเชิงตำแหน่งควรเป็นลักษณะการเปลี่ยนตำแหน่งจากเดิมที่เป็นองค์กรข่าวที่ถูกต้องน่าเชื่อถือปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรข่าวที่รวดเร็วและถูกต้องน่าเชื่อถือนวัตกรรมเชิงกระบวนทัศน์ควรเปลี่ยนกรอบความคิดหรือกระบวนทัศน์จากการเน้นข่าวหนังสือพิมพ์และข่าวโทรทัศน์เปลี่ยนเป็นรูปแบบข่าวออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ และนวัตกรรมเชิงสังคมควรเป็นนวัตกรรมที่สื่อวารสารศาสตร์มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นเป็นวารสารศาสตร์เชิงสังคมที่เน้นนำเสนอข่าวเพื่อช่วยเหลือคนในสังคมที่เดือดร้อน
การพัฒนาและยกระดับให้งานวารสารศาสตร์ของสื่อมวลชนไทยสู่นวัตกรรมวารสารศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าควรเน้นพัฒนาเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่บนแพลทฟอร์มใด โดยเนื้อหาควรมีลักษณะ“เนื้อหาสาระเชิงสร้างสรค์” จึงจะไม่ถูกดิสรัปจากเทคโนโลยีดิจิทัล และการยกระดับควรเน้นการสร้าง“การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง”ให้ประชาชนผู้บริโภคสื่อวารสารศาสตร์ขยายพรมแดนแห่งการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อทั้งในโลกยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นในปัจจุบันและโลกอนาคตให้ได้
References
ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ.(2556). หลักการสื่อสารมวลชน. ปทุมธานี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล.(2562).วารสารศาสตร์ยังไม่ตาย? : สำรวจชีพจรนักสื่อสารมวลชน กับ รุจน์ โกมลบุตร. เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562 เข้าถึงได้จาก https://www.the101.world/ruj-komolbut-interview/
มาลี บุญศิริพันธ์.(2557).วารสารศาสตร์เบื้องต้น : ปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรวุฒิ ภักดีบุรุษ.(2560).นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการจัดการแบรนด์องค์กรของธนาคารพาณิชย์ไทย.วารสารนักบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560.
วิโรจน์ ศรีหิรัญ.(2561).เอกสารประกอบการสอน รายวิชา JRC1202 การสื่อข่าวและการเขียนข่าว.สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศุภกิจ แดงขาว.(2557).นวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดค่านิยมของคนไทย 12 ประการ ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ.(2562).ดิจิทัลดิสรัปชั่น เพิ่งจะเริ่มต้น. ผู้จัดการออนไลน์ 6 มกราคม 2562.สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 เข้าถึงได้จาก
https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000001581
สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และจักรกฤษ เพิ่มพูล,บรรณาธิการ.(2557).หลักและแนวคิดวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. กรุงเทพฯ : สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.
สุทธิชัย หยุ่น.(2555). 15 ปี สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ยุคสื่อหลอมรวม. กรุงเทพฯ : สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.
สุทธิชัย หยุ่น. (2562). เปิดใจ“สุทธิชัย หยุ่น”ในวันที่ไม่หวั่นถูก Disruption.เผยแพร่เมื่อ 29 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. เข้าถึงได้จาก
https://www.brandbuffet.in.th/2019/05/suthichai-yoon-in-disruption-era/
เอกพล เธียรถาวร.(2559). วารสารศาสตร์ข้อมูลกับการรายงานข่าวของสื่อไทย ใน วารสารร่มพฤกษ์มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2559.
Gardner, H. (2006). Five mind of the future. Boston: Harvard Business School Publishing.
McQuail, D. (1994). Mass Communication Theory: An Introduction.(Third edition) London: Sage Publication.
Scannell, P. (2007). Media and communication. London: Sage.
Storsul, T. and Krumsvik, A. H. (Eds.).(2013).Media Innovation A Multidisciplinary Study of Change. Goteborg: Nordicom.