การประกอบสร้างมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่สะท้อนผ่านงานสารคดีทางสื่อออนไลน์
คำสำคัญ:
มโนทัศน์, สุวรรณภูมิ, รายการสารคดี, สื่อออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึง 1) มโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่สะท้อนผ่านงานสารคดีทางสื่อออนไลน์ 2) วิธีการประกอบสร้างมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่สะท้อนผ่านสัญลักษณ์ภาพ โวหารของภาพและบทบรรยาย ความเป็นนาฏลักษณ์และภาษาภาพเชิงเทคนิคในงานสารคดีทางสื่อออนไลน์ แนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย แนวคิดเรื่องสุวรรณภูมิ แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยาและโวหารของภาพ แนวคิดการสร้างสรรค์งานสารคดีและแนวคิดภาษาภาพเชิงเทคนิค การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ตัวบทงานสารคดีโทรทัศน์รายการ “มหัศจรรย์สุวรรณภูมิ” จำนวน 16 เรื่อง ได้รับการออกอากาศผ่านสถานีไทรทัศน์ไทยพีบีเอส และเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ช่องทาง Youtube ในช่วงปีพ.ศ.2553-2559 ผลการวิจัยได้นำเสนอตามประเด็นปัญหานำวิจัยได้ดังนี้
1. มโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่สะท้อนผ่านงานสารคดีทางสื่อออนไลน์ประกอบด้วย ก) สุวรรณภูมิเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ข) สุวรรณภูมิเป็นดินแดนแห่งศิลปะและวัฒนธรรม ค) สุวรรณภูมิเป็นดินแดนแห่งทองคำ ง) สุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จากการเกษตรกรรม จ) สุวรรณภูมิเป็นดินแดนศูนย์กลางการค้ามาแต่โบราณ ฉ) สุวรรณภูมิเป็นดินแดนแห่งสัญลักษณ์และพิธีกรรมเนื่องในศาสนาพราหมณ์
2. วิธีการประกอบสร้างมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่สะท้อนผ่านสัญลักษณ์ภาพ โวหารของภาพและบทบรรยาย ความเป็นนาฏลักษณ์ และภาษาภาพเชิงเทคนิคในงานสารคดีทางสื่อออนไลน์ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 2.1) สัญลักษณ์ภาพ 2 ประเภทได้แก่ ก) สัญลักษณ์ภาพที่มีอยู่โดยธรรมชาติได้แก่ พระอาทิตย์ ลูกโลก รังไหม และทุ่งข้าวสีทอง ข) สัญลักษณ์ที่ได้รับการสร้างขึ้นได้แก่ แผนที่ วัตถุสิ่งของที่ผลิตขึ้นจากทองคำ 2.2) โวหารของภาพและคำบรรยายประกอบด้วย ก) ปฏิปุจฉา ข) การอุปมานิทัศน์ ค) อุปลักษณ์ ง) สัมพจนามัย จ) การอ้างถึง 2.3) ความเป็นนาฏลักษณ์ และภาษาภาพเชิงเทคนิคพบว่า ความหมายแฝงที่ได้รับการสื่อสารมี 4 ประเด็นคือ ก) การสื่อความเก่าแก่ของอารยธรรมสุวรรณภูมิ ข) ความมั่งคั่งร่ำรวยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ ค) มายาคติ ความเร้นลับในดินแดนสุวรรณภูมิ ง) การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินสุวรรณภูมิโดยมีองค์ประกอบด้านภาษาภาพเชิงเทคนิคเพื่อสื่อความหมายแฝงประกอบด้วย ก) การสื่อผ่านสีในเชิงจิตวิทยา
References
กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. (2559). “มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท”. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9 (1), 1,099-1,116.
กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพ ฯ: ภาพพิมพ์.
กานชาติ เรืองรัตนอัมพร. (2561). “การศึกษาประโยชน์และข้อควรคำนึงในการประยุกต์ใช้แนวทางภาพถ่ายศิลปะร่วมสมัยกับงานสารคดีในไทย”. วารสารศาสตร์. 11 (3), 52-101.
“โครงการภูมิอารยธรรมสุวรรณภูมิ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ”. (2561). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561, สืบค้นจาก :https:// suvarnabhumi.gistda.or.th.
ธีรภาพ โลหิตกุล. (2552). กว่าจะเป็นสารคดี. กรุงเทพฯ: อ่านเอาเรื่อง.
ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2546). สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ผาสุข อินทราวุธ. (2548). สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
มาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2547). การเล่าเรื่องของภาพยนตร์ตลกไทยยอดนิยมชุด บุญชู กับการสร้างสรรค์ของผู้กำกับภาพยนตร์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
อานิก ทวิชาชาติและกฤษณ์ ทองเลิศ. (2557). “การสื่อสารคุณค่าสีกายที่สะท้อนผ่านจิตรกรรมฝาผนังเนื่องในพุทธศาสนาในประเทศไทยและศรีลังกา”. นิเทศศาสตรปริทัศน์. 17 (2), 204-212.
สมสุข หินวิมาน. (2535). “แนวทางการวิเคราะห์ความหมายและอุดมการณ์ในงานสื่อสารมวลชน”. นิเทศศาสตรปริทัศน์. 1 (1), 45-55.
Barthes, R. (1999). Image Music Text. Translated by Stephen Heath. 21st ed. New York: Hill and Wang.
Lacey, Nick. (1998). Image and representation: Key concepts in Media Studies. London: Macmillan Press.