การปรับตัวทางด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมของชาวไทย ที่อาศัยอยู่ในเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ชุดา ชูตระกูล คณะวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การปรับตัว, การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปรับตัวและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการการปรับตัว ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการปรับตัวทางด้านการสื่อสารและวัฒนธรรมของชาวไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ใช้ระเบียบการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งใช้ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ และประกอบกับการดำเนินการสังเกตการณ์ของผู้วิจัยจำนวน 6 เดือน โดยผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นชาวไทยที่อาศัยอยู่ในออกซ์ฟอร์ดประเทศอังกฤษ


        กระบวนการการปรับตัวแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การปรับตัวผู้ไปอยู่ในระยะสั้น ได้แก่ กลุ่มนักเรียนภาษา กลุ่มนักเรียน/นักศึกษามหาวิทยาลัย โดยในช่วงแรกมีความตระหนกในวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับช่วง Honeymoon State ของ Young Yun Kim จนทำให้ตนเองมีความรู้สึกไม่ดี และเข้าสู่ช่วงการทำใจยอมรับ สุดท้ายเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการความคิดและพฤติกรรมในที่สุด ส่วนการปรับตัวของผู้ไปถาวร คือ กลุ่มคนทำงาน/บุคคลที่แต่งงานกับชาวอังกฤษ เริ่มจากความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับวัฒนธรรมที่ไม่คุ้นเคยและก่อให้เกิดการปรับตัว โดยยังคงลักษณะของวัฒนธรรมไทยไว้ เช่น การไปวัด การประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีไทยต่าง ๆ ในออกซ์ฟอร์ด และการได้รับการสนับสนุนจากชาวออกซ์ฟอร์ด จนเกิดการปรับตัวที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมเจ้าบ้านได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวแบ่งเป็น 6 มิติ คือ 1)ความสามารถในการสื่อสาร การเข้าใจในภาษาอังกฤษที่ใช้ร่วมกัน โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ กับชาวออกซ์ฟอร์ด 2)ปัจจัยการสื่อสารระดับสังคมของเจ้าบ้าน การมีส่วนร่วมในสังคมในออกซ์ฟอร์ดและการเข้าถึงสื่อท้องถิ่นของคนไทย 3)การสื่อสารระดับสังคมของชาติพันธุ์เดียวกัน โดยตั้งกลุ่มชมรมไทยในออกซ์ฟอร์ด หรือการจัดเทศกาล Thai Festival เป็นต้น 4)สิ่งแวดล้อม ได้แก่ การต้อนรับที่ดีของชาวออกซ์ฟอร์ด และการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับชาวไทยผู้มาเยือน 5)การมีใจโน้มเอียง การเตรียมความรู้ ความพร้อมทางด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ เช่น การศึกษาภาษาอังกฤษ 6)ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมของชาวออกซ์ฟอร์ด ด้านปัญหาและอุปสรรค 1)ความรู้และความคิด เช่น กรณีการไม่เข้าใจหรือไม่รู้ภาษาอังกฤษ เช่น คำพูด คำแสลง มุขตลก สำเนียง เป็นต้น 2)ทัศนคติและความรู้สึก เช่น การดำรงชีวิตที่แตกต่างกันของชาวออกซ์ฟอร์ดและชาวไทยทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อวัฒนธรรมที่แตกต่าง และ 3)พฤติกรรมการหลบเลี่ยงในการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การไม่พยายามปรับตัวให้สามารถร่วมกับผู้อื่นได้ หรือการยึดติกับความเชื่อเดิมของชาวไทย

References

กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ. (พฤศจิกายน 2561). สถิติจำนวนคนไทยในต่างประเทศ ปี 2559. สืบค้น1 เมษายน 2561 จาก http://www.consular.go.th/main/contents/files/services-20171004-135645-183372.pdf

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). วัฒนธรรมสื่อสาร เพื่อสานสร้าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ, กิตติ กันภัย, และ ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2543). มองมุมใหม่ มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. ( 2551) บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 20 (65), 42-51.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐานข้อมูลประชากร. (เมษายน 2561). การย้ายถิ่น. สืบค้น 1 เมษายน 2561 จาก http://www.cps.chula.ac.th/ cps/research_division/theory/t_migration.html

ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2547). แนวคิดคนพลัดถิ่นกับการศึกษาชาติพันธุ์: ในว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน) .

ณงลักษณ์ จารุวัฒน์ และ ประภัสสร วรรณวถิตย์, ผู้แปล. (2551). เปิดโลกนิวมีเดีย และการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบ๊คส์.

ดรุณี ชวชาติ. ( 2515). Intercultural Communication. นิเทศสาร, 1 (6), 19-26

เดชา นันทพิชัย. ( 2541). การศึกษาของประเทศอังกฤษ: ข้อสังเกตเมื่อแรกเยือน. วารสารศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง, 6 (2), 50-55.

ธิดาพร ชนะชัย. (2550). New Media Challenges: Marketing Communication Through New Media. สืบค้น10เมษายน 2561 จาก (http://commarts.hcu.ac.th/images/)

นพวรรณ โชติบัณฑ์ และ ดุษฎี โยเหลา. (2541). ทำไมจึงทำวิจัยแบบข้ามวัฒนธรรม. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 4 (1), 29-45.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2534). บทบาทของการสื่อสารต่อองค์การและการบริหาร. วารสารนิเทศศาสตร์, 12, 119-127.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการ และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พสนันท์ ปัญญาพร. (2555). แนวคิดเกี่ยวกับสื่อใหม่ (New Media) สืบค้น1 เมษายน 2561 จาก http://photsanan.blogspot.com/2012/03/new-media.html

พัชรา เอื้ออมรวนิช. (ม.ป.ป). บทความวิชาการการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. สืบค้น 20 มิถุนายน 2560 จาก http://gs.rmu.ac.th/rmuj/myfile/intercultural %20communication.doc

มนต์ชัย ผ่องศิริ และ มณีมัย ทองอยู่. (พฤษภาคม-สิงหาคม 2556). คนเข้าเมืองทั่วไปหรือ

คนพลัดถิ่น?: การต่อรองนิยามตัวตนของไทยพลัดถิ่นในสังคมไทย. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 9 (2), 1-24.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2536). ลักษณะและปัญหาการสื่อสารต่างวัฒนธรรมของบรรษัทนานาชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). ปริบทการสื่อสาร: ระดับบุคล กลุ่ม องค์กร และสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนา เจริญยงค์. (2535). ปัจจัยด้านการสื่อสาร ที่มีผลต่อการส่งเด็กเข้ามาทำงานในเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). ศูนย์การศึกษาการย้ายถิ่นมหิดล. สืบค้นจาก www.ipsr.mahidol.ac.th

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน. (ตุลาคม 2560). ข้อมูลสถิติจำนวนคนไทยที่พำนักอยู่ในสหราชอาณาจักร ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://www.consular.go.th/main/ contents/ files/thai-people-20180118-161351-558254.pdf

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน. ( 2549). ข้อมูลสมาคม ชนรมคนไทยและวัดไทยในสหราชอาณาจักร. สืบค้น10 เมษายน 2561 จาก http://www.thaiembassyuk.org.uk/?q=node/25

สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2551). บทความวิชาการการสื่อสารเพื่อสร้าง ธำรงรักษา และต่อรองอัตลักษณ์ “ความเป็นมอญ” ของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในประเทศไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์. สืบค้น17 เมษายน 2561 จาก http://xa.yimg.com/kq/groups/21117649/1672061875/name/% C3%8B%C2%AD%C3%94%C2%A7%C3%8A%C3%98%C2%A8%C3%94%C2%B5%C3%83%C3%92prop%C2%BA%C2%B71final.doc

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (ม.ป.ป). พัฒนาการสื่อใหม่ (New Media) : อิทธิพลภาษาดิจิตอลต่อรูปแบบการสื่อสารของมนุษยชาติและผลกระทบต่อจริยธรรมสื่อ. สืบค้น19 เมษายน 2561 จาก http://utcc2.utcc.ac.th /localuser/amsar/PDF/New%20Media.pdf

เสนาะ ติเยาว์. (2541). การสื่อสารภายในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Barret, M. I. (2004). Cross-Communication Adjustment and Intergration of Western Expatriate Womem in Bangkok. (Master’s thesis). Chulalongkorn University, Faculty of Arts Program in Southeast Asians Studies (Inter-Department).

Cochrane, S. (2010). A Comparative Study on Socio Cultural Adaptation of Foreign Students on International Programmes at Raffles Design Institute. (Master’s thesis). King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, Faculty of Arts in English for Business and Industry Communication Department of Language.

Gudykunst, W. B., & Kim, Y. Y. (1997). Communicating with strangers: An approach to intercultural communication. New York: McGraw-Hill.

Keats, D. M. (1997). Why Cross-Cultural? (Workshop on Cross-Cultural Research in Behavioral Sciences). University of Newcastle.

Kim, Y. Y. (1984). Searching for creative integration. In W. B. Gudykunst & Y. Y. Kim (Eds.), Methods for intercultural communication research. Beverly Hills: Sage.

Kim, Y. Y. (1989). Handbook of International and Intercultural communication. Newbury Park: Sage Publishing.

Kim, Y. Y. (2001). Becoming Intercultural: An integrative theory of communication and cross-cultural adaptation. California: Sage Publication.

Kim, Y. Y., & Gudykunst, W.B. (Eds.). (1988). Theories in intercultural communication. Beverly Hills: Sage Publication.

Neuliep, J. W.. (2006). Intercultural Communication: A Contextual Approach. California: Sage Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01