การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กในการสำรวจตรวจสอบพื้นที่ และทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม โดยชุมชนมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • รัฐพล พรหมมาศ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การถ่ายภาพทางอากาศ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่งการประยุกต์นำอากาศยานไร้นักบินในการถ่ายภาพมุมสูงเพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สองเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่ และตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ และสามสร้างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเลือกพื้นที่ บ้านแม่ปาน และบ้านดอยสันเกี๋ยง ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม เป็นพื้นที่ในการทำการวิจัย โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้คือ 1) ทำการลงพื้นที่ พบปะชุมชนใช้การเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริบทชุมชน 2) เลือกพื้นที่ ๆ มีความเหมาะสมสำหรับการใช้เป็นพื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูลโดยให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ความพร้อมและการให้ความร่วมมือของชุมชน 3) เก็บข้อมูลด้วยจัดเวทีชุมชน 4) ทำการกำหนดจุดที่จะบันทึกภาพ เพื่อประเมินความเสี่ยงเชิงเทคนิค 5) ทำการบินบันทึกภาพในแนวดิ่งตามโปรแกรมทีได้กำหนดไว้ นำผลงานภาพมาทำการประมวลผลจัดทำร่างแผนที่ดินเบื้องต้น 6) นำร่างแผนที่ดินเพื่อมอบให้กับชุมชนทำการเขียนเส้นขอบเขตพื้นที่ดินของแต่ละบุคคล 7) บันทึกภาพถ่ายทางอากาศในแบบทัศนมิติ ตามพิกัดที่ชุมชนมีความต้องการให้ทำการบันทึกภาพและจัดพิมพ์ภาพ 8) จัดทำเวทีเสวนาร่วมกับชุมชน ระดมความคิดเห็นจากชุมชน นำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์


        ผลจากการวิจัย คือการถ่ายภาพมุมสูงเพื่อจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็กหรือที่เรียกกันว่าโดรนนั้น มีต้นทุนในการสร้างสรรค์ผลงานที่ต่ำกว่าการจัดทำแผนที่ด้วยวิธีการอื่นๆ ภาพแผนที่ ๆ ได้มีความเป็นปัจจุบัน สามารถมองเห็นถึงรายละเอียดระดับภาคพื้นดินได้ดี และสามารถประยุกต์ใช้กับฐานข้อมูลสารเทศภูมิศาสตร์ได้ สำหรับในมิติการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนนั้น โดรนนับเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการจัดการและวางแผนเพื่อการพัฒนาชุมชน ได้ในหลากหลายมิติ ทั้งในด้านการนำภาพถ่ายทางอากาศมาใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการเกษตร การวางแผนด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ การสำรวจติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของทรัพย์กรธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วมีข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน ภาพถ่ายที่บันทึกได้สามารถนำมาประกอบการจัดทำแผนที่รายละเอียดสูง นอกจากนี้ภาพในมุมมองแบบทัศนมิติ ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สำหรับการท่องเที่ยวให้กับชุมชนได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้ยั่งยืนได้ด้วยตนเอง

References

กรมที่ดิน. (2562). การปฏิบัติงานอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2562, แหล่งที่มา https://www.dol.go.th.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2562). หลักการอ่าน แปลตีความภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่. วันที่เข้าถึงข้อมูล 26 สิงหาคม 2562, แหล่งที่มา http://portal.dnp.go.th.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องการใช้และการเสริมความเข้มแข็งแก่การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน : การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

จักรพงษ์ ไชยวงศ์ และสุวิมล พุทธจรรยาวงศ์. (2552). การมีส่วนร่วมในระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนบนพื้นที่ลุ่มน้ำบ้านเอียก ต.สะลวง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่. กรุงเทพฯ. รายงานการวิจัย.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ผณินทรา สุนทรหฤทัย. (2556). การศึกษาและการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูงจากกล้องถ่ายภาพทางอากาศ UltraCamLp ในพื้นที่อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์. กรุงเทพฯ. รายงานการวิจัย.ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ (ศวอ.ทอ.) กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม.

เวทิต ทองจันทร์. (2559). การสร้างสรรค์งานภาพถ่ายทางอากาศ สำหรับภาพยนตร์โฆษณาอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยสยาม.

วนิดา พรไพบูลย์. (2552). คำอธิบายที่ดิน ป่าไม้ เอกสารสิทธิในที่ดิน และการตรวจพิสูจน์สิทธิในที่ดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ. อินเตอร์บุ๊คส์.

วิชาญ ทุมทองและคณะ. (2555). ระบบสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับการทำแผนที่ชุมชน. จันทบุรี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

วิภารัตน์ อัมพะวัน. (2561). การศึกษาเทคนิคการประมาณสภาพกายภาพต้นยางพาราจากข้อมูลอากาศยานไร้คนขับ. พิษณุโลก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมเกียรติ มีธรรม. (2558). ป่าไม้ที่ดินแม่แจ่ม: ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และทางออก. วันที่เข้าถึงข้อมูล 1 สิงหาคม 2562, แหล่งที่มา : https://prachatham.com/article_detail.php?id=281.

สำนักงานที่ดินส่วนแยกแม่แจ่ม. (2556). จำนวนพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ในอำเภอแม่แจ่ม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 16 สิงหาคม 2562, แหล่งที่มา : http://www.chiangmai-dol.com.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. (2557). พื้นที่ป่าแม่แจ่ม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 11 มีนาคม 2562,แหล่งที่มา http://www.chiangmai.doae.go.th/.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 26 กุมภาพันธ์ 2562, แหล่งที่มา https://gistda.or.th/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01