การจัดวาระข่าวสารของวารสารกองทัพไทย กับพฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของข้าราชการทหาร สังกัดกองบัญชาการกองทัพ
คำสำคัญ:
การจัดวาระข่าวสาร, พฤติกรรมการเปิดรับ, การใช้ประโยชน์, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เข้าใจถึงการจัดวาระข่าวสารวารสารกองทัพไทยของคณะผู้จัดทำวารสารกองทัพไทย และ 2) เข้าใจถึงพฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจที่มีต่อวารสารกองทัพไทยของข้าราชการทหาร สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งวิธีวิทยาการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึกคณะผู้จัดทำวารสารกองทัพไทย ได้ผลสรุปว่า การจัดวาระข่าวสารของวารสารกองทัพไทย มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ คณะผู้จัดทำวารสารกองทัพไทย ผู้รับสาร และผู้กำหนดนโยบายหรือคณะผู้บังคับบัญชา โดยคณะผู้จัดทำวารสารกองทัพไทยแสดงบทบาทเสมือนสื่อมวลชน ทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกหรือกำหนดประเด็นเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ ทั้งยังทำหน้าที่เป็นผู้เฝ้าประตูข่าวสาร คอยควบคุมการไหล และตัดสินใจในการคัดกรองข้อมูลข่าวสารก่อนเผยแพร่สู่สาธารณชน
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจพฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์จากวารสารกองทัพไทย และความพึงพอใจที่มีต่อวารสารกองทัพไทยของข้าราชการทหาร สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสูง โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่อ่านแต่ละครั้ง 11 - 15 นาที และมีความถี่ในการอ่านมากที่สุด คือ 3 เดือน/ครั้ง รวมถึงมีการใช้ประโยชน์จากการอ่านวารสารกองทัพไทยในภาพรวมระดับมาก โดยได้ทราบข้อมูลข่าวสารด้านการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์การปลุกจิตสำนึกในการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งได้ทราบข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาและการช่วยเหลือประชาชน ส่งผลให้มีความเชื่อมั่นในความพร้อมของกองทัพ มากที่สุด ตลอดจนมีความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เกี่ยวกับภาพประกอบปกหน้าของวารสารมากที่สุด
สรุปผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นข้าราชการทหารสังกัด กองบัญชาการกองทัพไทยมีพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร โดยมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากวารสารกองทัพไทย และมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อวารสารกองทัพไทย
References
กฤษณะ แสงจันทร์. (2558). การกำหนดวาระประเด็นดาราผู้มีชื่อเสียงผ่านข่าวบันเทิงโทรทัศน์ (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/
กองบัญชาการกองทัพไทย. (2560). ก้าวสู่ปีที่ 59 กองบัญชาการกองทัพไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เมจิก แอนด์ พิคเซลเวิคส์ สตูดิโอ จำกัด.
กองบัญชาการกองทัพไทย. (2562). วารสารกองทัพไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) จำกัด.
กานต์ระพี พูลพิพัฒน์. (2556). ความต้องการข่าวสาร การเปิดรับข่าวสาร และการใช้ประโยชน์ ข่าวสารด้าน การศึกษาจากเว็บไซต์การศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร (Master’s Thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLis).
จิตระพี บัวผัน. (2554). การวิเคราะห์การจัดวาระและเนื้อหาของการนำเสนอข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://digi.library.tu.ac.th/
ชนภัทร ธีระพิริยะกุล. (2552). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และความต้องการข่าวสารด้านกำกับดูแลกิจการที่ดีของพนักงาน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://library.tu.ac.th/
ณัฐกฤตา เซ็นเสถียร. (2557). ความต้องการข่าวสาร การเปิดรับ และการใช้ประโยชน์ของผู้ใช้ เว็บไซต์ด้านความงาม (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/
ทิตยา เปลี่ยนเฉย. (2553). หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการกำหนดวาระข่าวสารด้านสิทธิพลเมือง (Master’s Thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLis).
นพวงษ์ มังคละชน. (2551). วาระข่าวสารและทิศทางเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายประชานิยม ที่ นำเสนอผ่านหนังสือพิมพ์ในยุครัฐบาลทักษิณและหลังรัฐบาลทักษิณ (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/
นฤมล อนุศิริกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานใน บริษัท เทอร์โบ การเมนท์ จำกัด (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://it.nation.ac.th/
ผกาพรรณ หะรังษี. (2549). การกำหนดวาระสารในชุมชนออนไลน์ www.pantip.com กรณีศึกษา โต๊ะเฉลิมไทยและโต๊ะราชดำเนิน (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://library.tu.ac.th/
พรทิพย์ ชนะค้า. (2554). การกำหนดวาระข่าวสารออนไลน์กับการก่อตัวของสาธารณมติในสังคมไทย (Doctoral dissertation). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/
พิมพ์มาดา จิรเศวตกุล. (2553). พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อละครซิทคอม (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://library.tu.ac.th/
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง นายทหารรับราชการ. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 212 ง ประกาศใช้ 1 กันยายน 2561.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
สุปราณี เทียนเล็ก. (2551). พฤติกรรมการอ่าน การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือธรรมะประยุกต์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://library.tu.ac.th/
สุปรียา กลิ่นสุวรรณ. (2552).การกำหนดวาระข่าวสารทางการเมืองในกลุ่มบล็อกโอเคเนชั่น (Master’s Thesis). สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง.
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร และคณะ. (2557). ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสารสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (หน่วยที่ 11-15 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรมและสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอี่ยม ฉายางาม และคณะ. (2546). เอกสารสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (หน่วยที่ 9-15 พิมพ์ครั้งที่ 20). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
McCombs, M. (2013). The Agenda-Setting Role of the Mass Media in the Shaping of Public Opinion. Retrieved from https://www.infoamerica.org/documentos_pdf/mccombs01.pdf