รูปแบบและพฤติกรรมการรับข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย

ผู้แต่ง

  • ปริวัตร บุพศิริ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

เฟซบุ๊ก, ข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก, ข่าวปลอม, พฤติกรรมการรับข่าว, เจเนอเรชั่น

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษารูปแบบของข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก 2.เปรียบเทียบพฤติกรรมการรับข่าวปลอมของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย 3.เปรียบเทียบพฤติกรรมการตอบสนองของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย 4.ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับข่าวปลอมและพฤติกรรมการตอบสนองต่อข่าวปลอม เป็นงานวิจัยที่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การเก็บแบบสอบถาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับข่าวและการตอบสนองต่อข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย จำนวน 423 คน ซึ่งกลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย ที่มีช่วงอายุระหว่าง 39-59 ปี (เกิดระหว่าง พ.ศ. 2504–2524) และช่วงอายุระหว่าง 15–38 ปี (เกิดระหว่างพ.ศ. 2525–2548) โดยเริ่มเก็บระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนที่ 2 เก็บข้อมูลลักษณะข่าวปลอมจากเฟซบุ๊ก ที่พบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563ผู้วิจัยเลือกแหล่งข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลหลายแหล่ง เช่น 1.เว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ทำการแก้ไขหรือนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอมที่ปรากฏบนเฟซบุ๊ก เช่น เฟซบุ๊กแฟนเพจ Drama-addict, อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฏ์, Anti-Fake News Center Thailand, หมอแล็บ แพนด้า เป็นต้น 2.เว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจของสำนักข่าวที่เป็นทางการ เช่น เฟซบุ๊กแฟนเพจ สำนักข่าวไทย ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท ,Thairath – ไทยรัฐออนไลน์ ของไทยรัฐทีวี หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เฟซบุ๊กแฟนเพจ Ch7HD News ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ,เฟซบุ๊กแฟนเพจ ข่าวสด ของหนังสือพิมพ์ข่าวสด เป็นต้น จากนั้นนำมาจําแนกประเภทและรูปแบบเนื้อหาของข่าวปลอม จากนั้นนําข่าวปลอมที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)โดยละเอียด ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มากกว่าครึ่งหนึ่งมีอายุระหว่าง 15-38 ปี เป็นกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย เกิดระหว่าง พ.ศ. 2525–2548 ส่วนใหญ่โสด การศึกษาระดับปริญญาตรี และประกอบอาชีพข้าราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นส่วนใหญ่ มีพฤติกรรมการรับข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กอยู่ในเกณฑ์ “มาก” โดยพฤติกรรมการรับข่าวปลอมของกลุ่มตัวอย่าง จะต้องตรวจสอบความสมเหตุสมผลก่อนแสดงความเห็น กดไลก์ และแชร์ และเชื่อถือข่าวที่มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนก่อนจะรับข่าว ส่วนพฤติกรรมการตอบสนองต่อข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ “น้อย” กลุ่มตัวอย่างยังตอบสนองต่อข่าวที่ใช้วิธีการเขียนเพื่อยั่วยุให้แสดงความเห็น กดไลก์ และกดแชร์ อยู่ในเกณฑ์ “ปานกลาง” ขณะที่เห็นพาดหัวข่าวที่น่าสนใจจะกดไลก์ กดแชร์ ทันที และแสดงความคิดเห็นทันทีที่ได้รับข่าวสาร มักแชร์ข่าวที่มีภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จัก และมักแชร์ข่าวที่มีสถิติหรืองานวิจัยประกอบทันที โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง อยู่ในเกณฑ์ “น้อย” ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหาของข่าวปลอมบนเฟซบุ๊ก จากตัวอย่างข่าวปลอมที่พบช่วง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 102 ข่าว พบว่า ประเภทข่าวปลอมที่พบมากที่สุด คือ ข่าวหลอกลวง จำนวน 41 ข่าว ส่วนเนื้อหาข่าวปลอมที่พบมากที่สุด คือ เนื้อหาที่สร้างขึ้นมา จำนวน 32 ข่าว สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มคนเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และวาย มีพฤติกรรมการรับข่าวปลอมและพฤติกรรมการตอบสนองต่อข่าวปลอมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับข่าวปลอมกับพฤติกรรมการตอบสนองต่อข่าวปลอม มีความสัมพันธ์กัน เมื่อพฤติกรรมการรับข่าวปลอมเพิ่มขึ้น พฤติกรรมการตอบสนองต่อข่าวปลอมจะเพิ่มขึ้นตาม

References

กองเศรษฐกิจ ธุรกิจ โพสต์ทูเดย์. (2563). ดีอีเอส แจงมือดี ชายไทย แชร์ข่าวปลอม. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/economy/news/641293

เฉลิมชัย ก๊กเกียรติกุล, & ธัญญนนทณัฐ ด่านไพบูลย์. (2561). ข่าวลวง : ปัญหาและความท้าทาย. วารสารวิชาการ กสทช., 2(2), 174-192.

ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2563). สถิติและพฤติกรรมการใช้ Social media ทั่วโลก Q1 ปี 2020. สืบค้นจาก https://www.twfdigital.com/blog/2020/02/global-social-media-usage-stats-q1-2020/

นันทิกา หนูสม. (2560). ลักษณะของข่าวปลอมในประเทศไทยและระดับความรู้เท่าทันข่าวปลอมบนเฟซบุ๊กของผู้รับสารในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย Social network in a networked society. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 8(2), 119-127.

พัชรา แย้มเจริญ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างเจนเนอเรชั่นและทักษะทางการเงินของประชากรในจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง,

ระวิ แก้วสุกใส, & ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์ กรณีเฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 4(5), 195-205.

วรรนิสา หนูช่วย. (2561). รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). 12 ตัวชี้วัดสุขภาพคนไทยต่างเจเนอเรชัน. สุขภาพคนไทย 2559, 1(1), 8-108.

สรานนท์ อินทนนท์. (2562). รู้เท่าทันข่าว News Literacy. In เข็มพร วิรุณราพันธ์ & ลักษมี คงลาภ (Eds.), กรุงเทพฯ.

สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. (2563). รู้เท่าทันสื่อคืออะไร. สืบค้นจาก http://bcp.nbtc.go.th/th/detail/2017-01-24-23-12-51

สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 Thailand Internet User Behavior 2019. กรุงเทพมหานคร.

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่น เอ็กซ์ และเจ็นเนอเรชั่น วาย วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม(1), 59.

Sunnywalker. (2560). สรุปปัญหาข่าวปลอมที่รุนแรง จนบริษัทโซเชียลต้องกลับไปรื้อนโยบาย ทบทวนตัวเองใหม่. Retrieved from https://www.blognone.com/node/96867

Techsauce Team. (2019). Facebook แนะเคล็ดลับสังเกตข่าวปลอมบนโลกออนไลน์. Retrieved from https://techsauce.co/pr-news/how-to-observe-the-fake-news

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01