การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตยของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน, สังคมธรรมาธิปไตย, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย ของนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากับนักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสังคมธรรมธิปไตย (RSU111) ประจำภาคการศึกษาที่ S/2564 จำนวนทั้งสิ้น 709 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณด้วยระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย กำลังศึกษาสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลมากที่สุด รองลงมา คือ สาขาวิชาสื่อสารการแสดง และสาขาวิชามัลติมีเดีย ตามลำดับ
2. กลุ่มตัวอย่างเลือกทำโครงงานในประเด็นความหลากหลายทางเพศ ในรายวิชา RSU111 สังคมธรรมาธิปไตยภายใต้แนวคิด Change in Diversity Culture มากที่สุด รองลงมา คือ มาตรฐานความสวยความงาม (Beauty Standard) และการกลั่นแกล้ง/การคุกคามทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเลือกทำโครงงานลักษณะให้ความรู้และสร้างความเข้าใจมากที่สุด รองลงมา คือ เน้นการตระหนักรู้/การสร้างจิตสำนึก และโครงงานที่สร้างสรรค์สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตามลำดับ นอกจากนี้โครงการมีมุมมองที่สะท้อนความเป็นสังคมธรรมาธิปไตย กล่าวคือ ประเด็นโครงงานการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นมากที่สุด รองลงมา คือ สังคมที่เป็นธรรม/เสมอภาค และความมีเสรีภาพในสังคม ตามลำดับ
3. กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.36 เมื่อพิจารณาโดยละเอียด พบว่า มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด ในด้านขั้นเตรียมความพร้อมโครงงานและด้านการศึกษาความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.39 รองลงมา คือ ด้านการกำหนดหัวข้อของโครงงานและด้านการสรุปสิ่งที่เรียนรู้/การนำเสนออยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.36 และด้านการดำเนินงานโครงงาน/สร้างชิ้นงานอยู่ในระดับมาก ด้วยค่าเฉลี่ย 4.30 ตามลำดับ
References
กิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย. (มปป.). การจัดการเรียนการสอน Project Based Learning ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป : RSU 101 ธรรมาธิปไตย. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/he-commission/t-visit%20project/t-visit%20book%202/17--g2--10-1.pdf,
ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ดวงเนตร ธรรมกุล, วนิดา ตันเจริญรัตน์ และพูลทรัพย์ ลาภเยี่ยม. (2557). ผลของการจัดการเรียนแบบโครงการต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 8(1), 46-54
ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9(2). 169-176
วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาสังคมธรรมาธิปไตย ปีการศึกษา 2564. สัมภาษณ์, 21 มิถุนายน 2564.
มหาวิทยาลัยรังสิต. ปณิธานสังคมธรรมาธิปไตย มหาวิทยาลัยรังสิต. (2556). สืบค้นจาก https://www2.rsu.ac.th/news/news-rsu101.
หวน พินธุพันธ์. (2555). การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่ง.สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/448354.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
สิทธิญา รัสสัยการ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development : Seeking clarity through specificity. New York : World Developments.
KM CHILD-PBL. (2015). Project-based Learning. Retrieved from http://www.vcharkarn.com/vcafe/202304.