กลยุทธ์การสื่อสารของยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศ

ผู้แต่ง

  • ลภัสรดา กันเกตุ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสาร, ยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศ, ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้รับสารที่มีต่อเนื้อหาของยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบ่งออกเป็น 2 วิธีในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-Depth Interview) ยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 ราย และคลิปวิดีโอที่ได้ความนิยมสูงสุด อปี 2560-2563 จำนวน 5 คลิป เป็นจำนวนทั้งหมด 15 คลิป ผลการวิจัยพบว่า ยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย (1) การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับของตนเองที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (2) การนำเสนอเนื้อหาด้านการแต่งหน้าที่มีรูปแบบหลากหลาย (3) การสื่อสารด้วยเนื้อหาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (4) การสื่อสารด้วยรูปแบบวิดีโอที่เหมาะสมกับเนื้อหา (5) การสร้างเอกลักษณ์ที่ชัดเจนด้วยความเป็นธรรมชาติและความตลก (6) การนำเสนอเนื้อหาที่ให้ความบันเทิงและสนุกโดยร่วมมือกับแชนแนลอื่น Collabs (7) การสร้างรูปหน้าปกที่สร้างจุดสนใจและสื่อสารอย่างชัดเจน


        ส่วนความคิดเห็นของผู้รับสารที่มีต่อเนื้อหาของยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศนั้นเป็นการตอบสนองต่อสารของผู้รับสารที่มีต่อการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งประกอบด้วยความคิดเห็นเชิงบวกต่อเนื้อหาที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์และการสร้างเนื้อหาของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และความคิดเห็นเชิงบวกต่อยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศที่เกี่ยวกับการชื่นชม ความประทับใจในอัตลักษณ์และบุคลิกภาพ ส่วนความคิดเห็นเชิงลบต่อยูทูบเบอร์ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นความคิดเห็นในเชิงลักษณะเหยียดเพศจากอคติส่วนตัว และความคิดเห็นเสนอแนะต่อเนื้อหาคือการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการต่อยอดและพัฒนาเนื้อหาในครั้งต่อไป

References

กิติมา สุรสนธิ. (2548). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนะจิต เกตุอุไร. (2549). ความคิดเห็นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ที่มีต่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี ปีการศึกษา 2548. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาญณรงค์ คำเพชร. (2549). ความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา จังหวัดชลบุรี 2548. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชีรา ทองกระจาย (2561). ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-8.pdf

ไทยพีบีเอส. (2556). ยูทูบช่องทางปล่อยของและสร้างชื่อของเหล่ายูทูบเบอร์. สืบค้นจาก https://news.thaipbs.or.th/content/203161

นภดล ยิ่งยงสกุล. (2553). ประวัติ และที่มาของ youtube. สืบค้นจากhttps://sornordon.wordpress.com /2011/12/16

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/etda-annual-report-2019.html

อิศราวุฒิ กิจเจริญ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารช่อง Gutumdai เพื่อสร้างรายได้ ผ่านเว็บไซต์ Youtube ในรูปแบบรายการโทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 2(2).13-14

Crowdleaks.org (2019). มาทำความรู้จักกับยูทูปเบอร์ (Youtubers) “อาชีพใหม่ รายได้พุ่ง”. สืบค้นจาก https://crowdleaks.org/มาทำความรู้จักกับยูทูป/

Foster, Charles R. F., & Richard, C. (1952). Psychology of life adjustment. Chicago: America Technical.

Laurie J. Wilson and Joseph D. Ogden. (2015). Strategic Communication: Planning for public relation and marketing. Brigham Young University.

Miller, Michael. (2011). Youtube for Business Online Video Marketing for Any Business.Indiana : John Wiley & Son , Inc .

Remmer, H. H. (1954). Introduction to Opinion and Attitude. New York: Harper and Brothers Publisher Measurement.

Safko, L., & Brake, D. (2009). The Social Media Bible: Tactics, Tools & Strategies for Business Success. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons, Inc.

Wertime, K. & Fenwick, I. (2008). DigiMarketing: The Essential Guide to New Media and Digital Marketing. New York: John Wiley & Son (Asia) Pte., Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29