ทัศนคติที่มีต่อคุณลักษณะนวัตกรรมกับการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีความจริงเสริม ในสื่อสิ่งพิมพ์ของประชาชนเจเนอเรชันวาย

ผู้แต่ง

  • กันทลัส ทองบุญมา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะนวัตกรรม, ทัศนคติต่อคุณลักษณะนวัตกรรม, การยอมรับนวัตกรรม, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ประชาชนเจเนอเรชันวาย

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อคุณลักษณะนวัตกรรมกับการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีความจริงเสริมในสื่อสิ่งพิมพ์ของประชาชนเจเนอเรชันวาย โดยมีกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ประชาชนคนเจเนอเรชั่นวาย (บุคคลที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2521 – 2538) ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย รวมถึงใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนเจเนอเรชันวาย มีทัศนคติต่อคุณลักษณะของนวัตกรรมเทคโนโลยีความจริงเสริมในสื่อสิ่งพิมพ์สูงที่สุด ในด้านความสามารถในการสังเกต รองลงมาคือด้านความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ความสอดคล้องกับการปฏิบัติ ความไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งาน และความสามารถในการทดลองใช้ตามลำดับ โดยพบว่าทัศนคติต่อคุณลักษณะของนวัตกรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีความจริงเสริมในสื่อสิ่งพิมพ์ และพบว่าทัศนคติด้านความไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งาน ด้านความสามารถในการทดลองใช้ และด้านความสอดคล้องกับการปฏิบัติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีความจริงเสริมในสื่อสิ่งพิมพ์ของประชาชนเจเนอเรชันวาย

References

ไทยรัฐ. (2559). ดิ เอ็มดิสทริค ฉลองครบรอบ 1 ปี จัดงาน “ดิ เอ็มดิสทริค เซลล์ออฟเดอะเซ็นจูรี่”.สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/ content/638700

ไทยรัฐ. (2560). สุดยิ่งใหญ่ ไทยรัฐเนรมิต นสพ.มีชีวิต ‘ส่งใจสู่ฟ้าอาลัยพ่อ’ 15 ฉบับ. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/1093685

นริศ ภาชนะพรรณ. (2561). 10 อันดับเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ สำหรับปี 2018. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์.

มติชน. (2560). กระทรวงวัฒนธรรมเร่งจัดทำจดหมายเหตุฯ-แผ่นพับที่ระลึก งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/ education/news_657353

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2560). มหาวิทยาลุยอุบลราชธานีพัฒนาโปรแกรม “ASEAN Stamp” ใช้เทคโนโลยี Augmented Reality : AR ผลิตแสตมป์ ชุด “ฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี” ชุดสุดท้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ยาวที่สุดในโลก ร่วมกับไปรษณีย์ไทย. สืบค้นจาก http://www.ubu.ac.th/new/ index.php?page=ubu_ event&id=12934& newsheader=show&newstype=7

รศรินทร์ เกรย์และคณะ. (2559). คุณภาพชีวิตต่างวัยของผู้มีงานทำ (Quality of Life among Employed Population by Generations). พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.(2559). สุขภาพคนไทย 2559: ตายดี วิถีเลือกได้. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). (2562). เปิดเทรนด์เทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2652. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). สาระวิทย์. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สุปราณี จริยะพร. (2542) ความคิดเห็นและการยอมรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Eletronic commerce) : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Everett M. Rogers (2003). Diffusion of Innovation. New York: The Free Press.

Julio Cabero-Almenara, Jose Maria Fernandez-Batanero, Julio Barroso-Osuna (2019) Adoption of augmented reality technology by university students. Heliyon, (5), 1-9

Kasey Panetta (2019). Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2020. Retrieved from https://www.gartner.com/smarterwithgartner/gartner-top-10-strategic-technology-trends-for-2020/

Nuramalina Ahmad Baharuddin, Dayang Rohaya Awang Rambli. (2017). A Conceptual Model of AR Based Experiential Marketing. International Conference on Electronic Commerce (ICEC 2017), 119-125.

Tim Hilken, Ko de Ruyter, Mathew Chylinski, Dominik Mahr, Debbie I. Keeling (2017). Augmenting the eye of the beholder: exploring the strategic potential of augmented reality to enhance online service experiences. Journl of the Academy of Marketing Science, 45, 884–905.

Tseng-Lung Huang & Shuling Liao (2015). A model of acceptance of augmented-reality interactive technology: the moderating role of cognitive innovativeness. Electronic Commerce Research, 15, 269–295.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29