การเรียนรู้ความเป็นพลเมืองเชิงสหวิทยาการ โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านภาพยนตร์สั้น

ผู้แต่ง

  • กริ่งกาญจน์ เจริญกุล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, สหวิทยาการ, การเรียนรู้โดยใช้ภาพยนตร์เป็นฐาน

บทคัดย่อ

        การเรียนรู้ความเป็นพลเมืองเชิงสหวิทยาการโดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านภาพยนตร์สั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา 1)ผลการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาระหว่างศาสตร์ทางการศึกษาและศาสตร์ทางการสื่อสารผ่านการออกแบบและสร้างภาพยนตร์สั้น 2)ศึกษาความรู้ ทักษะและเจตคติ ความพึงพอใจในการเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้ครั้งนี้ โดยใช้เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับความรู้ ทักษะและเจตคติของนักศึกษาสหวิทยาการ รวมทั้งแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้ และแบบประเมินเกี่ยวกับความรู้ ทักษะและเจตคติของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีทักษะและเจตคติในการเป็นพลเมืองดิจิทัล ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในระดับมากทั้งในระดับบุคคลและชุมชน เช่นเดียวกันนักศึกษามีความพึงพอใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้การเป็นพลเมืองดิจิทัลในระดับมาก ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกประเด็นที่เรียนรู้ร่วมกัน กระบวนการวางแผนปฏิบัติการร่วมกัน กระบวนการลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์สั้น และกระบวนการเผยแพร่ผลงาน นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถถอดบทเรียนความพึงพอใจของตนเองออกมาโดยผ่านการคิดอย่างเป็นระบบในรูปแบบของกระบวนการเรียนรู้แบบใช้โครงการเป็นฐาน ส่งผลให้เกิดทัศคติที่ดีต่อการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อนต่างสถาบัน ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย เข้าใจการทำงานสร้างสรรค์และมองภาพเป็นรูปธรรม ใช้ แรงบันดาลใจจากสิ่งที่ตนสนใจและค้นคว้า จนสามารถแปลข้อมูลนั้นๆ เพื่อสื่อสารได้ เกิดข้อค้นพบเป็น กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ภาพยนตร์เป็นฐาน Movie Based Learning

References

จักรกฤษฎ์ แก้วประเสริฐ และคณะ.(2563).“การพัฒนาภาพยนตร์สั้นส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมพหุวัฒนธรรมย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา”.นิเทศศาสตรปริทัศน์.24 (3)

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.(2560). กรอบแนวคิดพลเมืองประชาธิปไตย เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล.กรุงเทพฯ: เครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย.

อนุรักษ์ ลาวิลาศ.(2554).ลักษณะการเป็นพลโลก สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/kruanuruk/home/rongreiynmatrthansaklworld-classstandardschool/laksnakarpenphllok

เอกสารประกอบการสัมมนาMIDL : อำนาจในมือพลเมือง ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง (Conference on Media, Information and Digital Literacy (MIDL) for Social Justice: Empowering Citizens to Create Change) วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ.

Krauss, Jane and Suzie Boss. (2013). Thinking Through Project Based Learning Guiding Deeper Inquiry. United State of America: Corwin A SAGE Company.

Larmer. John.(2018) What is Interdisciplinary Teaching? Retrieved from https://serc.carleton.edu/econ/interdisciplinary/what.html.

Ferguson, R. I.,(1987). Accuracy and precision of methods for estimating river loads.Earth Surface Processes and Landforms,12(1)

river loads.Earth Surface Processes and Landforms,12(1),95-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29