การประกอบสร้างพื้นที่และภาพตัวแทนผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กับการถอดรหัสความหมายของผู้หญิงไทยผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด

ผู้แต่ง

  • จีณัฐชะญา จีปณัฐิกาญจน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พื้นที่ของผู้หญิง, การประกอบสร้างพื้นที่ของผู้หญิง, ภาพตัวแทนความเป็นผู้หญิง,

บทคัดย่อ

        งานวิจัย “การประกอบสร้างพื้นที่และภาพตัวแทนผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 กับการถอดรหัสความหมายของสตรีไทยผ่านภาพยนตร์ฮอลลีวูด” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษาการประกอบสร้างพื้นที่ของผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผ่านการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ฮอลลีวูด (2) ศึกษาลักษณะการนำเสนอภาพตัวแทนความเป็นผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ปรากฏในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร (3) ศึกษาการอ่านความหมายของผู้รับสารที่เป็นผู้หญิงไทยเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ถูกส่งผ่านมาจากภาพยนตร์ฮอลลีวูดโดยศึกษาการวิเคราะห์เนื้อหาจากกลุ่มตัวอย่างภาพยนตร์ ที่ออกฉายในช่วงปี ค.ศ. 2001-2017 จำนวน 12 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า การนำเสนอภาพผู้หญิงกับผู้ชายที่อยู่ร่วมกันฉันท์คู่รักหรือสามีภรรยาของภาพยนตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 จะมีการประกอบสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้ผู้หญิงมีอำนาจต่อรองเท่าเทียมกันกับผู้ชาย และน่าสังเกตว่าผู้หญิงมีแนวโน้มไม่ทำอาหาร ส่วนในเรื่องอำนาจต่อเรือนร่างของผู้หญิง

        ส่วนใหญ่ผู้หญิงมีอำนาจเหนือชีวิตและร่างกายตนเองโดยสมบูรณ์ ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความสุขความพอใจส่วนตัวของผู้หญิงเอง และไม่ได้ยึดติดกับพรหมจรรย์สำหรับการประกอบสร้างพื้นที่ทางสังคมของผู้หญิง ภาพยนตร์ส่วนใหญ่นำเสนออำนาจของผู้หญิงที่อยู่เหนือผู้ชาย ทั้งความเป็นผู้นำในสังคม และการทำงาน เริ่มมีการประกอบสร้างพื้นที่ใหม่ๆ เชิงสังคมให้ผู้หญิงเป็นทางเลือกมากขึ้น ที่สำคัญพบว่าผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการต่อรองและช่วงชิงพื้นที่เชิงสังคมได้มากกว่าเดิม แม้ในสังคมที่มีวัฒนธรรมกระแสหลักสนับสนุนให้ผู้ชายเป็นใหญ่ ก็จะมีการสร้างวัฒนธรรมย่อยโดยเพศหญิงขึ้นมาต่อต้าน


        ส่วนเรื่องของการประกอบสร้างภาพตัวแทนของผู้หญิงพบว่า ภาพยนตร์ฮอลลีวูดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ได้นำเสนอภาพตัวแทนความเป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ตรงกันคือ ความสวย รูปร่างดีที่ค่อนไปทางผอม มีความเป็นตัวของตัวเอง มั่นใจ เป็นผู้นำ กล้าหาญ กล้าพูด กล้าแสดงออก มีน้ำใจ ศรัทธาในตัวเอง ส่วนเรื่องของความสามารถ ต้องเป็นผู้หญิงที่เก่ง มีเป้าหมายชัดเจน มีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ อดทน เป็นนักสู้ และมีความพยายามสำหรับการอ่านความหมายของผู้รับสารที่เป็นผู้หญิงไทยเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ถูกส่งผ่านมาจากภาพยนตร์ฮอลลีวูดพบว่า ผู้ชมอ่านความหมายได้สอดคล้องกับผู้สร้างภาพยนตร์ ทั้งยังรู้เท่าทันอุดมการณ์ที่แฝงมากับภาพยนตร์อีกด้วย

References

กฤษฏิญา ไชยศรี. (2560) . Rise of The Feminist Heroine. วารสารสนเทศศาสตร์ (118), 104-112.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อมวลชน : ทฤษฏีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์

กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กับการประกอบสร้างสังคม: ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2555). ภาพยนตร์ศิลปะ สตรีนิยมในสายตาชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

สมสุข หินวิมาน (2548). ทฤษฏีสำนักวัฒนธรรมศึกษา. ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร(หน่วยที่ 13). นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สรารักษ์ โรจนพฤกษ์. (2557). การวิเคราะห์ภาพตัวแทนความเป็นสตรีในสื่อภาพยนตร์การ์ตูน วอลท์ ดิสนีย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

Dutt, R. (2014). Behind the curtain: women’s representation in contemporary Hollywood. London.: Blackwall

Foucault, M., (1982).The Subject and Power. Brighton: Harvester.

Hall, Stuart, (1997). The Spectacle of the Other.London: Sage.

Lefebvre, H. I. (1998). The Production of Space.Oxford, UK: Blackwell.

Peter L. Berger and Thomas Luckmann (1966). The Social Construction of reality. A Treatise in the Sociology of Knowledge. U.S.A.:Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29