การวิเคราะห์รูปแบบและการพัฒนาการสื่อสารด้วยสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาของช่างภาพมือสมัครเล่น
คำสำคัญ:
ภาพรับปริญญา, สื่อวีดิทัศน์, ช่างภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการถ่ายภาพของช่างภาพมือสมัครเล่นในการถ่ายภาพรับปริญญา และเพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาของช่างภาพมือสมัครเล่น วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 4 ระยะ ได้แก่ 1) R1 : การวิเคราะห์และสังเคราะห์ภาพถ่ายและการสัมภาษณ์ช่างภาพมืออาชีพ 2) D1: การสร้างสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญา 3) R2 : การนำสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาไปทดลองใช้ และ 4) D2 : การสร้างสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาที่สมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ภาพถ่ายและการสัมภาษณ์ช่างภาพมืออาชีพ (R1) นำข้อมูลที่ได้รับมาสร้างสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญา (D1) พัฒนาสื่อวีดิทัศน์โดยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพรับปริญญาไปทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อวีดิทัศน์และใช้แบบสอบถามประเมินประสิทธิผลสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญา (R2) นำผลที่ได้มาปรับปรุงสื่อวีดิทัศน์ให้สมบูรณ์ (D2)
ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดการถ่ายภาพประกอบด้วย เพิร์ลมัตเตอร์เ8 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) การผลิตภาพ 2) การระบุเนื้อหาของภาพ 3) หน้าที่ของภาพ 4) การแสดงออกทางอารมณ์ 5) การอุปมาอุปไมย 6) ความถูกต้องเป็นจริง 7) การแสดงออกเชิงสังคม และ 8) การเปรียบเทียบ ส่วนรูปแบบการถ่ายภาพประกอบด้วย 8 รูปแบบ ได้แก่ 1) ภาพแบบดั้งเดิม 2) ภาพครอบครัว 3) ภาพเป็นทางการ 4) ภาพตามแนวคิดของผู้ถ่ายภาพ 5) ภาพคนกับธรรมชาติ 6) ภาพทีเผลอ 7) ภาพความงาม และ 8) ภาพระยะใกล้ ส่วนวิธีการสร้างสรรค์ภาพถ่ายรับปริญญา ประกอบด้วย 10 ข้อ ได้แก่ 1) การติดต่อบัณฑิต 2) การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ 3) การเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์ถ่ายภาพ 4) การจัดท่าทางของบัณฑิต 5) การจัดองค์ประกอบภาพและมุมกล้อง 6) การจัดองค์ประกอบแสง 7) ปัญหาในระหว่างการถ่ายภาพรับปริญญา 8) การตกแต่งภาพ 9) การส่งงาน และ 10) ทริคสำหรับช่างภาพรับปริญญามือสมัครเล่น และการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาของช่างภาพมือสมัครเล่น ประกอบด้วย 4 ข้อ ได้แก่ 1) การสร้างสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญา 2) การนำสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาไปทดลองใช้ และ 3) การสร้างสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาที่สมบูรณ์
ผลการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาพบว่าได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจากการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาและการประเมินความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ได้นำสื่อวีดิทัศน์ไปใช้โดยการทดสอบก่อนและหลังการชมสื่อวีดิทัศน์ คะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนและการทดสอบหลังการชมสื่อวีดิทัศน์ =10.56 คะแนน และ = 14.86 คะแนน (คะแนนเต็ม 20) ค่าความสัมพันธ์ของคะแนนเฉลี่ยทั้งสอง = .670 ทดสอบสมมติฐานพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการชมสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการชมสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาอย่างม้นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และระดับความคิดเห็นจากการประเมินประสิทธผลสื่อวีดิทัศน์การถ่ายภาพรับปริญญาได้ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (x = 4.53,S.D.= .267 ) โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดได้แก่ การนำสื่อไปใช้ประโยชน์ (x = 4.71, S.D.= .211 )
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ณัฐเขต สัจจะมโน และ สมหญิง เจริญจิตรกรรม. (2556). การพัฒนาบทเรียนวีดิทัศน์ เรื่อง การจัดองค์ประกอบภาพถ่ายสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) 202-211.
ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) ,7-19.
ภควัต รัตนราช. (2563). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
รติมา อมันตกุล. (2559). การศึกษาองค์ประกอบภาพถ่ายเพื่อการออกแบบนิตยสารตกแต่งบ้าน.วารสารศิลปกรรมศาสตร์. 8(2) ,122-143.
สุรกิจ จิรทรัพย์สกุล. (2556). Eazy Pro ถ่ายภาพรับปริญญา. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.
สุรเชษฐ์ หุ่นสะดี. (2558). การถ่ายภาพรับปริญญา: อำนาจ ความรู้ วาทกรรมของช่างภาพและการเจรจาต่อรองอำนาจของตัวแบบ. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Lester, P.M. (2014). Visual Communication : Image with Messages. (International Edition) Canada: Nelson Education.
Mowbray, P. (2021, October 20). The 7 Formal Element in Photography. Retreived from www.picfair.com/7-formal-element-in-photography.
Rose, G. (2011). Visual Methodologies : An Introduction to Researching with Visual Materials. (3rd edition). London: SAGE.
Shaughnessy, M. & Stadler, J. (2005). Media and Society. Melbourne: Oxford University press.