การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ เหตุผล และวิธีการปิดกั้นการสื่อสาร ใน ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กฤษดา เกิดดี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์วัตถุประสงค์, วิธีปิดกั้นการสื่อสาร, การแพร่ระบาดของโควิด-19

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ วัตถุประสงค์ เหตุผล และวิธีการปิดกั้นการสื่อสารที่ปรากฏในประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทฤษฎีการครองความเป็นเจ้าของสื่อ หรือกล่าวอย่างเจาะจงก็คือ แนวคิดกลไกของรัฐด้านอุดมการณ์ และกลไกของรัฐด้านการปราบปรามของ หลุยส์ อัลธูแซร์ แนวคิดการปิดกั้นการสื่อสาร และแนวคิดระบบอบการปกครองกับการปิดกั้นการสื่อสารของ พีเล็ก เป็นแนวคิดหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์


        ในฐานะที่เป็นการวิเคราะห์เอกสาร แหล่งข้อมูลที่ถูกนำมาใช้วิเคราะห์ประกอบด้วย ประกาศ คำสั่ง ข้อกำหนด กฎ รวมถึงระเบียบ กฎหมาย มติที่ประชุม มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประกาศและบังคับใช้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

        ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) วัตถุประสงค์ของการปิดกั้นการสื่อสาร มีทั้งวัตถุประสงค์มหภาค และวัตถุประสงค์จุลภาค วัตถุประสงค์มหภาคคือ เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ วัตถุประสงค์จุลภาคคือ เพื่อรักษาศีลธรรมอันดี 2) เหตุผลที่ใช้ในการปิดกั้นการสื่อสาร ได้แก่ สาธารณสุข ความมั่นคงของชาติ สิทธิของผู้อื่น ความสงบเรียบร้อย ข่าวปลอม และศีลธรรม 3) วิธีการปิดกั้นการสื่อสาร มีทั้งการห้ามบุคคล การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การจำกัดเสรีภาพขององค์กรหรือสมาคม การปิดกั้นสถานประกอบการ และการเซ็นเซอร์ตัวเอง

        ผลการศึกษาแสดงให้ทราบว่า การปิดกั้นการสื่อสารที่พบในประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีวัตถุประสงค์และเหตุผลอื่นนอกเหนือจากด้านสาธารณสุข และเมื่อพิจารณาที่การปิดกั้นการสื่อสารกับระบอบการปกครอง พบว่าสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการใช้เหตุผลและวิธีการการปิดกั้นการสื่อสารที่ใช้ในระบอบเผด็จการ รวมถึงเผด็จการเบ็ดเสร็จ นอกจากนั้น จากการวิเคราะห์ ประกาศ คำสั่ง และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 พบว่าเป็นการทำให้ปรากฏถึงการใช้กลไกของรัฐด้านอุดมการณ์อีกด้วย

References

กฤษดา เกิดดี (2551)การปิดกั้นการสื่อสารที่สะท้อนและปรากฏในร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ 9 ฉบับและในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551 นิเทศศาสตรปริทัศน์ 12(1), 83-97.

กฤษดา เกิดดี (2559) เหตุผลของการจำกัดการชม และตระกูลภาพยนตร์ของภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดู นิเทศศาสตรปริทัศน์. 20 (พิเศษ), 37-46.

กฤษดา เกิดดี (2563) การปิดกั้นการสื่อสาร. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

กฤษดา เกิดดี (2564) ปฐมบทการปิดกั้นการสื่อสาร: การศึกษาว่าด้วยอำนาจในการห้ามในสมัยสุโขทัยและอยุธยา, ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

จริงตนาการ (2563,28 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม) โตเกียว 2020 vs. โควิด-19 5 เดือนแห่งการต่อสู้เพื่อกีฬาโลกมติชนสุดสัปดาห์. 40(2063),103.

ทวีศักดิ์ บุตรตัน (2563,28 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม) โควิด-19 กระทบแรง มติชนสุดสัปดาห์ 40 (2063), 46.

ไทยรัฐออนไลน์ (2563) ประกาศปิดโรงภาพยนตร์ชั่วคราว ป้องกันการระบาดไวรัสโควิด-19 สืบค้นจาก http://www.thairath.co.th.

ปิยบุตร แสงกนกกุล (2563) ราชมัลลงทัณฑ์ บัลลังก์ ปฏิรูป, กรุงเทพฯ: ไชน์ พับลิชชิ่ง เฮาส์.

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร (2563, 15 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 เล่ม 137 ตอนพิเศษ 241 ง หน้า 1 สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.

ประกาศ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (2564, 20 กรกฎาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 เล่ม 138 ตอนพิเศษ 165 ง หน้า 16 สืบค้นจาhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th.

ประกาศข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (2564,29 กรกฎาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 170 ง หน้า 1 สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.

มาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2564, 17 มีนาคม) มติคณะรัฐมนตรี สืบค้นจาก http://www.dmsic.moph.go.th

มติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 12/2564 สืบค้นจาก http://www.amarintv.com

วงค์ ตาวัน (2563,6-12 มีนาคม) จุดติดแล้วจะไปจุดไหน มติชนสุดสัปดาห์ 40 (2064), 106.

วารี วิไล (2563,6-12 มีนาคม) เพลงประท้วงแฟลชม็อบ 2020 มติชนสุดสัปดาห์ 40 (2064), 94.

ศรัณย์ ทองปาน (2563,มิถุนายน) ลำดับเหตุการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย สารคดี 36, (423), 80-99.

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (2563,6-12 มีนาคม) แฟลชม็อบและการปฏิวัติทางอุดมการณ์ของนักศึกษาสู่อนาคตมติชนสุดสัปดาห์. 40(2064), 19.

สาวตรี สุขศรี และคณะ (2555) ผลกระทบจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และนโยบายของรัฐ กับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น. กรุงเทพฯ: โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw).

สุเจน กรรพฤทธิ์ (2564,กันยายน) วิกฤตการเมืองไทย ’49-’64 ทศวรรษที่หายไป สารคดี 37, (438), 28-59.

สุรชาติ บำรุงสุข (2563, 6-12 มีนาคม ) โรคระบาด 2020 ความมั่นคงด้านสุขภาพ มติชนสุดสัปดาห์ 40 (2064), 50-51.

สยามรัฐออนไลน์ (2563) สืบค้นจาก http://www.siamrath.co.th.

สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2020) 5 ข้อสรุปสำคัญเรื่องมาตรการผ่อนปรนเปิดกองถ่ายด้านภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ใน The Standard, สืบค้นจาก http://www.thestandard.co.th,

หนุ่มเมืองจันท์ (2563,28 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม) ม็อบทวิตเตอร์ มติชนสุดสัปดาห์ 40 (2063), 24.

Althusser, Louis (1993) Essays on Ideology. London: Verso.

BBC News (2020) Retrieved from http://www.bbc.com

Peleg, Ilan (2019) Censorship in Global and Comparative Perspective: An Analytical Framework in Patterns of Censorship Around the World Retrieved From http://www.books.google.co.th.

Worldometer.info (2564) Retrieved From http://www.worldometer.info

Worldometer.info (2564) Covid 19 Case in Thailand. Retrieved From http://www.worldometer.info,COVID-19 cases in Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29