Us: สัญญะทางการเมืองและจิตวิเคราะห์ในภาพยนตร์
คำสำคัญ:
สัญญะ, อำนาจรัฐ, จิตวิเคราะห์บทคัดย่อ
ในบทความเรื่อง “Us: สัญญะทางการเมืองและจิตวิเคราะห์ในภาพยนตร์” มีจุดประสงค์ในการศึกษา เพื่อวิเคราะห์สัญญะทางการเมืองตามแนวคิดการครองอำนาจนำที่แฝงอยู่ในภาษาภาพยนตร์ และเพื่อศึกษาแนวคิดจิตวิเคราะห์ที่อยู่ภายใต้การนำเสนอผ่านภาพยนตร์เรื่อง Us หลอน ลวง เรา (2019) โดยใช้แนวคิดสัญญะทางการเมืองในแง่ของอำนาจรัฐ ที่มีอำนาจในการปกครอง และตัดสินชีวิตของตัวละครที่ไร้อำนาจ หรือเป็นบุคคลชายขอบที่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในชีวิตของตนเอง และสัญญะทางจิตวิเคราะห์ของ ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่ภาพยนตร์ใช้สัญญะในตัวละครแทนความหมายของ Id Ego และ Superego อธิบายถึงจิตใต้สำนึกที่แสดงออกเรื่องความรุนแรง ความก้าวร้าวของตัวละครจะถูกเปิดเผยออกมา และกลายมาเป็นสิ่งที่แสดงออกของตัวเหล่านั้น ด้วยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis)
ผลการวิเคราะห์ของบทความเรื่อง “Us: สัญญะทางการเมืองและจิตวิเคราะห์ในภาพยนตร์” ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ในแง่มุมของอำนาจรัฐ ตามแนวคิดของ อันโตนิโอ กรัมซี่ (Antonio Gramsci) ในเรื่อง “การครองอำนาจนำ” หรือ “Hegemony” ผ่านรูปแบบของสัญญะในภาพยนตร์ที่ใช้ตัวละคร 1 ครอบครัว การดำเนินเรื่องในส่วนความสำคัญของโครงสร้างส่วนบนและโครงสร้างส่วนล่าง และส่วนที่ 2 วิเคราะห์ในแง่มุมของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่ภาพยนตร์ใช้สัญญะของคำพูดเรื่องของเงา (Shadow) แทนความหมายของ Id และใช้คำว่าผู้อยู่เบื้องหน้า แทนความหมายของ Super Ego สุดท้ายในบทความชิ้นนี้มุ่งเน้นเรื่องการวิพากษ์ภาพยนตร์ที่เปรียบเสมือนกระบอกเสียงสะท้อนความเป็นจริงในสังคม หรือตำราที่สอดแทรกเนื้อหาความรู้ลงไปในภาพยนตร์ เพียงแค่รอคนที่เข้าใจและเรียนรู้ไปกับงานศิลปะทางภาพยนตร์
References
วิจิตพาณี เจริญขวัญ. (2556). ระบบและทฤษฎีทางจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมซี่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมมติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.