การศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมและการเปิดเผยตนเองของกลุ่มหญิงรักหญิง เพื่อการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์
คำสำคัญ:
การเปิดเผยตนเอง, หญิงรักหญิง, ละครโทรทัศน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมและการเปิดเผยตนเองของกลุ่มหญิงรักหญิงเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ ผู้ศึกษาได้ใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group Interview) กับบุคคลที่มีพฤติกรรมการแสดงออกว่าตนเองคือผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน (เลสเบี้ยน) โดยมีช่วงวัยและอาชีพการทำงานใกล้เคียงกัน โดยนำแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศไม่ว่าจะเป็นแนวคิดพฤติกรรมรักร่วมเพศ แนวคิดเกี่ยวกับหญิงรักหญิง บรรทัดฐานทางสังคมและแนวคิดการเปิดเผยตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและสนับสนุนผลการวิเคราะห์ ผู้ศึกษายังได้นำทฤษฎีองค์ประกอบของละครโทรทัศน์และทฤษฎีการสร้างตัวละครในการนำมาเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์อีกด้วย
การวิเคราะห์พฤติกรรมและบุคลิกภาพของหญิงรักหญิงได้จำแนกออกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
1) การแต่งกายและทรงผม 2) น้ำเสียงและลักษณะคำพูด และ 3) พฤติกรรมท่าทางและการแสดงออก โดยผลการวิเคราะห์พบว่าไม่มีความแตกต่างไปจากผู้หญิงทั่วไป เลสเบี้ยนล้วนแต่มีลักษณะคล้ายคลึงผู้หญิงจน
ไม่อาจทราบได้ว่าชอบผู้หญิงด้วยกัน
ในส่วนของการเปิดเผยตนเองของหญิงรักหญิงแบ่งตามขั้นตอนพัฒนาการของรักร่วมเพศประกอบด้วย 1) ขั้นตอนก่อนการเปิดเผยตนเอง พบว่าเลสเบี้ยนมีความตระหนักถึงเอกลักษณ์ทางเพศและมีการยอมรับว่าตนเองชอบผู้หญิงมาตั้งแต่ต้นไม่มีความสนใจในผู้ชายได้มากเท่าผู้หญิง คงอัตลักษ์ทางเพศเป็นหญิงที่รักผู้หญิงด้วยกันเอง 2) ขั้นตอนการเปิดเผยตนเอง พบว่าเลสเบี้ยนจะมีความสะดวกใจในการเปิดเผยตนเองต่อเพื่อนวัยเดียวกันมากกว่าการบอกครอบครัวเนื่องจากความแตกต่างของช่วงวัยและการเปิดใจรับข่าวสารใหม่ๆ ที่แตกต่างกัน และ 3) ขั้นตอนการธำรงเอกลักษณ์ภายหลังการเปิดเผยตนเอง
พบว่าเลสเบี้ยนมีวิธีการเข้าหาคู่ของตัวเองด้วยการสังเกตพฤติกรรมจนกว่าจะแน่ใจว่าเขาชอบผู้หญิงเช่นเดียวกันกับตน ก่อนจะสานสัมพันธ์และพัฒนาต่อไม่ต่างจากคู่รักทั่วไป มีการวางแผนอนาคตและยังมีการรวมกลุ่มกันระหว่างเลสเบี้ยนหรือกลุ่มคนรักร่วมเพศด้วยกันเพื่อการเป็นที่ยอมรับในสังคม และสื่อมีส่วนสำคัญในการส่งต่อทัศนคติให้สังคมมีความเข้าใจในธรรมชาติของเลสเบี้ยนมากยิ่งขึ้น
References
ขวัญดาว สุขสมัย, (2557), การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมหญิงรักหญิงในภาพยนตร์ของไทย ยุโรป และอเมริกา, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์, (2551), บทโทรทัศน์ : เขียนอย่างไรให้เป็นมือโปร (พิมพ์ครั้งที่ 1),กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
ปัณณิกา จันทรปรรณิก, (2550), การสื่อสารเพื่อการเปิดเผยตนเองของกลุ่มหญิงรักหญิง,วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทนา เชตมี, (2539), วิถีชีวิตและชีวิตครอบครัวของหญิงรักหญิง, วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, (2558), การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง, กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, (2556), ทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ระเบียงทอง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.