รูปแบบการนำเสนอรายการกีฬาในทีวีดิจิทัลของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุธิชา ภิรมย์นุ่ม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

รูปแบบรายการ, วิทยุโทรทัศน์เพื่อการกีฬา, ทีวีดิจิทัล, รายการกีฬา, ทีวีดิจิทัลไทย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการนำเสนอรูปแบบรายการกีฬาในทีวีดิจิทัลของประเทศไทยและเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอของรายการการกีฬาที่ผลิตโดยคนไทย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์และแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบรายการกีฬา เป็นกรอบในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยช่องรายการทีวีดิจิทัลที่ได้รับความนิยมในไตรมาสที่ ๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ (เดือนมกราคม – มีนาคม) ๕ อันดับแรก ประกอบไปด้วย ช่อง 7 HD เลขระบบ ๓๕, ช่อง 3 HD เลขระบบ ๓๓, ช่อง โมโน ทเวนตี้ไนน์ (Mono 29) เลขระบบ ๒๙, ช่อง เวิร์คพ้อยท์ ทีวี เลขระบบ ๒๓ และ ช่อง One เลขระบบ ๓๑ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลรูปแบบรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการกีฬาในทีวีดิจิทัลไทย (Coding Sheet) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Descriptive)

        ผลการวิจัยพบว่า การนำเสนอรูปแบบรายการกีฬาในทีวีดิจิทัลของประเทศไทย มีรูปแบบรายการทั้งหมด ๔ รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบรายการข่าว, รูปแบบรายการปกิณกะ, รูปแบบรายการสาธิตหรือทดลอง และ รูปแบบรายการถ่ายทอดสด ซึ่งจะพบจากช่องรายการที่พัฒนามาจากระบบอนาล็อกมาสู่ระบบดิจิทัล ที่ให้ความสำคัญกับรูปแบบรายการกีฬาหรือรายการทีวีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายการกีฬา ซึ่งมีนัยยะสัมพันธ์กับลำดับการได้รับความนิยมของการจัดลำดับ การนำเสนอเนื้อหาที่มีความหลากหลายและครบถ้วนจะทำให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ชมได้มากกว่า ซึ่งรายการประเภทกีฬาก็จะมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ส่วนด้านประเภทและรูปแบบรายการที่พบมากที่สุดเป็นประเภทข่าว เนื่องจากข่าวนำเสนอได้หลากหลายเนื้อหา เช่น ผลการแข่งขัน การติดตามทีมกีฬา การเตรียมความพร้อมของนักกีฬา การวิเคราะห์เกมการแข่งขัน และ อื่นๆ ทำให้การนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบรายการข่าวเป็นที่นิยมทั้งจากผู้ผลิตรายการและผู้ติดตามชม ส่วนสำคัญที่สถานีโทรทัศน์ควรคำนึงคือความถี่ของการออกอากาศ ผลจากการสำรวจครั้งนี้ยืนยันว่า ข่าวกีฬาถูกนำเสนอตลอดทั้งวัน ซึ่งความถี่ในการออกอากาศ (ทุกวันหรือทุกสัปดาห์) จะส่งผลให้กลายเป็นช่องที่ได้รับความนิยมสูงด้วยเช่นกัน

References

กาญจนา แก้วเทพ และ ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร.(๒๕๕๔). การสื่อสาร ศาสนา กีฬา. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน จำกัดภาพพิมพ์

จิรวัฒน์ สุรพิบูล. (๒๕๕๖). การพัฒนารายการกีฬาทางโทรทัศน์ด้วยเทคนิคการตัดต่อลำดับภาพ กรณีศึกษา : รายการเส้นทางกีฬาของสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน และ เอกราช เก่งทุกทาง. (๒๕๕๔). การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ หน่วยที่ 12 เรื่อง การ สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไทยทีวีดิจิตอลออนไลน์. (๒๕๖๐) วิวัฒนาการวงการโทรทัศน์ไทย. ค้นเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๒. จาก : http://www.thaidigitaltelevision.com

ไทยทีวีดิจิตอลออนไลน์. (๒๕๖๒) การจัดอันดับเปรียบเทียบความนิยมช่องรายการทีวีดิจิทัล. ค้นเมื่อ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒. จาก : https://www.tvdigitalwatch.com

นิพาดา ไตรรัตน์ และ ณมน จีรังสุวรรณ. (๒๕๕๘). การออกแบบรูปแบบรายการโทรทัศน์ดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับระดับปริญญาบัณฑิตเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘

แผนกเทคนิคโทรทัศน์. (๒๕๕๓) การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอล. ค้นเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๒. จาก : http://www.tv5.co.th/technics/tv_digital_in_the_future.html

สมสุข หินวิมานและคณะ. (๒๕๕๗). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงาน กสทช. (๒๕๖๐) ทีวีดิจิทัลไทย (ออนไลน). ค้นเมื่อ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๒. จาก : https://broadcast.nbtc.go.th/TVDigital/TVDigitalChannels.

อภิวรรณ เนื่องผลมาก. (๒๕๔๔). การถ่ายทอดเนื้อหากีฬาผ่านสื่อโทรทัศน์, วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Daniel Beck and Louis Bosshart. (2003). Sports and the Media. The Centre for the Study of Communication and Culture (CSCC), California.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13