การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารสุขภาพภายใต้ภาวะวิกฤตเกี่ยวกับโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค

ผู้แต่ง

  • วรทัย ราวินิจ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสื่อสารสุขภาพ, ภาวะวิกฤต โควิด-19

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารสุขภาพผ่านสื่ออินโฟกราฟิกภายใต้ภาวะวิกฤตโควิด-19 ของกรมควบคุมโรค อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิเคราะห์เนื้อหาจากแหล่งข้อมูลคือ สื่ออินโฟกราฟิกที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค จำนวน 242 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาเกี่ยวกับโควิด-19 ในการสื่อสารสุขภาพ ผ่านสื่ออินโฟกราฟิกของกรมควบคุมโรค ในแต่ละระยะของวงจรภาวะวิกฤตประกอบด้วย ระยะอาการบอกเหตุ จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบาดและการให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการระมัดระวังตนเองเพื่อส่งสัญญาณเตือนให้แก่ผู้ที่มีความเสี่ยงกลุ่มต่างๆ ต่อมาเมื่อเข้าสู่ระยะเตรียมการ จะเป็นการให้คำแนะนำข้อปฏิบัติต่างๆเพื่อป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรค และเมื่อสถานการณ์ทวีความรุนแรงเข้าสู่ระยะร้ายแรง จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประกาศ/มาตรการต่างๆที่บังคับใช้ในการควบคุมโรค ตลอดจนเน้นย้ำวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องในการป้องกันโรค โดยปรากฏลักษณะร่วมของการสื่อสารซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) วิธีการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต ประกอบด้วยการตอบสนองอย่างทันท่วงทีต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และความสม่ำเสมอของข้อมูลที่เผยแพร่ (2) เนื้อหาในการตอบสนองต่อภาวะวิกฤต ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในภาวะวิกฤตและเนื้อหาที่เกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือมาตรการควบคุมโรค  (3) การออกแบบสาร ประกอบด้วยการวางกรอบการสื่อสารแบบได้รับหรือสูญเสียและการใช้จุดจูงใจในสาร

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. เอกสารเผยแพร่กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/239/T_0017.PDF

บุษบา สุธีธร. (2563). การบริหารการสื่อสารภาวะวิกฤตในโลกที่ผันผวน ไม่ชัดเจน ซับซ้อนและคลุมเครือ. วารสารนักบริหาร. 40(2), 130-143.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. (2561). การสื่อสารสุขภาพ แนวคิดและการประยุกต์ใช้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิโรดม มณีแฮดและสรัญญา เชื้อทอง. (2563). การสื่อสารสุขภาพของกรมควบคุมโรคโดยใช้เรื่องเล่าอินโฟกราฟฟิกในสถานการณ์โควิด-19. วารสารการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 8(2), 91-119.

อนุตรา รัตน์นราทร. (2563). รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทยและนอกประเทศจีน. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14(2), 116-123.

Albers-Miller D. Nancy. (1999). An international analysis of emotional and rational appeals in services vs goods advertising. Journal of Consumer Marketing. 16(1), 42-57.

Botan, H. Carl and Hazleton Vincent. (2006). Public Relations Theory II. Lawrence Erlbaum Associates.

Cho Hyunyi. (2012). Health Communication Message Design Theory and Practice. California: SAGE Publications.

Chen Luo et al. (2021). Exploring the Expression Differences Between Professionals and Laypeople Toward the COVID-19 Vaccine: Text Mining Approach. Journal of Medical Internet Research. 23(8). Published online สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้จาก

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8404777/

Chia, J., & Synnott, G. (Eds.). (2012). An introduction to public relations and communication management. Sydney: Oxford University Press.

Coombs W. Timothy. (2018). Ongoing Crisis Communication: Planning, Managing, Responding. 5th ed. Thousand Oaks, California: Sage Publications.

Coombs W. Timothy. (2018). When Professional and Academic Views of Crisis Communication Correlate: A Great Day. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://coombscrisiscommunication.wordpress.com/category/adjusting-information/

Gigliotti M. Peter. (2020). One message, one voice. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.linkedin.com/pulse/one-message-voice-peter-gigliotti-ed-d

Lee R. Nancy and Kotler Phillip. (2011). Social Marketing Influencing Behaviors for good. 4th ed. Thousand Oaks, California: Sage Publications.

Martin R. Leslie and DiMatteo M. Robin. (2014). The Oxford Handbook of Health Communication, Behavior Change, and Treatment Adherence. New York, Oxford University Press.

Tyler R. Spradley. (2017). Crisis Communication in Organizations. The International Encyclopedia of Organizational Communication. John Wiley & Sons, Inc.

Ulmer, R. Robert, Sellnow, L. Timothy and Seeger, W. Matthew. (2007). Effective Crisis Communication: Moving From Crisis to Opportunity. Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13