การพัฒนาภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์, รณรงค์, ป้องกัน, นักสูบหน้าใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับชมภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ หลังจากนั้นได้ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับชมสื่อภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบประเมินคุณภาพสื่อภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดองค์ประกอบภาพ ด้านเสียง และด้านเทคนิคการนำเสนอ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X Bar = 4.50) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.25) (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมที่มีต่อภาพยนตร์สั้นรณรงค์ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการจัดองค์ประกอบภาพ ด้านเสียงและด้านรายละเอียดของภาพยนตร์สั้น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X Bar =4.48) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.63)
References
กรมควบคุมโรค. (2554). สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทย ปี 2554. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ธัญนพ เกสรสิทธิ์. (2556). การพัฒนาภาพยนตร์สั้นบนช่องทางสื่อใหม่เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธีรวุฒิ เอกะกลุ . (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ประพนธ์ ตติยวรกุลวงศ์. (2553). การเล่าเรื่องและทัศนคติของผู้ชมเกี่ยวกับความรุนแรงในภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ฮอลลีวูด. รายงานการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-7(พิมพ์ครั้งที่16). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมราช.
พิพิษณ์ สิทธิศักดิ์. ( 2556 ). ภาพยนตร์เบื้องต้น. นครปฐม : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล.
ภาคิณ ศรีมุลตร และ เนติรัฐ วีระนาคินทร์. (2559). การพัฒนาภาพยนตร์สั้นโดยใช้แนวคิดสตอรีไลน์สำหรับนำเสนอค่านิยม 12 ประการ ผ่านวิถีชุมชน. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม และคณะ. ( 2551 ). การเขียนบทภาพยนตร์สั้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เอกสารการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น . นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรีย์พร จันดีเรียน. (2553) ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์สั้นของผู้ชมในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร . กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). ข้อมูลผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทย. วันที่สืบค้นข้อมูล 17 ตุลาคม 2560, จาก http://btc.ddc.moph.go.th/cms/.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ข้อมูลประชากรอัตราการเปลี่ยนแปลงและจำนวนผู้สูบบุหรี่, รายงานประจำปี 2557-2559. กรุงเทพมหานคร.
Singh, S. (2014). 8 Elements of Story Telling That Every Filmmaker Must Know. Retrieved from www.jamuura.com/blog/must-know-elements-storytelling.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.