ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของฌอง ปอล ซาร์ตร์ ในภาพยนตร์ฮอลลีวูด

ผู้แต่ง

  • สรวิศ ทิพย์มาบุตร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, การเล่าเรื่อง, ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง “ปรัชญาอัตถิภาวนิยมในภาพยนตร์ฮอลลีวูดปี ค.ศ. 2000 – 2020”  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบกลวิธีการนำเสนอผ่านการเล่าเรื่อง และการนำเสนอแนวคิดทางปรัชญา ในภาพยนตร์ฮอลลีวูดปี ค.ศ. 2000 - 2020 โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการวิเคราะห์ตัวบท (Textaul Analysis) โดยใช้แนวคิดสำคัญในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ (Film Narration) และแนวคิดอัตถิภาวนิยมในทัศนะของ ฌอง ปอล ซาร์ตร์  (Existentialism’Jean Paul Sartre) สำหรับภาพยนตร์ที่นำมาวิจัยประกอบด้วย ภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่ออกฉายในช่วงปี ค.ศ.2000 - 2020 จำนวน 5 เรื่องได้แก่ Million Dollar Baby (2004) , Into the Wild (2007) , An Education (2009) , Inside Llewyn Davis (2013) and  Lady Bird (2017)

        ผลของการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ฮอลลีวูดมักมีการใช้รูปการนำเสนอหรือการเล่าเรื่อง ดังนี้ 1)โครงเรื่อง (Plot) พบว่าภาพยนตร์ส่วนมากมักมีการเปิดเรื่อง (Exposition) โดยนำเสนอให้ผู้ชมได้เห็นถึงความเป็นตัวละครและบริบทต่าง ๆ ที่รองรับตัวละครอยู่อันนำมาสู่ความขัดแย้งที่ตัวละครจะต้องทำการตัดสินใจ   การพัฒนาเหตุการณ์ (Rising Action) คือการนำเสนอให้เห็นการเลือกตัดสินใจของตัวละครตามสำนึกหรือความต้องการ  ภาวะวิกฤติ (Climax) คือช่วงที่ตัวละครหลักในภาพยนตร์มักพบกับความผิดหวังจากสิ่งที่ตั้งใจ นำไปสู่ภาวะจมดิ่งกับความทุกข์  ภาวะคลี่คลาย (Falling Action) คือช่วงที่ตัวละครหลักทำการเปลี่ยนแปลงตัวเองอีกครั้ง  ส่วนตอนจบ (Ending) มักมีลักษณะปลายเปิดให้ผู้ชมนำไปวิพากษ์ต่อไป           2)แก่นแนวคิด (Theme) พบว่ามักนำเสนอแก่นความคิดเชิงปรัชญาอัตถิภาวนิยม 3) ตัวละคร (Charactor) พบว่าตัวละครหลักในภาพยนตร์มักเป็นตัวละครในรูปแบบตัวละครหลายมิติ และมักอยู่ในวัยเปลี่ยนผ่านของชีวิต 4) ความขัดแย้ง (Conflict) พบว่าภาพยนตร์ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในตัวละคร  5) ฉาก (Setting) พบว่ามักให้ความสำคัญกับฉากความเป็นอยู่ของตัวละครและบริบทที่ขัดแย้งกับความเป็นตัวละคร 6) มุมมองการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ (Point of View) พบว่ามักนำเสนอเรื่องราวของตัวละครจากสายตาของบุคคลที่ 1 7) สัญลักษณ์ (Symbol) มักมีการนำเสนอผ่านทั้งสัญลักษณ์ทางภาพและเสียง

        สำหรับการศึกษา แนวคิดอัตถิภาวะนิยมในภาพยนตร์ฮอลลีวูดพบว่า ปรัชญาอัตถิภาวะนิยม ที่ถูกนำเสนอมากที่สุดประกอบด้วยประเด็นดังนี้  1) แนวคิดความเป็นมนุษย์กับเสรีภาพ (Human and Freedom) ดังปรากฏในกลุ่มภาพยนตร์ทุกเรื่องที่ทำการวิจัย 2) แนวคิดธรรมชาติของสำนึกและความไร้ตัวตน (Consciousness And Non - being) ดังปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Million Dollar Baby, An Education Inside, Llewyn Davis, และLady Bird 3) แนวคิดสัตเพื่อตนเอง (Being-for-itself) ดังปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง  4) แนวคิดพระเจ้ามิได้ดำรงอยู่จริง (ภาษาอังกฤษ)  ดังปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Into the Wild, Lady Bird

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์

กีรติ บุญเจือ. (2522). ชุดปัญหาปรัชญา : ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา พานิช.

เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2547) พจนานุกรมปรัชญาอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ : โบแดง.

ชมขวัญ มาปาเดิด. (2561). เสรีภาพในปรัชญาของฌอง-ปอล ซาร์ตร์: กรณีศึกษาของสื่อสังคมออนไลน์ในสังคมไทย : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ประพนธ์ ตติยวรกุลวงศ์. (2553). การเล่าเรื่องและทัศนคติของผู้ชมเกี่ยวกับความรุนแรงในภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ฮอลลีวูด. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชนภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รชฎ สาตราวุต (2554). อัตถิภาวะนิยม Existentialism สืบค้นจาก : http://www.parst.or.th/philospedia/Existentialism.html

ราชบัณฑิตยสถาน. (2543) พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

วิทยา เศรษฐวงศ์. (2536). แนวคิดของซาร์ตร์ ว่าด้วยความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2521). วัฒนาการความคิดเรื่องเสรีภาพและความรับผิดชอบในปรัชญาของซารตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย

สุรศักดิ์ บุญอาจ. (2560). รูปแบบและความคิดหลักของเรื่องในภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลออสการ์ พ.ศ. 2553-2559. วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อัญชลี ชยวรพร. (2556). ทฤษฎี และการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Yutasin Aramsri. (2016). Concept of Suicide: Belief, Intention, and not Coercion? . Khon Kaen:Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

Sartre, Jean-Paul. (1997). Being and Nothingness. Translated by Hazel E. Barnes. London: Methuen& Co. Ltd

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13