จิตวิทยาการรับรู้ ต่อนวัตกรรมละคร “เลือดข้นคนจาง”

ผู้แต่ง

  • อรรจน์ จินดาพล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ละครโทรทัศน์, จิตวิทยา

บทคัดย่อ

        เลือดข้นคนจาง (In Family We Trust) ละครโทรทัศน์ไทยในปีพ.ศ.2561  มีกระบวนการจัดการวัฒนธรรมอย่างมีจิตวิทยาที่น่าสนใจ ในประเด็นท้าทายพฤติกรรมการดูละครของคนไทย ที่อธิบายได้ด้วยกระบวนการรับรู้ทางจิตวิทยา เรื่องการเลือก 4 ประการ ได้แก่ การเลือกเปิดรับ , การเลือกใส่ใจ , การเลือกรับรู้ และการเลือกจดจำ พฤติกรรมการดูละครของคนไทย จึงมีความสัมพันธ์กับวิธีการเลือกในกระบวนการรับรู้ทางจิตวิทยา ละครเรื่องใดที่มีแบบแผนผิดแปลกไปจากทางเดิมที่คนดูรับรู้ เมื่อนาดาวบางกอก ซึ่งเชี่ยวชาญในการทำซีรี่ส์ มีฐานผู้ชมเป็นกลุ่มวัยรุ่น เลือกมาเป็นผู้ทำละครโทรทัศน์เป็นครั้งแรก โดยนำแบบแผนบางอย่างจากงานที่มีความเชี่ยวชาญมาปรับใช้ จึงอาจเรียกได้ว่าละคร”เลือดข้นคนจาง”มีรูปแบบละครที่แตกต่างจากละครโทรทัศน์อื่นที่มีอยู่ เป็น “นวัตกรรม”ในงานละครไทยที่แตกต่าง การเป็นนวัตกรรมของละคร “เลือดข้นคนจาง” เป็นการจงใจสร้างให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ภายในวัฒนธรรมเดิมของการดูละครโทรทัศน์ไทย เป็นวิธีการจัดการวัฒนธรรมในด้านงานสื่อสารมวลชน ที่เลือกจะไม่เอาชนะหรือเปลี่ยนรูปแบบวัฒนธรรมการดูละครอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นการทดลองประสมงานต่างรูปแบบในทางของละคร  เพื่อเอาใจเรียกร้องผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้ชมกลุ่มเดิมที่ดูละครเป็นกิจวัตร และรักษาฐานวัยรุ่นที่เป็นลูกค้าเดิมขององค์กรด้วยการดึงดูดให้มาเป็นผู้ชมกลุ่มใหม่ในผลิตภัณฑ์ใหม่ขององค์กร

References

กาญจนา แก้วเทพ , เธียรชัย อิศรเดช และคณะ (2545) สื่อบันเทิง : อำนาจแห่งความไร้สาระ. กรุงเทพ : ออล อเบ้าท์ พริ้นท์

ธนพงษ์ ลี้สันติวิภารัตน์ (2558) พัฒนาการของเพลงละครโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตคณะนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชนาพร พิทยาบูรณ์ (2556) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปิดรับชมรายการละครวิทยุโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 33(1) 8-9

Rogers, Everestt M. (1983) Diffusion of Innovations, Newyork: The Free Press of Glence.

Williams, R. (1974) Television, Technology and Cultural Form, London: Fontana.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13