เทคนิคการสร้างสรรค์โฆษณาทางยูทูปยอดนิยมในประเทศไทยยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • เปรมินทร์ หงษ์โต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สุเทพ เดชะชีพ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ณัฐพงค์ แย้มเจริญ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • นิภากร กำจรเมนุกูล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ยูทูป, ยอดนิยม, ดิจิทัล

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “เทคนิคการสร้างสรรค์โฆษณายอดนิยมทางยูทูปในประเทศไทยยุคดิจิทัล” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บช้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิจัยวิเคราะห์เนื้อหา และการสนทนากลุ่ม มีแหล่งข้อมูลเป็นนักวิชาการโฆษณา 5 คน นักวิชาชีพโฆษณา 5 คน ผู้ชมโฆษณาในเจเนอเรชั่น Y 15 คน และ เจเนอเรชั่น Z 15 คน โฆษณาทางยูทูป 12 เรื่อง โดยใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์เนื้อหา และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อได้แก่ 1. เพื่อศึกษาเทคนิคการสร้างสรรค์โฆษณาทางยูทูปยอดนิยมในประเทศไทยยุคดิจิทัล 2.เพื่อศึกษาแนวโน้มการสร้างสรรค์โฆษณาทางยูทูปยอดนิยมในประเทศไทยยุคอนาคต

        ผลการศึกษาพบว่า ด้านรูปแบบแนวคิด เน้นที่แนวคิดมุ่งมั่นการสร้างภาพลักษณ์ของตราสินค้า ด้านสิ่งดึงดูดและแรงจูงใจ เน้นที่ ความแปลกใหม่ ด้านการใช้ภาพประกอบ เน้นที่ ภาพเชิงบวกหลังใช้ผลิตภัณฑ์ ด้านการใช้เสียงประกอบ เน้นที่ เสียงพูด ด้านรูปแบบบทโฆษณา เน้นที่บท ที่ยึดถือจากหลักความจริง ผลศึกษาแนวโน้มการสร้างสรรค์โฆษณาทางยูทูปยอดนิยมในประเทศไทยยุคอนาคตพบว่า ด้านผู้ส่งสาร มีแนวโน้มที่โครงสร้างบริษัทโฆษณาจะเปลี่ยนแปลงโดยมีขนาดเล็กลง มีการเพิ่มแผนกหรือหน้าที่ด้านออนไลน์ เกิดดิจิทัลเอเจนซี ส่วนนักโฆษณาจะต้องปรับตัวเข้ากับยุคดิจิทัล และในวงการโฆษณาอาจจะเกิดนักโฆษณาที่ไม่เรียนโฆษณาโดยตรงมากขึ้น ด้านเทคนิคการสร้างสรรค์เนื้อหาโฆษณามีรูปแบบแนวคิดจะไม่ยึดติดและตายตัว สิ่งที่ดึงดูดและแรงจูงใจในด้านต่าง ๆ ยังคงเน้นที่ตัวบุคคล ความเชื่อแบบบริบทไทย การเล่นกับอารมณ์คนดู การใช้ภาพประกอบ จะต้องสวยงามมีคุณภาพสอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี การใช้เสียงประกอบจะทำเสียงประกอบเองมากขึ้น และควรระมัดระวังเรื่องลิขสิทธิ์ รูปแบบบทโฆษณา จะเน้นความสั้นกระชับ สื่อสารตรงไปตรงมา ไม่ก็จะต้องเน้นการเล่าเรื่องเล่าอารมณ์ ในขณะเดียวกันจะต้องมีการสร้างสรรค์คำใหม่ ๆ เพื่อสร้างการจดจำ คาดว่ายูทูปยังคงมีอิทธิพลต่อวงการโฆษณาเช่นเดิม ในขณะเดียวกันน่าจะเกิดแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ ๆ เข้ามาคู่ขนานหรือแทนที่ ด้านผู้ชมโฆษณา พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงตามบริบทสังคมโลก กลุ่มผู้ชมดิจิทัลเนทีฟ และผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มหลักในการบริโภคสื่อโฆษณา

References

กมล ชัยวัฒน์. (2558). “การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด”. กรุงเทพฯ. ซีเอ็ด ยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

กวิสรา ธีสาคร (2559). “Social Media Advertising” ไอดีซี พรีเมียร์.

ขวัญเรือน กิตติวัฒน์. (2531). “พลศาสตร์ของการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาพลศาสตร์การสื่อสาร”หน่วยที่ 2 (หน้า 23-26). นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2545) “พฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสพติด อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย สันติวงษ์. (2535). “พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด”. กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนาพานิช.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2554). “หลักการโฆษณา”. ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2546). “การโฆษณา”. กรุงเทพฯ. เฮลท์แคร์ พลับบลิชชิ่ง จำกัด

ประภาพรรณ ลิ้มสุขสิริ. (2543). “พฤติกรรมการเปิดรับ และการเลือกใช้ประโยชน์จากข่าวเศรษฐกิจ ในหนังสือพิมพ์ของนักธุรกิจภาคอุตสาหกรรม”. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พรรณเจริญ วนแสงกุล. (2539). “การศึกษาวิธีการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์”. กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิบูล ทีปะปาล. (2545). “การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย”. กรุงเทพฯ. มิตรสัมพันธ์กราฟิก

พิมพ์นารา บรรจง. (2552). “พัฒนาการ หน้าที่ และผลกระทบของหน้าต่างโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต”. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ. สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรภร เสนไกนกุล. (2551). “การเปิดรับ แรงจูงใจในการใช้สื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงโฆษณาของผู้บริโภคที่มีต่อสื่อดั้งเดิมและสื่อรูปแบบใหม่”. กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร มหาบัญฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐนรี ไชยภักดี. (2552). “การศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต”. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ณิชชา ยงกิจเจริญ. (2558). “การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมที่มีต่อศิลปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L”. กรุงเทพฯ. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ไตรสิทธิ์ อารีย์วงศ์. (2552). “ความคิดสร้างสรรค์ในงานโฆษณาไทย”. กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป-มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2555). “ปรากฎการณ์ทางการสื่อสารยุคดิจิทัล.” กรุงเทพฯ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 18, 1 : 212-220.ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย. เมษายน 2561, จาก http://www.nectec.or.th/.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2540). “การโฆษณา และการส่งเสริมการตลาด Advertising and Promotion”. กรุงเทพฯ.

ศรีสง่า โชติเรืองนภา. (2552). “ลักษณะข้อมูลของสินค้าหรือบริการบนชุมชนออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ”. กรุงเทพฯ. โครงการพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). “การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย”. กรุงเทพฯ. ธีระฟิล์มและไซเท็ก

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิบูล ทีปะปาล. (2545). “การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย”. กรุงเทพฯ.

เมธชนัน สุชประเสริฐ. (2558). “ปัจจัยจากการใช้สื่อออนไลน์ยูทูปที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในประเทศไทย”. กรณีศึกษา บิวตี้บล็อกเกอร์

ยุพดี ฐิติกุลเจริญ. (2537). “ทฤษฎีการสื่อสาร”. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชวนพิมพ์

อริยะ พนมยงค์. (2011). “The day beyond of google. Strategy+Marketing”, 10(114), 48-50.

อรุณเพชร พณิชพากเพียรเลิศ. (2552). “ทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร”. โครงการพิเศษ. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

องอาจ ปทะวานิช. (2550). “การโฆษณาและกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย”. กรุงเทพฯ. ภาควิชาการตลาดคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2544). “หลักการเขียนบทโทรทัศน์”. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action . Cincinnati, Ohio South-Western College Pub. .

Atkin. & Charles K. (1973). Anticipated Communication and Mass Media Informatio Seeking . New York: Free Press.

Bovee, C. L., Thill, J. V., Dovel, G. P., & Wood, M. (1995). Advertising Excellence. New York: Mcgraw-Hill College.

Burnet, R., and Marshall, D.P. (2003). Web Theory. London: Routlege.

Fill, C. (1995). Marketing communications : contexts, strategies and applications. England: FT Prentice Hall.

Jefkins, F. (1980). Effective PR Planning. Great Britain: Foto Direct (Printers).

Jewler, A. Jerome (1992). Creative Straregy in Advertising. Belmont, California : Wadsworth Publishing Company.

Joseph T. Klapper. (1960). Ther Effect of Mass communication. New York ; Free Press.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management, Edition - Kotler & Keller.

Lecinski, J. (2011). Zmot winning the zero moment of truth. Retrieved from http://thumbsup.in.th/2012/04/zmot/.

Schramm, Wilbur. (1973). Channels and Audiences. In Handbook of communication. Chicago: Ram Mcnally College Publishing.

Vincent, H., Jill, H. R., and William R. K. (2007). New Media and Public Relations. NewYork : Peter Lang.

Wilcox, D. L., and cameron, G. T. (2006). Public Relations: Strategies and Tactics .Boston, MA: Peason Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13