ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการเตรียมพร้อมสู่เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy)

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ กิตตินราภรณ์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยการสื่อสาร, ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ, เศรษฐกิจอายุวัฒน์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารด้านเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสาร ความพึงพอใจต่อเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสาร และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมพร้อมสู่เศรษฐกิจอายุวัฒน์ 2) เพื่อจัดกลุ่มองค์ประกอบปัจจัยการสื่อสารด้านเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสาร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารด้านเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสารที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมพร้อมสู่เศรษฐกิจอายุวัฒน์ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ และใช้การเก็บข้อมูลแบบวัดครั้งเดียวด้วยแบบสอบถามปลายปิด ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 408 คน ผลการวิจัย พบว่า

        กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างมากที่สุดต่อปัจจัยด้านเนื้อหาสารที่เกี่ยวกับ 1) เนื้อหาข่าวสารให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเนื้อหาเกี่ยวกับการระวังด้านสุขภาพ 2)เนื้อหาที่ให้ความรู้การดูแลตนเอง และ 3) เนื้อหาทางการแพทย์ ตามลำดับ ในส่วนของปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยอย่างมากต่อ 1) การนำเสนอสินค้าผ่านโทรทัศน์ 2) บุคคลในครอบครัวบอกต่อ และ 3) ผู้ที่น่าเชื่อถือยืนยัน ตามลำดับ อีกทั้ง กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมากต่อเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสาร และกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมพร้อมสู่เศรษฐกิจอายุวัฒน์อยู่ในระดับมาก

        การจัดกลุ่มองค์ประกอบปัจจัยด้านเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสาร พบว่า ปัจจัยด้านเนื้อหาสารสามารถจัดกลุ่มได้ 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1) กลุ่มเนื้อหาด้านการเตือนภัยและเนื้อหาด้านจิตใจ 2) กลุ่มเนื้อหาด้านกายภาพ 3) กลุ่มเนื้อหาด้านความบันเทิง และ4) กลุ่มเนื้อหาด้านการจูงใจ ในขณะที่ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสารสามารถจัดกลุ่มได้ 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อสังคมออนไลน์ 2) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อกิจกรรมและสื่อสิ่งพิมพ์ 3) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อมวลชน และ 4) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อบุคคล

        ในส่วนของปัจจัยการสื่อสารด้านเนื้อหาสารและช่องทางการสื่อสารที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อการเตรียมพร้อมสู่เศรษฐกิจอายุวัฒน์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 พบว่า มีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อมวลชน 2) เนื้อหาด้านกายภาพ 3) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อบุคคล และ 4) ช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อสังคมออนไลน์ ตามลำดับ

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : แบรนด์เอจ.

กิรติ คเชนทวา. (2562). การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ. คณะสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชูชัย สมิทธไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชนี เชยจรรยา. (2558). แบบจำลองเชิงโครงสร้างการยอมรับและรูปแบบการใช้ประโยชน์จากใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุ. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพ็ญพักตร์ ศิริไตรลักษณ์. (2552). การวิเคาะห์กระบวนการสื่อสารในนิตยสารแฟชั่นสตรี. เชียงใหม่: ค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2539). สังคมวิทยาภาวะสูงอายุ: ความเป็นจริงและการคาดการณ์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2545). การดูแลระยะยาว (Long-term care) และทิศทางนโยบายที่ควรจะเป็นสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิก, วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 3(4), 40-42.

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร จำกัด.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. ปทุมธานี : นาคร.

United Nations [UN] (ม.ป.ป.). สูงวัยในศตวรรษที่ 21: การเฉลิมฉลองความท้าทาย. กรุงเทพฯ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA).

Katz, E., Blumler, J. G., & Gurenitch, M. (1974). Uses and gratifications research. Public Opinion Quarterly, 37(4), 509-523.

Mangan, M.A. (2000). Internet use and its relationto mental and physical health among olderadults. University of New Hampshire. Ph.D. Dissertation.

McCombs, Maxwell E. and Becker, Lee B. 1979. Using Mass Communication Theory. N.J:Prentice Hall, Inc.

Wenner, Lawrence A. (1985). The Nature of Gratifications. In Media Gratifications Research: Current Perspective. Beverly Hills, 8(3), 171-193.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13