การวิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ในคลิปภาพยนตร์ ซึ่งเป็นที่นิยมในยูทูบ

ผู้แต่ง

  • กฤษดา เกิดดี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, ภาพยนตร์, ยูทูป

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเป็นการวิเคราะห์ตัวบท   วัตถุประสงค์ของการวิจัยก็คือเพื่อวิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ในคลิปภาพยนตร์ ซึ่งเป็นที่นิยมในยูทูบ จำนวน 10 คลิป ได้แก่   1) Another Day of Sun – La La Land Opening Scene   2) The first 9 minutes of 1917   3) The Godfather (3/9) Movie Clip – Killing Sollozzo and McCluskey   4) The Godfather Part II (5/8) Movie Clip – Sicilian Revenge   5) The Good, the Bad and the Ugly – The Final Duel   6) Heat Shootout Scene   7) Inception – Ending   8) La La Land – A Lovely Night Scene   9) La La Land (2016 Movie) Official Clip “City of Stars”  และ   10) You Can’t Handle the Truth – A Few Good Men (7/8) Movie Clip   โดยมีทฤษฎีรูปแบบนิยม เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์

        ผลการวิเคราะห์มีดังต่อไปนี้    1) ขนาดภาพที่ใช้ในการสื่อสารมีทั้งขนาดภาพไกลมาก ไกล ปานกลาง ใกล้ และ ใกล้มาก   2) มุมกล้องที่พบมีทั้งมุมสูง และมุมต่ำ   3) มี 3 คลิป ที่การเคลื่อนไหวกล้องเป็นเทคนิคที่มีบทบาทสำคัญในการสื่อความหมาย นั่นคือ Another Day of Sun – La La Land Opening Scene, The First 9 minutes of 1917 และ La La Land – A Lovely Night Scene   4) 2 คลิปจาก La La Land (City of Stars และ A Lovely Night)  1 คลิป จาก 1917  คลิปจาก The Good, the Bad and the Ugly  มีการสื่อสารในแง่ของ มีส ออง แซง   5) มีการสื่อสารด้วยแสง ทั้งแสงไฮก์คีย์และโลว์คีย์   6) สี สื่อสารผ่านทางเครื่องแต่งกาย ยานยนต์ และสีของแสง   7) เสียงที่สื่อสารในคลิปมีทั้งเสียงเพลง เสียงดนตรีประกอบ และเสียงบทสนทนา   8) การตัดต่อที่พบมีทั้งการตัดต่อเพื่อเล่าเรื่อง และการตัดต่อเพื่อผลกระทบทางด้านอารมณ์

        สามารถสรุปได้ว่า คลิปภาพยนตร์ ซึ่งเป็นคลิปที่ได้รับความนิยมในยูทูบ เป็นคลิปที่มีการสื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ตามทฤษฎีรูปแบบนิยม

References

กมลรัตน์ วงษ์รักษา (2564) วิธีการเล่าเรื่องและการสื่อสารด้วยภาษาภาพยนตร์ในโฆษณาไทย ผ่านสื่อออนไลน์ ปี พ.ศ. 2560 – 2562 วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

กฤษดา เกิดดี (2562) เอกสารคำสอนวิชา การภาพยนตร์เบื้องต้นวิทยาลัยนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต.

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย (2562) ทฤษฎีภาพยนตร์แนวรูปแบบนิยม 1 ใน อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล (บรรณาธิการ) ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์ หน่วยที่ 1 – 8, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, หน้า 3-1 – 3-40.

ชนาพร มหาศรี (2562) การวิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ของภาพยนตร์แนวฟาวด์ ฟุตเทจ (FOUND FOOTAGE) วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

ณัฐวุฒิ นาคง (2562) ภาพสะท้อนความโรแมนติกของผู้ก่อการร้ายในภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรทิวา บุษษะ (2561) การเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่กำกับโดย นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.

อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล (2563) โรงหนังและสายหนัง ความ (ไร้) อำนาจของคนดูและศิลปิน, กรุงเทพฯ: ชนนิยม.

Abrams, Nathan, Bell, Ian and Udris, Jan (2001) Studying Film, London: Arnold.

Ben – Shaul, Nitzan (2007) Film: The Key Concepts, New York: Berg.

Berger, Arthur Asa (2014) Media and Communication Research Methods: An Introduction to Qualitative and Quantitative Approaches (Third Edition), Thousand Oaks: SAGE.

Bordwell, David and Thomson, Kristin (2010) Film Art: An Introduction (Ninth Edition), New York: McGraw – Hill.

Katz, Ephraim and Nolen, Ronald Dean (2012)The Film Encyclopedia, New York: Harper Collins.

Monaco, James (2000) How to Read a Film (Third Edition), New York: Oxford University Press.

Thomson, Kristin and Bordwell, David (2019) Film History: An Introduction (Fourth Edition), New York: McGraw – Hill Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13