แนวคิดและคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาทักษะ ความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุของไทย

ผู้แต่ง

  • อุษา บิ้กกิ้นส์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้สูงอายุไทย

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิด และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่จำเป็นเพื่อการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุของไทย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน

        ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงอายุของไทย คือ แนวคิดที่ออกแบบเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติในโลกดิจิทัลและสะท้อนมายังการปฏิบัติต่อสังคมในโลกกายภาพได้อย่างเหมาะสมในฐานะพลเมืองของประเทศและพลเมืองโลก โดยคงความเป็นอัตลักษณ์ของผู้สูงอายุไว้อย่างเหมาะสม และมีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน ปกป้องสิทธิตนเอง และเคารพผู้อื่น เคารพกฎระเบียบ มีจริยธรรม และมีมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่จำเป็นเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โดยมีส่วนร่วมรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองและมิติอื่น ๆ ของวิถีชุมชน ได้แก่ การมีความแข็งแรงและยังมีความสามารถในการใช้ร่างกาย ทั้งด้านกายภาพ จิตใจ และสังคมที่ได้เปลี่ยนไปตามกระบวนการชราที่เกิดขึ้น ให้ทำงานต่อไปได้อย่างเหมาะสม มีศักยภาพ และพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอยู่ในทุกด้าน มองเห็นคุณค่าในตนเอง มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นและมีกิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งนี้ เพื่อยังประโยชน์และมีแรงบันดาลใจที่จะบำรุงรักษาศักยภาพเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

References

กวีพงษ์ เลิศวัชรา และกาญจนศักดิ์ จารุปาณ. (2555). การศึกษาปัญหาการเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จักรกริช ใจดี. (2542). ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตร. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นัฏกานต์ แสงพิทักษ์. (2555). ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร จังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการบริการสังคม คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรัสรา จักรแก้ว. (2556). รูปแบบการสื่อสารกับระบบอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบทั่วไปที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ปิยวัฒน์ เกตุวงศา และศุทธิดา ชวนวัน. (2558). ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์:ความหลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติกรรม. รายงานการประชุมประชากรและสังคม ครั้งที่ 11 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ 1 กรกฎาคม 2558 หน้า 15-28.

พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์ ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา และวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารการสื่อสารมวลชนคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 7(1) (มกราคม - มิถุนายน)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อุษา บิ้กกิ้นส์ และชวพร ธรรมนิตยกุล. (2561). นวัตกรรมสื่อเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลผ่านมัลติแพลทฟอร์ม. กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

เอมอร จารุรังสี. (2558). พัฒนาการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (Adult Development and Aging). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Son, H. J., and Jeong, S. (2013). A Research on Security Awareness and Countermeasures for the Single Server. International Journal of Security and Its Applications, 7(6), 31-42

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13