นโยบายและแนวทางการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้: กรณีศึกษาสถานีโทรทัศน์ ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก

ผู้แต่ง

  • พันธุ์บุปผา โมรานนท์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

นโยบายและแนวทางการผลิต, รายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้ ALTV, ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก

บทคัดย่อ

        การวิจัย “นโยบายและแนวทางการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้: กรณีศึกษาสถานีโทรทัศน์ ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุก” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายการดำเนินงานของสถานีโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้ช่อง ALTV และแนวทางการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้ช่อง ALTV เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ที่นำเสนอผ่านช่อง ALTV และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักวิชาชีพผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า

 

        1. รายการโทรทัศน์ที่นำเสนอผ่านช่อง ALTV ในช่วงเวลา 18.00 - 18.15 น. ช่วงคิดสนุก กลุ่มเป้าหมายอายุ 5 - 8 ปี เนื้อหาการสันทนาการที่ส่งเสริมทักษะ 18.15 - 18.35 น. ช่วงเรียนสนุก และ 18.35 - 19.00 น. ช่วงสนุกเรียน กลุ่มเป้าหมาย 7 - 12 ปี เนื้อหาเน้นความรู้ 5 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษา นำเสนอแบบสนุกสนาน มาเล่า ลงมือทำให้ดู การเรียนรู้จากประสบการณ์ สิ่งที่นอกเหนือจากตำราเรียน

 

        2. นโยบายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับเด็ก ต้องผลิตรายการที่สร้างสรรค์สังคม คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อเด็กและหลักสิทธิมนุษยชน ช่องต้องมีสัดส่วนรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและครอบครัว 1 ชั่วโมงต่อวัน แต่บางช่องนำสารคดี ละครที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งไม่ใช่รายการสำหรับเด็ก เด็กต้องปลอดภัยในเนื้อหา คำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม กฎหมายของเด็ก ไม่ทำให้เด็กเป็นตัวตลก ไม่พูดเรื่องปมด้อย ไม่เอาเด็กไปอยู่ที่อันตราย และไม่โฆษณาขนมหรือของกิน

 

        3. ภาพรวมของรายการโทรทัศน์ เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กในประเทศไทย พบว่า เปอร์เซ็นต์รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กถดถอยลงทุกปี ผังรายการน้อยลง ยังไม่เพียงพอ รายการเด็กได้หายไปจากช่องรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ เพราะเรื่องของพาณิชย์ เนื่องจากว่าสปอนเซอร์ไม่นิยมสนับสนุน

 

        4. ที่มาของรายการโทรทัศน์ ช่อง ALTV เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้มีผลกระทบต่อการเปิดภาคเรียน โรงเรียนไม่สามารถเปิด จึงมีการออกอากาศการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เน้นวิชาการ ให้ความรู้ในเชิงสาระบันเทิง เปลี่ยนความรู้ให้เป็นความสนุกสนาน

 

        5. การผลิตรายการโทรทัศน์ ช่อง ALTV ได้แก่ ขั้นตอนก่อนการผลิตรายการ มีการวางผัง กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดเนื้อหา องค์ความรู้ ขั้นตอนการผลิตรายการ คำนึงเรื่องความประณีต ละเอียดอ่อน มุมกล้อง การเคลื่อนไหว จังหวะ ดนตรี ต้องสามารถสื่อความหมายได้ และขั้นตอนหลังการผลิตรายการ การตัดต่อรายการ ต้องดูเนื้อหา กระบวนการ วิธีการถ่ายทำ เซ็นเซอร์ จริยธรรม เสียง แสง สี มุมกล้อง และคำนึงถึงเรื่องประสบการณ์ร่วมกับเนื้อหา ด้านปัญหาในการผลิตรายการ การระบาดของไวรัสโคโรน่า การวัดความนิยม งบประมาณ การสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน การส่งเสริมผู้ผลิตรายการเด็กให้มีความรู้

 

        6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ควรมีการปรับตัวเพื่อพัฒนารายการให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน มีการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตโทรทัศน์ เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก และการพัฒนารายการในรูปแบบแอปพลิเคชัน

References

กมลรัฐ อินทรทัศน์. (2554). การผลิตรายการบันเทิงคดี การผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น. หน่วยที่ 15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2560). การบริหารงานโทรทัศน์. หน่วยที่ 8 - 15. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานโทรทัศน์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2555). รูปแบบ เนื้อหา และการนำเสนอรายการโทรทัศน์เด็กจากสื่อสาธารณะที่ประสบความสำเร็จเพื่อพัฒนารายการโทรทัศน์เด็กและเยาวชนของไทยพีบีเอส. เสนอต่อองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 (ตอนที่ 45 ก), หน้า 1-3.

มรรยาท อัครจันทโชติ. (2556). การกำหนดช่วงเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย: จากนโยบายของ กสทช. สู่การปฏิบัติจริงของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์. โครงการพัฒนาคุณภาพการสื่อสารผ่านสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนอย่างมีสุขภาวะ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ลักษมี คงลาภและอัปสร เสถียรทิพย์. (2557). การศึกษาการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ของเด็กและเยาวชน. เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).

วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (2559). การจัดทำมาตรฐานจริยธรรมและการผลิตรายการโทรทัศน์ต้นแบบ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว. เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).

สมเจตน์ เมฆพายัพ. (2552). การผลิตรายการโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา.

สันทัด ทองรินทร์. (2558). การบริหารการผลิตรายการโทรทัศน์. เอกสารสอนชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น หน่วยที่ 1 - 7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ : ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.

สำนักงาน กสทช. (2555). แผนแม่บทในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปี 2555 – 2559. กรุงเทพฯ:สำนักงาน กสทช.

สำนักงาน กสทช. (2556). เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน กสทช.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2551). บทบาทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กกับการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Krippendorff, K. (1980). Content analysis: an introduction to its methodology. Thousand Oaks, C.A. : Sage.

Nikken & Voort. (1999). Quality Standards for Children’s Programs in the Writings of Television Critics.Journal of Educational Media, 24,(1), 1999.

Wright, John C and Huston, Aletha C. (1986). A matter of form: Potentials of television for young viewers. New York: International Universities Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17