บทบาทของตัวละครที่มีรูปร่างอ้วนจากสื่อละครโทรทัศน์ไทย

ผู้แต่ง

  • ชญาน์นันท์ วงษ์ศรีแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อานิก ทวิชาชาติ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

หญิงอ้วน, ละครโทรทัศน์ไทย

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยมุ่งเน้นในการวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวละครรูปร่างอ้วนว่ามีอิทธิพลอย่างไรต่อบทละครโทรทัศน์ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ออกอากาศในปีพ.ศ. 2553 - 2560 ดังนี้ 1) สาวใช้ไฮเทค (2553) 2) คมพยาบาท (2557) 3) น้ำเซาะทราย (2560) โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับรูปลักษณ์และแนวคิดเรื่องความภาคภูมิใจในตนเองมาเป็นแนวทางในการศึกษาและสนับสนุนผลการวิเคราะห์ รวมถึงได้นำทฤษฎีองค์ประกอบของละครโทรทัศน์และทฤษฎีการสร้างตัวละครมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์

 

        ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ไทยที่มีตัวละครรูปร่างอ้วนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้

 

        1) โครงเรื่องที่พบเห็นได้มากที่สุดคือ ดราม่า (Drama) และโรแมนติก-คอมเมดี้ (Romantic-Comedy) ในแต่ละเรื่องนั้นมีการเรียงลำดับเรื่องราวที่ค่อนข้างชัดเจน

 

        2) บทบาทของตัวละครที่มีรูปร่างอ้วนพบเห็นได้มากที่สุดเป็นตัวละครที่มีจิตใจดี และอีกหนึ่งบุคลิกลักษณะที่มีความตรงกันข้ามคือช่างประจบสอพลอ ปากร้าย แต่ทั้งสองอุปนิสัยจะเห็นได้ว่าตัวละครรูปร่างอ้วนมักจะไม่มีความรู้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นคนยากจน พื้นเพมาจากต่างจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพใช้แรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนรับใช้หรือภารโรงที่มีสถานภาพด้อยกว่าตัวละครหลัก ในส่วนของความสัมพันธ์ของตัวละครที่มีรูปร่างอ้วนที่มีต่อตัวละครหลักนั้นมักทำหน้าที่มีบทบาทรองคอยสนับสนุนและส่งเสริมผลักดันให้ตัวละครหลักได้ดำเนินเรื่องไป

 

        3) ความสำคัญของการปรากฎตัวของตัวละครรูปร่างอ้วนจึงมีเพื่อผ่อนเนื้อหาอันตึงเครียดของบทละครให้เบาลง คอยสร้างสีสันให้กับเนื้อเรื่องได้มีความสนุกสนาน มุกตลกเบาสมองสอดแทรกเข้าไปด้วย

 

        4) บทบาทการแสดงของตัวละครรูปร่างอ้วน พบว่าเนื่องจากการที่ตัวละครรูปร่างอ้วนไม่เคยได้รับบทบาทหลักในการดำเนินเรื่อง อาจทำให้ผู้ชมพอคุ้นหน้าคุ้นตานักแสดงอยู่บ้างแต่มักเกิดขึ้นจากการรับบทบาทเดิมอย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่ได้รับภาพจำที่ดีเฉกเช่นนักแสดงผู้ได้รับบทบาทหลัก ที่มีรูปร่างหน้าตาตรงตามอุดมคติของสังคม

References

กรรณิการ์ ชื่นชูผล, (2549), อิทธิพลของการยอมรับค่านิยมความผอมในอุดมคติ และขนาดรูปร่างของนางแบบในงานโฆษณาต่อการเกิดความไม่พึงพอใจในรูปร่าง, ความภาคภูมิใจใน รูปร่างตนเอง และการมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษดา ศิรามพุช, (2549), ทำอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคอ้วน (พิมพ์ครั้งที่ 2), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใกล้หมอ.

จุฬาลักษณ์ อภัยรัตน์, (2549), ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจทางเพศของผู้หญิงอ้วนที่สมรสแล้ว, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐณิชา พิพิธวณิชการ, (2562), พฤติกรรมการรับชมละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมกรณีศึกษา “บุพเพสันนิวาส”, วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สรณัฐ ไตรลังคะ, (2560), ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-17