ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การโน้มน้าวใจของเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้ากับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ติดตามเพจในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • คฑาวุธ ก่อสินประสิทธิ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การโน้มน้าวใจ, การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ, เฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้า

บทคัดย่อ

        การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การโน้มน้าวใจของเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้ากับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ติดตามเพจในเขตกรุงเทพมหานคร  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การโน้มน้าวใจของเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้า  2) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ติดตามเพจ  3) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การโน้มน้าวใจของเพจกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ติดตามเพจ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ติดตามเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้า มีอายุช่วง 24-60 ปี และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 132 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า 1) กลยุทธ์การโน้มน้าวใจด้านอัตลักษณ์ของบุคคลเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้า  2) กลุ่มตัวอย่างเกิดการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีต่อเพจด้านการตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ความรู้สึก 3) กลยุทธ์การโน้มน้าวใจของเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้ามีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ติดตามเพจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปราณี สุรสิทธิ์. (2556). การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

พฤกษา เกษมสารคุณ. (2558). การใช้ภาษาโน้มน้าวใจในสื่อเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(1), 107-118.

ภาคภูมิ เดชหัสดิน. (2563). หมอแล็บ ความเชื่อผิด ๆ ชิดซ้าย เรื่องหลอกลวงชิดขวา. กรุงเทพฯ: ทูแชร์.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-commerce และ Online marketing. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วณิชชา วรรคาวิสันต์. (2563). ความแตกต่างระหว่าง Facebook ส่วนตัว Facebook group และ Facebook fanpage. สืบค้นจาก https://digitorystyle.com/article/about-facebook-fanpage-group-profile/.

วสิตา บุญสาธร. (2563). การสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิภาวี จันทร์แก้ว. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจดังตฤณแฟนคลับ. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 2(1), 134-152.

วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2563). การสื่อสารผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กกับผลที่เกิดขึ้นต่อเจ้าของแฟนเพจเฟซบุ๊ก: กรณีศึกษาแฟนเพจเฟซบุ๊กที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(Special), 17-33.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง.

หมอแล็บแพนด้า. (2564). เฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้า. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/MTlikesara.

Blumler, J. G., & Katz, E. (1974). The uses of mass communications: Current perspective on gratifications research. Newbury Park, CA: Sage.

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs. In R. F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of nursing: Human health and function (3rd ed.). Philadelphia: Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23