การพัฒนาหลักสูตรอบรมความรู้และทักษะทางด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสาร ของบุคลากรวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • บุหงา ชัยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ชัชญา สกุณา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรอบรม, ปัญญาประดิษฐ์ด้านการสื่อสาร, ความรู้และทักษะปัญญาประดิษฐ์ทางการสื่อสาร

บทคัดย่อ

        งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมความรู้และทักษะการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรวัยทำงาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 – 12 คน โดยคละลักษณะอาชีพที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญและการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ในแต่ละกลุ่ม ประกอบไปด้วย ตัวแทนนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ตัวแทนนักวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และการสื่อสาร ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรอบรม ตัวแทนผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติการจากองค์การธุรกิจของประเทศไทย ตัวแทนผู้ประกอบการและพนักงานธุรกิจรายย่อย (SME) และตัวแทนผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติการหน่วยงานภาครัฐ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาหลักสูตรอบรม ประกอบด้วย องค์ประกอบฐานความรู้ (Knowledge Base Module) หลักสูตรควรมีเนื้อหาเรื่องความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ข้อจำกัดของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสื่อสาร จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ การสื่อสารการตลาดผ่านการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานขององค์กรได้ และการใช้เครื่องมือ (Tools) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับสื่อสารการตลาด องค์ประกอบผู้เรียน (Student Module) ผู้เรียนต้องการผลลัพธ์ที่สามารถตอบโจทย์งานที่ทำอยู่ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นด้านการพัฒนางานเชิงนโยบาย การวางแผนและตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสมสำหรับผู้เรียนที่เป็นผู้บริหารองค์กรธุรกิจ และด้านการพัฒนางานเชิงกระบวนการ สำหรับผู้เรียนที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ องค์ประกอบผู้สอน/การสอน (Pedagogical Module) พบว่า วิทยากรควรเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพ หรือเจ้าของธุรกิจองค์กร หรือผู้ปฏิบัติงานจริงมาแบ่งปันประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้านการสื่อสาร และควรมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน องค์ประกอบส่วนต่อประสาน (Interface Module) หรือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) พบว่า การประชาสัมพันธ์หลักสูตรโดยให้ใบประกาศนียบัตรต่อยอดเพิ่มเติมกับหน่วยงานต่าง ๆ หรือสามารถนำไปเทียบหน่วยกิตในระดับมหาวิทยาลัยได้จะช่วยในหารต่อยอดความรู้ได้ดีขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านการทำ Testimonial เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจอยากจะเรียน

References

จันทร์จารี เกตุมาโร. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างภาวะผู้นำ. [ดุษฎีนิพนธ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]

ฉันทลักษณ์ มงคล (2562). สถาบันการวิเคราะห์ผู้เชื่อมช่องว่างระหว่างองค์กรกับปัญญาประดิษฐ์. https://www.ftpi.or.th/2019/32813

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2561). จริยธรรมในปัญญาประดิษฐ์. https://www.thansettakij.com/general-news/320036

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2562). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สำหรับการบริหารงานและการบริการของภาครัฐ. กรุงเทพ: บริษัท ส. วิจิตรการพิมพ์ จำกัด.

อมรรักษ์ สวนชูผล. (2563). การจัดการองค์กรธุรกิจกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10(3). หน้า 155-164.

Chell, E. & Athayde, R. (2009). The Identification and Measurement if Innovation Characteristics of Young people: Development of the Youth Innovation Skills Measurement Tool. United of Kingdom: National Endowment for Science, Technology and the Arts.

Christian, Jon. (2019). China Built an AI to Detect Corruption and Officials Shut it Down. https://futurism.com/the-byte/china-ai-corruption

Deloitte. (2014). Technology and People: The Great Job Creating Machine. https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/uk/Documents/finance/deloitte-uk-technology-and-people.pdf

Dutton, Tim. (2018). An Overview of National AI Strategies. https://medium.com/politics-ai/an-overview-of-national-ai-strategies-2a70ec6edfd

European Commission. (2019). Digital Single Market, AI Policy. [Online]. Retrieved from European Commission. https://ec.europa.eu/digital-single-market/en/artificial-intelligence

Feng-Jen Yang. (2010). Theideology of intelligent tutoring system. University of North Texas at Dallas Dallas Texas. Inroads Magazine, 1(4): 63-65.

Good, Carter, V. (2012). Dictionary of Education (3"' ed.). New York: McGraw-Hill.

Haslam, S. A. (2006). The glass cliff-the dynamics of gender, risk and leadership in the contemporary organization. UK: [n.p.].

Johnson, A. (2019). “5 Ways AI Is Changing the Education Industry”. Educational Technology. https://elearningindustry.com/ai-is-changing-the-education-industry-5-ways

Kallick, Bena., and Zmuda, Allison. (2017). Students at the Center: Personalized Learning with Habits of Mind. Alexandria, VA: Association of Supervision and Curriculum Development.

McCarthy, J. (2007). What is Artificial Intelligence. http://www-formal.stanford.edu/jmc/whatisai/node1.htm

Mo, Yan. (2008). The Relationship between Enterprise Innovation Network’s Pattern and Innovation Performance. In Management of Innovation and Technology. ICMIT 2008. 4th IEEE International Conference on 21-24 September 2008. pp. 76-80.

Rodriguez, C. Osvaldo. (2012). MOOCs and the AI-Stanford Like Courses: Two Successful and Distinct Course Formats for Massive Open Online Courses. https://eric.ed.gov/?id=ej982976

Roger, E. M. (2003). Diffusion of Innovations (5th ed.). Free Press.

Valier, F. M., McCarthy, R. V., & Aronson, J. R. (2008). A primary study of attributes of innovations during the prediffusion stage. Journal of International Technology and Infornation Management, 17, 219-233.

Global Perspective & Solutions. (2017). Disruptive Innovation. https://icg.citi.com/icghome/what-we-do/citigps/insights, 3 Apr 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23